The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก
Book of Commons
  • Book of Commons

ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก

177 views

 7 mins

2 MINS

October 23, 2022

Last updated - November 23, 2022

          “วันนี้กินอะไรกันดี”

          ประโยคง่ายๆ ที่กลายเป็นวาระแห่งชาติของหลายต่อหลายคน เพราะอาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่เสมอในยุคสมัยใหม่ที่ทุกคนกลายเป็น ‘ผู้บริโภค’ 

          นิยามนี้น่าสนใจเพราะมันมาพร้อมกับเซนส์ของการมีกำลังซื้อ และการตอบสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมองไปที่ระบบของการสร้างสรรค์อาหาร เส้นทางของข้าวผัดกะเพรา แฮมเบอร์เกอร์ ข้าวปั้นแซลมอน ปัสตียา ฟาลาเฟล และอีกหลากหลายจาน จึงมาพร้อมกับองคาพยพของความอยู่รอดที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ 

          ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก (The No-Nonsense Guide to World Food) โดย เวย์น โรเบิร์ตส์ แปลโดย ดรุณี แซ่ลิ่ว กางแผนผังนั้นออกมาว่าในห่วงโซ่อาหารหนึ่งประกอบไปด้วยสังคม วัฒนธรรม อำนาจ และโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่ท้าทายมากมาย เราจึงต้องศึกษาตั้งแต่ระบบของอาหาร ต้นทุนของอาหารราคาถูกที่มีราคาแพง อธิปไตยทางอาหาร หรือความหวังของขบวนการอาหาร ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่เราจะได้บริโภคโดยที่ไม่ต้องลิดรอนเกษตรกรตั้งแต่ต้นทาง

อาหารไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเส้นทางของอาหารต่างหาก

          สิ่งสำคัญที่บทแรกๆ ของหนังสือเสนอแนะไว้คือ การมองปัญหาอาหารให้เป็นปัญหาของระบบและการกำกับดูแล การมองอาหารขยะเป็นอาหารชายขอบ ไปจนถึงข้อกล่าวหาที่ว่าอาหารกระแสหลักเองก็มีโอกาสสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการไป เช่น ธัญพืชส่วนใหญ่ที่ขนมปังโฮลวีตหรือพาสต้านำมาใช้ ถูกเลือกจากเมล็ดพันธุ์ที่อบและเก็บรักษาได้ดี มากกว่าจะเลือกจากคุณค่าดั้งเดิมของมัน กรรมวิธีการแปรรูปอาหารดึงเอาสารัตถะจากธรรมชาติออกไป จึงลดทอนความเป็นอาหารของวัตถุดิบเหล่านี้ไปด้วย

          ระบบของอาหารยังหมายถึง ต้นทุนของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลิตอาหาร เช่น น้ำมันปาล์มเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ความต้องการที่มากขึ้นทำให้ต้องถางป่าฝนหลายล้านเฮกตาร์เพื่อเพาะปลูกเชิงเดี่ยว และคุณสมบัติอันงดงามในการเป็นต้นไม้อเนกประสงค์ของมันถูกรีดเค้นออกไปเมื่อถูกแปรรูปโดยอุตสาหกรรมต่างชาติ

           ‘ความจริงที่คนอาจไม่รู้คือ การผลิตอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมากที่สุด ก่อความเสียหายมากกว่า และครอบคลุมพื้นที่มากกว่าการตัดไม้ การทำเหมือง หรืออุตสาหกรรมหนัก’ นี่คือเนื้อความจากบทแนะนำระบบอาหาร

          บริษัทอาหารลำดับต้นๆ ของโลกยังขายสินค้าจำพวกขนม ของว่าง น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านการแปรรูปอีกหลายชั้น มีการโฆษณาอย่างครื้นเครงให้อาหารประเภทนี้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภค ไล่เรื่อยไปถึงอำนาจของรัฐบาลในการจัดการกำกับดูแล มอบข้อได้เปรียบทางกฎหมาย และงดเว้นภาษีให้กับสิ่งที่เรียกว่า อาหาร ดังนั้นอาหารจึงไม่ใช่ปัญหาในตัวของมันเอง แต่เป็นวิธีคิดและระบบอภิบาลของอาหารต่างหาก

          ย้อนกลับไปเรื่อง ‘ผู้บริโภค’ ที่เราได้ยินกันจนชินหูในทุกวันนี้ โรเบิร์ตส์ชี้ให้เห็นว่ามันคือผลผลิตของระบบอาหารสมัยใหม่ที่เชิดชูการพัฒนาทางเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 20 ที่อยู่เหนือการเมืองฝ่ายซ้าย-ขวาทั้งปวง และระบบอาหารสมัยใหม่นี่แหละที่มีบทบาทสำคัญในการยกเครื่องเรื่องการบริโภคและแนวคิดทางอาหารของมนุษย์

           ‘การพัฒนาสารเติมแต่งเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่าและให้เก็บได้ที่อุณหภูมิห้อง การฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การขนส่งด้วยห้องเย็นเพื่อให้นำอาหารมาได้จากทุกมุมโลก พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อเลี่ยงระบบธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดภาวะอาหาร หรือสสารเสมือนอาหารล้นเกินสำหรับคนบางคน ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนอื่นยากจนลง รวมถึงผู้ผลิตอาหารตัวจริงจำนวนมาก’ บทแนะนำระบบอาหารได้ฝากข้อความนี้เอาไว้

          ธุรกิจเกษตรที่แพร่หลายและการปรากฏตัวขึ้นอย่างยุ่บยั่บของซูเปอร์มาร์เก็ตเองมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมอาหารและระบบอาหารในทุกแง่มุม การซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นสัญญะของความอุดมสมบูรณ์ บีบบังคับให้ผู้ผลิตต้องผลิตทีละมากๆ เพื่อกระจายอาหารไปสู่หลายสาขาของซูเปอร์มาร์เก็ต และการผลิตทีละมากๆ นี้ก็เป็นอีกจุดเด่นของการปฏิวัติเขียว เช่น โครงการของนอร์แมน บอร์ลอก เจ้าของรางวัลโนเบลและรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย ที่เชื่อว่าผู้คนทั่วโลกจะไม่อดอยากอีกต่อไปหากมีอาหารเพิ่มมากขึ้น การวิจัยเมล็ดพันธุ์และหาวิธีการเพิ่มผลผลิตจึงดูเหมือนจะเป็นคำตอบของโลกในยุคนั้น

          แต่ผลสุดท้ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีกลับตลบหลังมนุษย์เสียเอง หายนะของการปฏิวัติเขียวคือ การสนับสนุนให้ปลูกพืชบางประเภทมากเกินไปจนทำให้ทรัพยากรที่ต้องใช้กับปศุสัตว์ลดน้อยลง การชลประทานเสื่อมโทรม สภาพดินก้าวร้าวและไร้ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์ของชุมชนเกษตรกรก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะต้องต่อสู้เพื่อน้ำ หรือปัจจัยการผลิตที่มีไม่พอใช้

ไกด์...ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก

ตามหาอธิปไตยทางอาหาร

          ในบทอาหารราคาถูกมีต้นทุนสูง โรเบิร์ตส์อธิบายต้นตอของมันว่าอาจสำรวจย้อนไปได้ตั้งแต่ยุคจักรวรรดิโรมันโบราณ ในลัทธิอุตสาหกรรมนิยมของอังกฤษที่นำสินค้าจำพวกชา น้ำตาล กาแฟ เข้ามาในประเทศ และจำหน่ายขนมปังราคาถูกให้กับแรงงาน ทว่าที่มาของการได้มาซึ่งน้ำตาลราคาถูกคือ การจับชาวแอฟริกาไปเป็นแรงงานทาสก่อนจะขนส่งต่อไปยังไร่อ้อยที่แถบแคริบเบียน ส่วนชาราคาถูกก็ได้มาจากการล่าอาณานิคมของประเทศอินเดีย 

           ‘ลัทธิอาณานิคมดั้งเดิมได้สร้างภาวะพึ่งพาด้วย ‘กับดักหนี้’ ซึ่งล็อกให้พื้นที่ด้านนอกของอาณานิคมต้องส่งออกวัตถุดิบราคาต่ำไปให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาก็จะส่งออกสินค้าที่แปรรูปผ่านกระบวนการหัตถอุตสาหกรรมและมีราคาแพงขึ้นกลับไปยังอาณานิคมเหล่านั้น ทำให้ต้องเป็นหนี้อีกครั้งหนึ่ง’

          แต่การกำเนิดขึ้นของอาหารราคาถูกก็ซับซ้อนเกินกว่าที่จะบอกว่ามีต้นเหตุมาจากระบบทาสและลัทธิอาณานิคม เพราะการแลกเปลี่ยนค้าขายอาหารโดยมีองค์กรระดับโลกมากำกับ บวกกับสงครามทางภูมิรัฐศาสตร์ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญเช่นเดียวกัน 

          อีกทั้งต้นทุนซ่อนเร้นของอาหารราคาถูกจริงๆ แล้วก็มีราคาสูงลิ่วและประเมินค่าไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะมันหมายถึงการบริโภคอาหารที่ถูกขจัดเส้นใยออกไปเพื่อขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ค่าแรงแสนต่ำต้อยของเกษตรกร สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม มลภาวะในดิน น้ำ อาหารที่ถูกทิ้งอย่างเปล่าเปลือง หรือสารเคมีที่ปลอมปนอยู่ในอาหาร

          สุดท้ายแล้วการพัฒนาเทคโนโลยีหรือทิศทางในการปฏิวัติอุตสาหกรรมกลับทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกเอาเปรียบ การจัดตั้งองค์กรอย่าง WTO เองก็ส่งผลอย่างชัดเจนว่าบางประเทศมีสิทธิในการเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าอาหารส่วนใหญ่ของโลก และปัดตกเกษตรกรในเอเชียให้ร่วงลง

           ‘อธิปไตยทางอาหารเกิดขึ้นจากการที่ชาวนา ชาวไร่ และชาวประมงในซีกโลกใต้ ถูกบีบให้อยู่ในสภาพยากไร้เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ WTO บงการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในแง่ของการลดเลิกกฎระเบียบและเปิดเสรีทางการค้าผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้ก่อตั้งชาวไร่ ชาวนาทั่วซีกโลกใต้ถกแถลงว่า ควรฟื้นฟูกฎระเบียบทางการค้าที่เคยมีอยู่ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1990 ที่ยกเว้นสินค้าอาหารและการเกษตรจากข้อตกลงการค้าเสรี ด้วยวิธีนี้ระบบอาหารท้องถิ่นจะสามารถได้รับการปกป้องในฐานะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจ ชุมชน วัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร ความเป็นอิสระในตนเองลักษณะนี้คือ เสาหลักของอธิปไตยทางอาหาร’ จากบท เรื่องเล่าของสองโลก: ทำความเข้าใจกับอธิปไตยทางอาหาร

          ป่า ทุ่งหญ้า ชายหาด เป็นเขตแดนมหัศจรรย์ของเกษตรกร ชาวบ้าน หรือชาวพื้นเมืองในทุกซีกโลกเพราะมันมีทรัพยากรมากพอที่จะทำให้พวกเขาและคนรอบข้างยังชีพได้ในฤดูกาลที่แตกต่าง 

          โรเบิร์ตส์เขียนไว้ว่าการทำงานกับป่านั้นมีต้นทุนเริ่มดำเนินการที่น้อยมาก และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงสินเชื่อด้วยซ้ำ เพราะป่าสามารถแปลงกายเป็นร้านขายของชำ ร้านขายยา ร้านอาหารที่พิชิตความหิวโหยให้มนุษย์และปศุสัตว์ได้ แต่ทุกวันนี้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นจุดหล่อเลี้ยงชีวิต วัฒนธรรม และสุขภาวะ กลับถูกทำลายลงไป

           ‘ผู้คนมากมายในซีกโลกใต้มองว่าทรัพย์สินร่วมอย่างป่า ทุ่งหญ้า หรือชายฝั่งทะเล เป็นบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนกับงานที่ทำเป็นบางเวลา เป็นสถานที่ทำงานขณะมีเวลาว่างนอกฤดูกาล หรือวันที่มีงานประจำน้อย สำหรับผู้ที่มีชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย รายได้จากอาหารที่มาจากการทำงานบางเวลาเช่นนี้ สร้างความแตกต่างแก่การอยู่รอดโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ อาหารจากทรัพย์สินร่วมจึงมักเรียกว่า ‘อาหารเพื่อความอยู่รอด’ จากบท เรื่องเล่าของสองโลก: ทำความเข้าใจกับอธิปไตยทางอาหาร

          ทว่าการแทรกแซงวิถีการเกษตรกรรมดั้งเดิม เช่น การยึดครองที่ดินของชนพื้นเมือง จนต้องเกิดการเข่นฆ่าชนพื้นเมืองในพื้นที่ป่าแอมะซอนเพื่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมัน หรือการแย่งชิงแหล่งอาหารที่มีความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการเกษตรแบบไร่นาขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าโลกกำลังตีความคำว่า อาหาร และ ความอยู่รอด ในรูปแบบที่น่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนและนักการเมืองทั้งหลายแย่งชิงพื้นที่ที่พวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของ และไม่ได้รับการเห็นชอบใดๆ จากผู้ที่อาศัยดูแลป่ามาตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์

          ความมั่นคงทางอาหารกลายเป็นเรื่องของการแย่งยึดที่ดิน ที่นักวิชาการหลายคนมองว่าเป็น ‘การล่าอาณานิคมใหม่’ 

          เขาให้ตัวอย่างของความหวังมากมายไว้ในบทท้ายของหนังสือที่เล่าถึงกำเนิดของขบวนการอาหาร และความเป็นไปได้ที่หลากหลายประเทศเริ่มออกแบบขบวนการอาหารที่จะเชื่อมต่อโลกและคน ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น และผลักดันให้รัฐบาลปรับทิศทางของการควบคุมอาหารให้พ้นจากการกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรบ้าง

          ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์อาหาร ค.ศ. 2006 ของลอนดอนที่ผลักดันอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ ดึงนายกเทศมนตรี เยาวชนให้ทำงานเกี่ยวข้องกับโภชนาการ เพิ่มความโด่งดังของร้านอาหารในท้องถิ่นเพื่อลดมลภาวะจากการขนส่ง หรือการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโอโรเมียในเอธิโอเปียตะวันตกเฉียงใต้ที่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค และโน้มน้าวให้ชุมชนนักคั่วเมล็ดกาแฟส่งเสริมธุรกิจที่เป็นธรรมโดยเห็นคุณค่าของมัน ไม่ใช่แข่งขันกันเอาเป็นเอาตายเพื่อขายผลผลิตให้กับรายใหญ่ 

          แต่ละบทของหนังสือเล่มนี้ชวนให้นึกถึงมหากาพย์ของการเกษตรเชิงเดี่ยวที่แพร่หลายและแทรกซึมไปในหลายประเทศทั่วโลก ปลายทางของเกษตรกรรมคือ การผลิตอาหารเพื่อส่งออกเพื่อบริโภค ซึ่งในยุคสมัยใหม่นี้คำว่าอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นปัจจัยที่บดบังการบริโภค ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายแท้จริงไปแล้วอย่างหมดจด และมันยิ่งทำให้เราเห็นชัดเจนว่า ระบบเศรษฐกิจแบบท้องถิ่นถูกรบกวนจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม สายสัมพันธ์ของทุนนิยมกลายเป็นโภชนาการชวนเชื่อที่ผลักความเป็นชีวิตให้กลายเป็นเรื่องของระบบตลาดและสินค้า 

          และในท้ายที่สุดก็ผลักมนุษย์ให้กลายเป็นแรงงานที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ตัวเองเป็นคนผลิตได้

          การงัดข้อกับอุตสาหกรรมอาหารที่แวดล้อมไปด้วยปัจจัยทางการเมืองและกฎหมายที่ยังเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่ผลิต ‘อาหารที่ควรจะเป็น’ จำนวนมากเป็นเรื่องที่โหดหิน เพราะเส้นทางปัญหาของไม่สามารถ ‘เริ่มที่ตัวเรา’ ปลูกผัก เลี้ยงไก่ ใช้ถุงผ้า หรือใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแล้วจะมีทางออกที่สดใสตราบใดที่ผู้เล่นตัวใหญ่ยังไม่ขยับ

          แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ดำเนินมาอย่างยาวนาน และบทเรียนและการลงมือทำซ้ำๆ เพื่อสร้างวิถีที่ยั่งยืนของนักเคลื่อนไหวในทุกรูปแบบได้บอกและสอนเราอย่างจริงจัง ว่าการทำงานเพื่อโลกและความอยู่รอดของปากท้องต้องละเอียดอย่างมหาศาล และโน้มน้าวให้ผู้คนรอบๆ ตัวเชื่อในอุดมการณ์เดียวกันเสียก่อน

          จากนั้นก็เพียงรอเวลา เพราะไม่มีต้นไม้ต้นใดที่อยู่ในธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน แล้วมันจะเติบโตไปไม่แข็งแรง


เรื่องโดย

176
VIEWS
ณัฐชานันท์ กล้าหาญ เรื่อง

ชอบทำอะไรหลายอย่าง ทั้งเขียน แปล ถ่ายรูป ลงพื้นที่ทำสารคดี  ปัจจุบันเป็นผู้ประสานโครงการการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และเขียนงานที่สนใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับ ไอแอลไอยู

          “วันนี้กินอะไรกันดี”

          ประโยคง่ายๆ ที่กลายเป็นวาระแห่งชาติของหลายต่อหลายคน เพราะอาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่เสมอในยุคสมัยใหม่ที่ทุกคนกลายเป็น ‘ผู้บริโภค’ 

          นิยามนี้น่าสนใจเพราะมันมาพร้อมกับเซนส์ของการมีกำลังซื้อ และการตอบสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมองไปที่ระบบของการสร้างสรรค์อาหาร เส้นทางของข้าวผัดกะเพรา แฮมเบอร์เกอร์ ข้าวปั้นแซลมอน ปัสตียา ฟาลาเฟล และอีกหลากหลายจาน จึงมาพร้อมกับองคาพยพของความอยู่รอดที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ 

          ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก (The No-Nonsense Guide to World Food) โดย เวย์น โรเบิร์ตส์ แปลโดย ดรุณี แซ่ลิ่ว กางแผนผังนั้นออกมาว่าในห่วงโซ่อาหารหนึ่งประกอบไปด้วยสังคม วัฒนธรรม อำนาจ และโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่ท้าทายมากมาย เราจึงต้องศึกษาตั้งแต่ระบบของอาหาร ต้นทุนของอาหารราคาถูกที่มีราคาแพง อธิปไตยทางอาหาร หรือความหวังของขบวนการอาหาร ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่เราจะได้บริโภคโดยที่ไม่ต้องลิดรอนเกษตรกรตั้งแต่ต้นทาง

อาหารไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเส้นทางของอาหารต่างหาก

          สิ่งสำคัญที่บทแรกๆ ของหนังสือเสนอแนะไว้คือ การมองปัญหาอาหารให้เป็นปัญหาของระบบและการกำกับดูแล การมองอาหารขยะเป็นอาหารชายขอบ ไปจนถึงข้อกล่าวหาที่ว่าอาหารกระแสหลักเองก็มีโอกาสสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการไป เช่น ธัญพืชส่วนใหญ่ที่ขนมปังโฮลวีตหรือพาสต้านำมาใช้ ถูกเลือกจากเมล็ดพันธุ์ที่อบและเก็บรักษาได้ดี มากกว่าจะเลือกจากคุณค่าดั้งเดิมของมัน กรรมวิธีการแปรรูปอาหารดึงเอาสารัตถะจากธรรมชาติออกไป จึงลดทอนความเป็นอาหารของวัตถุดิบเหล่านี้ไปด้วย

          ระบบของอาหารยังหมายถึง ต้นทุนของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลิตอาหาร เช่น น้ำมันปาล์มเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ความต้องการที่มากขึ้นทำให้ต้องถางป่าฝนหลายล้านเฮกตาร์เพื่อเพาะปลูกเชิงเดี่ยว และคุณสมบัติอันงดงามในการเป็นต้นไม้อเนกประสงค์ของมันถูกรีดเค้นออกไปเมื่อถูกแปรรูปโดยอุตสาหกรรมต่างชาติ

           ‘ความจริงที่คนอาจไม่รู้คือ การผลิตอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมากที่สุด ก่อความเสียหายมากกว่า และครอบคลุมพื้นที่มากกว่าการตัดไม้ การทำเหมือง หรืออุตสาหกรรมหนัก’ นี่คือเนื้อความจากบทแนะนำระบบอาหาร

          บริษัทอาหารลำดับต้นๆ ของโลกยังขายสินค้าจำพวกขนม ของว่าง น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านการแปรรูปอีกหลายชั้น มีการโฆษณาอย่างครื้นเครงให้อาหารประเภทนี้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภค ไล่เรื่อยไปถึงอำนาจของรัฐบาลในการจัดการกำกับดูแล มอบข้อได้เปรียบทางกฎหมาย และงดเว้นภาษีให้กับสิ่งที่เรียกว่า อาหาร ดังนั้นอาหารจึงไม่ใช่ปัญหาในตัวของมันเอง แต่เป็นวิธีคิดและระบบอภิบาลของอาหารต่างหาก

          ย้อนกลับไปเรื่อง ‘ผู้บริโภค’ ที่เราได้ยินกันจนชินหูในทุกวันนี้ โรเบิร์ตส์ชี้ให้เห็นว่ามันคือผลผลิตของระบบอาหารสมัยใหม่ที่เชิดชูการพัฒนาทางเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 20 ที่อยู่เหนือการเมืองฝ่ายซ้าย-ขวาทั้งปวง และระบบอาหารสมัยใหม่นี่แหละที่มีบทบาทสำคัญในการยกเครื่องเรื่องการบริโภคและแนวคิดทางอาหารของมนุษย์

           ‘การพัฒนาสารเติมแต่งเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่าและให้เก็บได้ที่อุณหภูมิห้อง การฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การขนส่งด้วยห้องเย็นเพื่อให้นำอาหารมาได้จากทุกมุมโลก พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อเลี่ยงระบบธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดภาวะอาหาร หรือสสารเสมือนอาหารล้นเกินสำหรับคนบางคน ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนอื่นยากจนลง รวมถึงผู้ผลิตอาหารตัวจริงจำนวนมาก’ บทแนะนำระบบอาหารได้ฝากข้อความนี้เอาไว้

          ธุรกิจเกษตรที่แพร่หลายและการปรากฏตัวขึ้นอย่างยุ่บยั่บของซูเปอร์มาร์เก็ตเองมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมอาหารและระบบอาหารในทุกแง่มุม การซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นสัญญะของความอุดมสมบูรณ์ บีบบังคับให้ผู้ผลิตต้องผลิตทีละมากๆ เพื่อกระจายอาหารไปสู่หลายสาขาของซูเปอร์มาร์เก็ต และการผลิตทีละมากๆ นี้ก็เป็นอีกจุดเด่นของการปฏิวัติเขียว เช่น โครงการของนอร์แมน บอร์ลอก เจ้าของรางวัลโนเบลและรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย ที่เชื่อว่าผู้คนทั่วโลกจะไม่อดอยากอีกต่อไปหากมีอาหารเพิ่มมากขึ้น การวิจัยเมล็ดพันธุ์และหาวิธีการเพิ่มผลผลิตจึงดูเหมือนจะเป็นคำตอบของโลกในยุคนั้น

          แต่ผลสุดท้ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีกลับตลบหลังมนุษย์เสียเอง หายนะของการปฏิวัติเขียวคือ การสนับสนุนให้ปลูกพืชบางประเภทมากเกินไปจนทำให้ทรัพยากรที่ต้องใช้กับปศุสัตว์ลดน้อยลง การชลประทานเสื่อมโทรม สภาพดินก้าวร้าวและไร้ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์ของชุมชนเกษตรกรก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะต้องต่อสู้เพื่อน้ำ หรือปัจจัยการผลิตที่มีไม่พอใช้

ไกด์...ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก

ตามหาอธิปไตยทางอาหาร

          ในบทอาหารราคาถูกมีต้นทุนสูง โรเบิร์ตส์อธิบายต้นตอของมันว่าอาจสำรวจย้อนไปได้ตั้งแต่ยุคจักรวรรดิโรมันโบราณ ในลัทธิอุตสาหกรรมนิยมของอังกฤษที่นำสินค้าจำพวกชา น้ำตาล กาแฟ เข้ามาในประเทศ และจำหน่ายขนมปังราคาถูกให้กับแรงงาน ทว่าที่มาของการได้มาซึ่งน้ำตาลราคาถูกคือ การจับชาวแอฟริกาไปเป็นแรงงานทาสก่อนจะขนส่งต่อไปยังไร่อ้อยที่แถบแคริบเบียน ส่วนชาราคาถูกก็ได้มาจากการล่าอาณานิคมของประเทศอินเดีย 

           ‘ลัทธิอาณานิคมดั้งเดิมได้สร้างภาวะพึ่งพาด้วย ‘กับดักหนี้’ ซึ่งล็อกให้พื้นที่ด้านนอกของอาณานิคมต้องส่งออกวัตถุดิบราคาต่ำไปให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาก็จะส่งออกสินค้าที่แปรรูปผ่านกระบวนการหัตถอุตสาหกรรมและมีราคาแพงขึ้นกลับไปยังอาณานิคมเหล่านั้น ทำให้ต้องเป็นหนี้อีกครั้งหนึ่ง’

          แต่การกำเนิดขึ้นของอาหารราคาถูกก็ซับซ้อนเกินกว่าที่จะบอกว่ามีต้นเหตุมาจากระบบทาสและลัทธิอาณานิคม เพราะการแลกเปลี่ยนค้าขายอาหารโดยมีองค์กรระดับโลกมากำกับ บวกกับสงครามทางภูมิรัฐศาสตร์ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญเช่นเดียวกัน 

          อีกทั้งต้นทุนซ่อนเร้นของอาหารราคาถูกจริงๆ แล้วก็มีราคาสูงลิ่วและประเมินค่าไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะมันหมายถึงการบริโภคอาหารที่ถูกขจัดเส้นใยออกไปเพื่อขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ค่าแรงแสนต่ำต้อยของเกษตรกร สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม มลภาวะในดิน น้ำ อาหารที่ถูกทิ้งอย่างเปล่าเปลือง หรือสารเคมีที่ปลอมปนอยู่ในอาหาร

          สุดท้ายแล้วการพัฒนาเทคโนโลยีหรือทิศทางในการปฏิวัติอุตสาหกรรมกลับทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกเอาเปรียบ การจัดตั้งองค์กรอย่าง WTO เองก็ส่งผลอย่างชัดเจนว่าบางประเทศมีสิทธิในการเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าอาหารส่วนใหญ่ของโลก และปัดตกเกษตรกรในเอเชียให้ร่วงลง

           ‘อธิปไตยทางอาหารเกิดขึ้นจากการที่ชาวนา ชาวไร่ และชาวประมงในซีกโลกใต้ ถูกบีบให้อยู่ในสภาพยากไร้เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ WTO บงการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในแง่ของการลดเลิกกฎระเบียบและเปิดเสรีทางการค้าผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้ก่อตั้งชาวไร่ ชาวนาทั่วซีกโลกใต้ถกแถลงว่า ควรฟื้นฟูกฎระเบียบทางการค้าที่เคยมีอยู่ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1990 ที่ยกเว้นสินค้าอาหารและการเกษตรจากข้อตกลงการค้าเสรี ด้วยวิธีนี้ระบบอาหารท้องถิ่นจะสามารถได้รับการปกป้องในฐานะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจ ชุมชน วัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร ความเป็นอิสระในตนเองลักษณะนี้คือ เสาหลักของอธิปไตยทางอาหาร’ จากบท เรื่องเล่าของสองโลก: ทำความเข้าใจกับอธิปไตยทางอาหาร

          ป่า ทุ่งหญ้า ชายหาด เป็นเขตแดนมหัศจรรย์ของเกษตรกร ชาวบ้าน หรือชาวพื้นเมืองในทุกซีกโลกเพราะมันมีทรัพยากรมากพอที่จะทำให้พวกเขาและคนรอบข้างยังชีพได้ในฤดูกาลที่แตกต่าง 

          โรเบิร์ตส์เขียนไว้ว่าการทำงานกับป่านั้นมีต้นทุนเริ่มดำเนินการที่น้อยมาก และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงสินเชื่อด้วยซ้ำ เพราะป่าสามารถแปลงกายเป็นร้านขายของชำ ร้านขายยา ร้านอาหารที่พิชิตความหิวโหยให้มนุษย์และปศุสัตว์ได้ แต่ทุกวันนี้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นจุดหล่อเลี้ยงชีวิต วัฒนธรรม และสุขภาวะ กลับถูกทำลายลงไป

           ‘ผู้คนมากมายในซีกโลกใต้มองว่าทรัพย์สินร่วมอย่างป่า ทุ่งหญ้า หรือชายฝั่งทะเล เป็นบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนกับงานที่ทำเป็นบางเวลา เป็นสถานที่ทำงานขณะมีเวลาว่างนอกฤดูกาล หรือวันที่มีงานประจำน้อย สำหรับผู้ที่มีชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย รายได้จากอาหารที่มาจากการทำงานบางเวลาเช่นนี้ สร้างความแตกต่างแก่การอยู่รอดโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ อาหารจากทรัพย์สินร่วมจึงมักเรียกว่า ‘อาหารเพื่อความอยู่รอด’ จากบท เรื่องเล่าของสองโลก: ทำความเข้าใจกับอธิปไตยทางอาหาร

          ทว่าการแทรกแซงวิถีการเกษตรกรรมดั้งเดิม เช่น การยึดครองที่ดินของชนพื้นเมือง จนต้องเกิดการเข่นฆ่าชนพื้นเมืองในพื้นที่ป่าแอมะซอนเพื่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมัน หรือการแย่งชิงแหล่งอาหารที่มีความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการเกษตรแบบไร่นาขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าโลกกำลังตีความคำว่า อาหาร และ ความอยู่รอด ในรูปแบบที่น่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนและนักการเมืองทั้งหลายแย่งชิงพื้นที่ที่พวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของ และไม่ได้รับการเห็นชอบใดๆ จากผู้ที่อาศัยดูแลป่ามาตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์

          ความมั่นคงทางอาหารกลายเป็นเรื่องของการแย่งยึดที่ดิน ที่นักวิชาการหลายคนมองว่าเป็น ‘การล่าอาณานิคมใหม่’ 

          เขาให้ตัวอย่างของความหวังมากมายไว้ในบทท้ายของหนังสือที่เล่าถึงกำเนิดของขบวนการอาหาร และความเป็นไปได้ที่หลากหลายประเทศเริ่มออกแบบขบวนการอาหารที่จะเชื่อมต่อโลกและคน ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น และผลักดันให้รัฐบาลปรับทิศทางของการควบคุมอาหารให้พ้นจากการกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรบ้าง

          ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์อาหาร ค.ศ. 2006 ของลอนดอนที่ผลักดันอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ ดึงนายกเทศมนตรี เยาวชนให้ทำงานเกี่ยวข้องกับโภชนาการ เพิ่มความโด่งดังของร้านอาหารในท้องถิ่นเพื่อลดมลภาวะจากการขนส่ง หรือการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโอโรเมียในเอธิโอเปียตะวันตกเฉียงใต้ที่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค และโน้มน้าวให้ชุมชนนักคั่วเมล็ดกาแฟส่งเสริมธุรกิจที่เป็นธรรมโดยเห็นคุณค่าของมัน ไม่ใช่แข่งขันกันเอาเป็นเอาตายเพื่อขายผลผลิตให้กับรายใหญ่ 

          แต่ละบทของหนังสือเล่มนี้ชวนให้นึกถึงมหากาพย์ของการเกษตรเชิงเดี่ยวที่แพร่หลายและแทรกซึมไปในหลายประเทศทั่วโลก ปลายทางของเกษตรกรรมคือ การผลิตอาหารเพื่อส่งออกเพื่อบริโภค ซึ่งในยุคสมัยใหม่นี้คำว่าอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นปัจจัยที่บดบังการบริโภค ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายแท้จริงไปแล้วอย่างหมดจด และมันยิ่งทำให้เราเห็นชัดเจนว่า ระบบเศรษฐกิจแบบท้องถิ่นถูกรบกวนจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม สายสัมพันธ์ของทุนนิยมกลายเป็นโภชนาการชวนเชื่อที่ผลักความเป็นชีวิตให้กลายเป็นเรื่องของระบบตลาดและสินค้า 

          และในท้ายที่สุดก็ผลักมนุษย์ให้กลายเป็นแรงงานที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ตัวเองเป็นคนผลิตได้

          การงัดข้อกับอุตสาหกรรมอาหารที่แวดล้อมไปด้วยปัจจัยทางการเมืองและกฎหมายที่ยังเอื้อให้ผู้ผลิตรายใหญ่ผลิต ‘อาหารที่ควรจะเป็น’ จำนวนมากเป็นเรื่องที่โหดหิน เพราะเส้นทางปัญหาของไม่สามารถ ‘เริ่มที่ตัวเรา’ ปลูกผัก เลี้ยงไก่ ใช้ถุงผ้า หรือใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแล้วจะมีทางออกที่สดใสตราบใดที่ผู้เล่นตัวใหญ่ยังไม่ขยับ

          แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ดำเนินมาอย่างยาวนาน และบทเรียนและการลงมือทำซ้ำๆ เพื่อสร้างวิถีที่ยั่งยืนของนักเคลื่อนไหวในทุกรูปแบบได้บอกและสอนเราอย่างจริงจัง ว่าการทำงานเพื่อโลกและความอยู่รอดของปากท้องต้องละเอียดอย่างมหาศาล และโน้มน้าวให้ผู้คนรอบๆ ตัวเชื่อในอุดมการณ์เดียวกันเสียก่อน

          จากนั้นก็เพียงรอเวลา เพราะไม่มีต้นไม้ต้นใดที่อยู่ในธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน แล้วมันจะเติบโตไปไม่แข็งแรง


ณัฐชานันท์ กล้าหาญ เรื่อง

ชอบทำอะไรหลายอย่าง ทั้งเขียน แปล ถ่ายรูป ลงพื้นที่ทำสารคดี  ปัจจุบันเป็นผู้ประสานโครงการการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และเขียนงานที่สนใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับ ไอแอลไอยู

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
185
‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่
Book of Commons

‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่

December 20, 2022
135
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
185
‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่
Book of Commons

‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่

December 20, 2022
135
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_c25da861cf0571b72a04376178049954.js