เรียนรู้อดีตอัปลักษณ์จากสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่เปิดกว้างให้ขบคิดและพูดคุยอย่างสร้างสรรค์

15 views
November 22, 2021

ประวัติศาสตร์ยุโรปในศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยเรื่องราวความขัดแย้ง สงคราม และเผด็จการ ผู้คนมากมายบาดเจ็บล้มตาย อีกไม่น้อยถูกขับไล่จากบ้านเกิดเมืองนอน และจำต้องย้ายไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งใหม่ที่ตนไม่รู้จักมาก่อน นับเฉพาะชาวเยอรมันที่ต้องสูญเสียบ้านเพราะนโยบายของนาซีมีมากถึง 14 ล้านคน

ในปี 2008 สภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนีจึงตัดสินใจสร้าง ‘ศูนย์เอกสารด้านการพลัดถิ่น การขับไล่ และความปรองดอง’ (Documentation Centre for Displacement, Expulsion, Reconciliation) ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเบอร์ลิน เพื่อรำลึกถึงบทเรียนทางประวัติศาสตร์อันขมขื่น และกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายและถกเถียงเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ศูนย์เอกสารฯ มีพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอนิทรรศการกว่า 700 เรื่องราว และอีกส่วนคือห้องสมุดเฉพาะทาง นำเสนอเรื่องราวการอพยพมีตั้งแต่สมัยสงครามโลก ชาวเวียดนามที่ล่องเรือมาตั้งรกรากในเยอรมันตะวันตก ผู้คนที่ย้ายถิ่นเมื่อครั้งยูโกสลาเวียล่มสลาย เรื่อยมาจนถึงวิกฤตผู้อพยพในยุโรปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ตัวนิทรรศการเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามให้ผู้เข้าชมร่วมกันขบคิดว่า การสูญเสียบ้านหมายถึงอะไร ทั้งในมุมปัจเจกและสังคม ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องราวต่างๆ ในนิทรรศการ ตลอดจนเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย จะสามารถนำพาทุกคนไปสู่คำตอบได้ไม่มากก็น้อยในท้ายที่สุด

ในปี 2020 ที่ผ่านมา มีการออกแบบและบูรณะส่วนที่เป็นห้องสมุดใหม่ ให้กลายเป็น ‘Third Place’ สถานที่ที่ผู้คนจะได้เข้ามาพักพิง พบปะพูดคุยกันในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง โดยเพิ่งกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุดในห้องสมุด คือ ‘เก้าอี้รังไหม’ ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ทำหน้าที่เป็นเสมือนไทม์แมชชีน พาผู้เข้าชมย้อนเวลากลับไปทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีตอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เข้าถึงประสบการณ์และความรู้สึกอันเจ็บปวดของผู้คนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บนโต๊ะมีจอแสดงสื่อโสตทัศน์ ส่วนผนังข้างที่นั่งมีแผนที่แสดงเส้นทางการย้ายถิ่นฐานของผู้คน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สอดแทรกไว้อย่างแนบเนียน เช่น โครงเหล็กของที่นั่ง มีการยิงเลเซอร์สลักพิกัดทางภูมิศาสตร์ ระบุสถานที่ซึ่งผู้คนถูกบังคับให้อพยพในช่วงเวลาต่างๆ

นอกจากนี้ภายในห้องสมุดยังมีห้องประชุม โต๊ะให้บริการสารสนเทศ พื้นที่นั่งทำงานทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มกว่า 40 ที่นั่ง รวมทั้งบาร์กาแฟขนาดเล็ก เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย

ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของบริษัท Aat Vos กล่าวว่า “ในการออกแบบตกแต่งภายใน เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างโอกาสให้ผู้ชมได้ขบคิด ผ่านสิ่งที่พวกเขาเห็น ได้ยิน และมีประสบการณ์ เพื่อให้ห้องสมุดแห่งนี้มอบโอกาสที่หลากหลาย ผู้คนได้นั่งลง ผ่อนคลาย ขณะเดียวกันก็ได้ขบคิดถึงความหมายของความทรงจำ”

เรียนรู้อดีตอัปลักษณ์จากสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่เปิดกว้างให้ขบคิดและพูดคุยอย่างสร้างสรรค์
Photo: Marco Heyda/aatvos


ที่มา

บทความ “New museum in Berlin highlights Germans expelled after WWII” จาก 13newsnow.com (Online)

บทความ “DOCUMENTATION CENTRE MEMORY REQUIRES SPACE” จาก includi.com (Online)

บทความ “Museum for WWII’s displaced Germans” จาก dw.com (Online)

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก