คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ

18 views
September 4, 2023

ทำไมพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ในเมืองอาห์เมดาบัต ทางใต้ของประเทศอินเดีย ถึงได้รางวัลระดับโลก (Major International Award Barkha Kumari) จุดเริ่มต้นของมันก็มาจากโปรเจกต์จบของนักศึกษาวิชาสหวิทยาการการออกแบบ (Interdisciplinary Design) อัฟนิ เซธิ (Avni Sethi) ที่อยากใช้ศิลปวัฒนธรรมทางเลือกเข้ามาสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับ ‘ความขัดแย้ง’ สำหรับคนในพื้นที่เพียงเท่านั้น

จุดเริ่มต้นเล็กก็จริง แต่จุดประสงค์ของการสร้างพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนและถกเถียงความขัดแย้งเชิงการเมืองที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

Conflictorium’ มีแก่นตามชื่อ นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้ผู้ชมสำรวจความขัดแย้งและอินเนอร์ภายในตัวเอง โอบกอดมันและค้นหาความลึกตื้นหนาบางจากมุมมองที่แตกต่าง แม้ในความทรงจำของบางคน ที่นี่อาจจะเป็นรัฐแห่งความสันติเพราะรัฐต้องการให้เป็นแบบนั้น แต่คุชราตเคยมีประวัติศาสตร์ของความรุนแรงที่เข้มข้น เช่น การเผารถไฟที่โกธราในปี 2002 คร่าชีวิตผู้แสวงบุญชาวฮินดูถึง 59 ชีวิต

ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ตั้งเป้าหมายให้ผู้ชมมาเผชิญหน้ากับความเป็นจริงและการถูกกดขี่จากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชุมชนฮินดูและมุสลิมในอินเดีย และแสดงให้เห็นว่าสังคมเพิกเฉยต่อมันอย่างไรบ้าง

ดังนั้น Conflictorium จึงชวนผู้คนมาเฉลิมฉลองความขัดแย้งและสำรวจเฉดสีของมัน โดยขับเคลื่อนผ่านกลุ่มของชุมชนที่เชื่อว่า ศิลปะมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม คุณค่า และตนเองได้เพราะมันคลี่ให้เห็นถึงความซับซ้อนที่สืบทอดมาในการประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง และปอกเปลือกพื้นที่สีเทาท่ามกลางโลกสีขาว-ดำที่ดูจะโฟกัสแต่เรื่องการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (Identity politics)

เราค้นพบและโอบกอดอะไรได้บ้างท่ามกลางความขัดแย้งบนโลก

ติดตาม Conflictorium ได้ที่
https://www.facebook.com/Conflictorium/
https://www.conflictorium.org/

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

ตอนอัฟนิอายุ 12 ปี ความรุนแรงระหว่างชุนชนฮินดูและมุสลิมระเบิดออก และเธอก็คือหนึ่งในพยานวัยเยาว์ที่เห็นความวินาศสันตะโรที่เกิดขึ้นตลอด 3 วันในเมืองอาห์เมดาบัต ต่อมาอีก 10 ปี อัฟนิในฐานะนักศึกษาออกแบบในบังกาลอร์ จึงมีความคิดที่จะทำ Conflictorium เป็นโปรเจกต์จบ

พิพิธภัณฑ์เปิดตัวในปี 2013 ตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่ไม่ค่อยมีตัวตน และอยู่ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาถึง 3 ชุมชนในเมืองอาห์เมดาบัต ตัวตึกมีอายุกว่า 90 ปีแล้ว และถือเป็นตึกที่ขีดเส้นแบ่งชุมชนทางศาสนาเอาไว้ มัสยิดอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาคือวัดฮินดู ด้านตรงข้ามมีโบสถ์ และชุมชนปาร์ซีก็อยู่ในบริเวณใกล้ๆ

นี่จึงเป็นหนึ่งในเจตนาว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางความเชื่อที่แตกต่างและอาจจะไม่ได้สะดวกสบายสำหรับทุกคนที่จะเข้าถึง

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

ทีมงานอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านนวัตกรรมทางความคิดและความคิดสร้างสรรค์ สำรวจอัตลักษณ์ผ่านการแทรกแซงทางศิลปะที่หลากหลายมากพอ ดังนั้นจึงมีหน่วยงานและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์สิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (Centre for Social Justice) และกลุ่มนักเคลื่อนไหวรากหญ้าในเมือง

“ใครเป็นคนสร้างงานศิลปะ สร้างไปเพื่ออะไร เสียงของใครที่ได้รับพื้นที่ และเราจะเริ่มสร้างบทสนทนาโดยที่ไม่ต้องถูกข่มขู่หรือตัดสินด้วยความสูงส่งกว่าทางจริยธรรม (Moral High Ground) ได้อย่างไร” อัฟนิกล่าว

การที่ทีมงานมีพื้นฐานทางภาษา เพศ รสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ที่แตกต่างเป็นตัวช่วยในการออกแบบงานนิทรรศการต่างๆ ให้มีช่องว่างน้อยที่สุด ความกดดันต่างๆ ที่มาจากความแตกต่างจะช่วยสร้างพลังงานและความเป็นชาติพันธุ์ในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์นี้มีจุดยืนที่มากกว่าการแสดงและการมีส่วนร่วมทางศิลปะ

ที่นี่จึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้กับความใกล้ชิดและ ‘เสียงที่ต้องถูกรับฟัง’ ผ่านกิจกรรมและงานศิลปะหลายแขนง ทั้งการจัดนิทรรศการ การฉายภาพยนตร์ เวิร์กชอปที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม เพศ หรือแม้กระทั่งการอ่านบทกลอน

ผู้ชมก็สามารถแตะต้องและสัมผัสสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ได้ตามสบาย

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

แล้วพิพิธภัณฑ์แห่งความขัดแย้งแห่งนี้ดึงความสนใจของผู้ชมให้มาเข้าร่วมได้อย่างไร

“เมืองอาห์เมดาบัตเป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความขัดแย้ง ทศวรรษที่ผ่านมามีการแบ่งแยกเชื้อชาติ (segregation) ผ่านศาสนา ชนชั้น และความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจที่เหลือจะกล่าว ดังนั้นวัฒนธรรมแห่งความเงียบและการนิ่งเฉยจึงเป็นทัศนคติที่มีอำนาจเหนือกว่าและนำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในประเทศของเรา

การมีอยู่ของพวกเราในโซนเมืองเก่า (สลัม) จึงดึงดูดผู้ชมที่ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับเมืองหรือผู้คนเลย อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ของเรายังพยายามที่ทำงานกับชุมชน Mirzapur โดยเฉพาะกับเยาวชนผ่านเวิร์กชอป ศิลปะการแสดงสดและการฉายภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตและบริบทของพวกเขา

กิจกรรมทางศิลปะและการมีส่วนร่วมของชุมชนคือกระบวนการในการบ่มเพาะวัฒนธรรม เราปรับภาพลักษณ์ของคอนเซปต์ของ ‘พิพิธภัณฑ์’ และทำให้มันเป็นพื้นที่ที่คนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นประชาธิปไตย” อัฟนิเล่า

ในอินสตาแกรมของ Conflictorium มีโพสต์งานจัดแสดงและกิจกรรมอยู่ตลอดเวลาและมีสีสันและความหลากหลายเป็นอย่างมาก เช่น งานเวิร์กชอปฮิปฮอปท้องถิ่น งานเวิร์กชอป 4 วันที่ชวนสำรวจความขัดแย้งในแง่มุมของการ “ตามหาการมีเหตุผล” และ “พบว่าตัวเองดิ้นตายกับการมีเหตุผล” แล้วการเมืองควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์หรือว่าเหตุผลกันแน่

หลายกิจกรรมขับเคลื่อนโดยนักศึกษาและเยาวชน ในปี 2023 มีกิจกรรมที่ว่าด้วยอัตลักษณ์ทางเพศและ ยิ่งในพื้นที่ที่ไม่เอื้อให้มีเสรีภาพในการแสดงออก ศิลปินยิ่งต้องมีความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ พิพิธภัณฑ์จึงเปิดพื้นที่ให้คนเหล่านี้มาจัดแสดงงาน โชว์ผลงานทางศิลปะของตัวเองโดยคิดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด

และเมื่อได้พูดคุยแลกเปลี่ยนและทำงานกับเยาวชนมากขึ้น เราก็จะเห็นว่าเด็กกำลังคิดอะไรอยู่ กังวลเรื่องอะไร อะไรคือสุนทรียะหรือการเมืองในความคิดของพวกเขา

ปล่อยพื้นที่ให้คนตัวเล็กตัวน้อย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่พูดเรื่องการเมือง การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกละเมิดผ่านศิลปะแขนงต่างๆ และยังเปิดให้คนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นศิลปินจริงจังมาร่วมงาน เช่น งานร้องคาราโอเกะประจำเดือนที่เปิดให้คนในชุมชนเข้ามาเปิดฟลอร์ร้องเพลงของตัวเอง

พูดง่ายๆ ก็คือคืนเปิดหูที่ผู้มาเข้าร่วมจะได้ ‘เปิดหูเปิดตา’ อย่างแท้จริงไม่ว่าจะเป็นศิลปินมืออาชีพหรือหน้าใหม่ กิจกรรมนี้ไม่เพียงทลายกำแพงทางชนชั้น แต่ยังเผยให้เห็นว่า Conflictorium เปิดพื้นที่ให้กับทุกคน แม้แต่เยาวชนที่กำลังตามหาเสียงของตัวเองก็ไม่เว้น

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

“การรับรู้ว่ามีความรุนแรงอยู่กลายเป็นขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหาและการอ่อนโอนต่อความขัดแย้ง” คือหนึ่งในแนวคิดของ Conflictorium

ตัวตึกเก่าแก่หรือที่เรียกว่า Gool Lodge ประกอบไปด้วย 2 ชั้น โดยทุกห้องถูกใช้เป็นพื้นที่ในการจัดแสดงและกิจกรรม ชั้นล่างมีไว้เพื่อจัดนิทรรศการถาวร ส่วนชั้นบนอาจจะเป็นนิทรรศการหมุนเวียนหรือนิทรรศการที่จัดในระยะยาว พร้อมกับห้องออดิทอเรียมขนาดใหญ่

“เราต้องจัดแสดงเรื่องพื้นฐานของความขัดแย้งที่ไว้ในพื้นที่เพื่อค้นหาว่ามันมีความหมายอย่างไรต่อชีวิตของเรา ประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง หรือการสร้างชาติจึงเป็นไอเดียพื้นฐาน เมื่อขึ้นไปชมนิทรรศการในชั้นสอง เราจึงจะสามารถมองเรื่องความขัดแย้ง ประชาธิปไตย และความเป็นพลเมืองผ่านเลนส์เหล่านี้ได้” อัฟนิกล่าว

ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์จะนำเสนอศิลปะจัดวางที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับปัจเจกในฐานะสังคม ดังนั้นความขัดแย้งเชิงปัจเจกของลูกสาวกับแม่ยายก็มีความสำคัญพอๆ กันกับความสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตร์สร้างชาติ

ส่วน ‘Conflict Timeline’ โต้ตอบกับไอเดียของ ‘เสียงส่วนใหญ่’ ที่มองว่ารัฐคุชราตไม่ได้มีความขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่อะไร ตัวละครทางการเมืองที่สำคัญ โดยไล่ตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ความรุนแรงในท้องถิ่นไปหลายทศวรรษก่อนปี 2002 ต่อด้วย ‘The Gallery of Disputes’ ที่จะพาผู้ชมไปถกเถียงเรื่องความซับซ้อนของความขัดแย้ง และสาเหตุของมันในบริบทของสังคมอินเดียผ่านแสง สี เสียง เงา และอุปกรณ์ต่างๆ

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Conflict Timeline
Photo: Shubhsadhwani, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
The Gallery of Disputes
Photo: Conflictorium

‘Empathy Alley’ คือส่วนที่ผู้เข้าชมจะได้เจอแผ่นไม้ขนาดเท่าตัวจริงของเหล่านักคิด นักการเมืองชาวอินเดีย เช่น มหาตมา คานธี เพื่อจะฟังฐานคิดทางอุดมคติของแต่ละคนหลังจากที่อินเดียประกาศเอกราชแล้ว ส่วน ‘Moral Compass’ คือห้องจัดแสดงรัฐธรรมนูญของอินเดียฉบับสำเนาในแต่ละยุคสมัยที่สะท้อนให้เห็นว่ามีการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างไรมาบ้างตามประวัติศาสตร์

“เรากระตุ้นให้ผู้เข้าชมลองเปิดอ่านรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลกและพยายามทำความเข้าใจความแตกต่างในส่วนต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามหลักรัฐธรรมนูญมีความสำคัญต่อประชาชนทุกคน และการเข้าถึงมันไม่ได้คือสิ่งที่เราพยายามจะทำให้เกิดขึ้นได้ในส่วนนี้ของพิพิธภัณฑ์”

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Empathy Alley
Photo: Conflictorium

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Moral Compass
Photo: Conflictorium

ส่วน ‘Memory Lab’ คือส่วนที่พิพิธภัณฑ์มอบโอกาสให้ผู้ชมได้ทิ้ง conflict ของตัวเองลงในโหลโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินในโซน Memory Lab หรือในโซน ‘Sorry Tree’ ด้านนอกก็ให้ผู้ชมแขวนป้าย I’m sorry เพื่อแสดงออกถึงพลังแห่งการให้อภัย เพราะเมื่อมีการสังหารหมู่ ผู้กระทำมักจะไม่รับรู้ความผิดร้ายแรงของตัวเอง ดังนั้นการรับรู้ถึงความรุนแรงและแสดงออกจึงเป็นขั้นแรกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

“ความขัดแย้งที่ทุกคนเล่าผ่านมุมมองของตัวเองล้วนเต็มไปด้วยความแตกต่างและเห็นต่าง บางครั้งมนุษย์รับรู้ถึงความขัดแย้งได้ยาก และรับรู้ว่าตัวเราเองได้ดำรงอยู่ในสังคมที่ขับเคลื่อนไปด้วยความขัดแย้งได้ยาก” อัฟนิกล่าว

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Memory Lab
Photo: Conflictorium

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Sorry Tree
Photo: Conflictorium

การนำผลงานจากศิลปินที่เป็นมุสลิม ผู้หญิง หรือชนเผ่าที่ทำงานในสังคมชายขอบช่วยขยายขอบเขตและมุมมองที่พิพิธภัณฑ์กำลังทำงานอยู่และเผยให้เห็นภาพที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างให้กับผู้เข้าชม เพราะส่วนใหญ่แล้ววาทกรรมทางประวัติศาสตร์มักจะละเลยเสียงของผู้ถูกกดทับอยู่เสมอ เสียงหรือความคิดสร้างสรรค์ที่จะสู้ของพวกเขาจึงไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

งานแสดงศิลปะชั้นสองของที่นี่จึงมีส่วนหนึ่งที่เต็มไปด้วยเนื้อหาของชาติพันธุ์ในอินเดียที่ไม่ได้รับการพูดถึง รูปภาพสมัยเก่าที่ประเมินค่าไม่ได้ของชาติพันธุ์ทั้งหลายที่ครั้งหนึ่งเคยถูกแปะป้ายว่าเป็นอาชญากรโดยอังกฤษถูกแปะอยู่ตามผนัง

“การมาที่ Conflictorium เป็นประสบการณ์ใหม่ของฉัน เริ่มจากประวัติศาสตร์และการสำรวจสังคม สุดท้ายก็จบลงที่การโอนอ่อนและไม่เกรงกลัว”

“นี่เป็นประสบการณ์ที่วิเศษ มันทำให้ฉันได้ฉุกคิดและอยากเอาคอนเซปต์นี้ไปใช้กับนักการศึกษาและเด็กๆ ต่อ”

“พื้นที่ที่พูดคุยโต้ตอบกับคุณได้ คุณจับกระบวนการทางความคิดที่ยากที่สุดออกมาฉายให้เห็นด้วยความงามและปัญญา”

นี่คือเสียงสะท้อนจากผู้เข้าชม Conflictorium
แต่จะเป็นไปได้ไหมที่สถานที่เล็กๆ ที่พยายามจะต่อสู้กับอำนาจรัฐจะได้รับการเยี่ยมเยียนจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ประสงค์ดีหลายเจ้า

“เราได้รับคำขู่มากมายว่าจะทำลายล้างพิพิธภัณฑ์ แม้แต่หน่วยงานของท้องที่ก็ยังมาถามเราว่าทำไมต้องจัดกิจกรรม เช่น การอ่านกลอนจากหนังสือที่เป็นภัยที่เขียนโดยนักข่าวเชิงสืบสวนด้วย หรือทำไมต้องจัดฉายภาพยนตร์เรื่องการหายไปของแคชเมียร์ แต่เราก็ไม่เคยยกเลิกกิจกรรมใดๆ” อัฟนิกล่าว

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

“การมาที่ Conflictorium เป็นประสบการณ์ใหม่ของฉัน เริ่มจากประวัติศาสตร์และการสำรวจสังคม สุดท้ายก็จบลงที่การโอนอ่อนและไม่เกรงกลัว”

“นี่เป็นประสบการณ์ที่วิเศษ มันทำให้ฉันได้ฉุกคิดและอยากเอาคอนเซปต์นี้ไปใช้กับนักการศึกษาและเด็กๆ ต่อ”

“พื้นที่ที่พูดคุยโต้ตอบกับคุณได้ คุณจับกระบวนการทางความคิดที่ยากที่สุดออกมาฉายให้เห็นด้วยความงามและปัญญา”

นี่คือเสียงสะท้อนจากผู้เข้าชม Conflictorium

แต่จะเป็นไปได้ไหมที่สถานที่เล็กๆ ที่พยายามจะต่อสู้กับอำนาจรัฐจะได้รับการเยี่ยมเยียนจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ประสงค์ดีหลายเจ้า

“เราได้รับคำขู่มากมายว่าจะทำลายล้างพิพิธภัณฑ์ แม้แต่หน่วยงานของท้องที่ก็ยังมาถามเราว่าทำไมต้องจัดกิจกรรม เช่น การอ่านกลอนจากหนังสือที่เป็นภัยที่เขียนโดยนักข่าวเชิงสืบสวนด้วย หรือทำไมต้องจัดฉายภาพยนตร์เรื่องการหายไปของแคชเมียร์ แต่เราก็ไม่เคยยกเลิกกิจกรรมใดๆ” อัฟนิกล่าว

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium

ช่วงที่ Conflictorium เปิดใหม่ๆ นี่คือพื้นที่ทางเลือกแห่งเดียวในเมือง ในเวลาต่อมาจึงมีพื้นที่ลักษณะนี้เปิดใหม่อีกราว 10 แห่ง แม้ว่าจะมีขนาดเล็กก็ตาม นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีชีวิตชีวา แต่ข้อท้าทายก็ยังมีอยู่มาก ทั้งในแง่ของเงินทุน พื้นที่ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนแปลงชนชั้นในชุมชน (gentrified space) และลักษณะของงานกิจกรรมที่เริ่มขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ

อัฟนิไม่อยากให้ที่นี่เป็นผู้ดูแลอันทรงพลังเพราะเมื่อใดก็ตามที่พิพิธภัณฑ์กลายร่างเป็นตัวที่ควบคุมผลงานที่เป็นที่นิยมหรือได้รับการยอมรับ ก็ถือว่าความอยุติธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว

สิ่งที่อัฟนิหวังจะให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตจึงเป็นสร้างความเข้มแข็งให้กับความสัมพันธ์ในชุมชน ในขณะเดียวกันก็ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ Confictorium ได้เติบโตในสถานที่อื่นๆ

พิพิธภัณฑ์ยังเปิดอีกพื้นที่หนึ่งในเมืองไรเปอร์เพื่อเป็นสเปซถกเถียงเรื่องที่ห้ามพูดหรือพูดไม่ได้และคาดหวังว่าจะเป็นพื้นที่ตรงกลางที่เชื่อมผู้คนให้มาร่วมหาทางออกสู่สันติผ่านศิลปะ กฎหมาย วัฒนธรรม

“เราอยากทำงานกับคอนเซปต์ของพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ เพื่อที่จะนำไอเดียนี้ไปสู่พื้นที่ที่แตกต่างทั่วประเทศโดยที่ไม่ได้คาดหวังให้คนท้องถิ่นต้องเข้าไปในพื้นที่นั้นๆ สุดท้ายแล้ว เราต้องการขยายขอบเขตการเข้าถึงในเมืองอาห์เมดาบัตและกำลังสร้างห้องอ่านหนังสือและคาเฟ่” อัฟนิกล่าว

ความขัดแย้งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชีวิต แต่การที่สังคมจัดการความขัดแย้งนั้นต่างหากที่จะแสดงให้เห็นว่าสังคมนั้นมีวุฒิภาวะมากเพียงใด

คลี่ปมความขัดแย้ง ปอกเปลือกความรุนแรง รับฟังเสียงที่ถูกกดทับ
Photo: Conflictorium


ที่มา

บทความ “At the museum” conflictorium.org (Online)

บทความ “CONFLICTORIUM: INDIA’S MUSEUM OF CONFLICT” mykalimag.com (Online)

บทความ “Inside India’s ‘Museum of Conflict’ That Just Won a Major International Award” vice.com (Online)

บทความ “conflictorium” civicroleartsinquiry.gulbenkian.org.uk (Online)

บทความ “Conflictorium: A platform to speak of the atrocities against tribes” frontline.thehindu.com (Online)

บทความ “2014-2016 Prize Recipient: Abounaddara and The Right to the Image” veralistcenter.org (Online)

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก