101 บทเรียนสำหรับนวัตกร
ตอนที่ 06 โครงการอะพอลโล คือ การทดลองครั้งสำคัญ
หนึ่งในปัจจัยสำคัญเบื้องหลังความสำเร็จของนวัตกร คือ ‘การทดลอง’ และ ‘ทดสอบ’ อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้เชิงลึกที่ได้มาปรับปรุงนวัตกรรมครั้งต่อไป ผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละครั้งจะเข้าใกล้ความสมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องราวเบื้องหลังการพิชิตดวงจันทร์ของโครงการ อะพอลโล 11 บอกเราว่า การนำประสบการณ์และข้อมูลจากการทดลองมาต่อยอด จะพาเราไปสู่ความสำเร็จในที่สุด
ในปี 1957 สหภาพโซเวียตปล่อย สปุตนิก ดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจร สหรัฐอเมริการู้สึกว่ารีรอไม่ได้อีกต่อไป จึงหันมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการ ‘เมอร์คิวรี’ ที่มีเป้าหมายจะส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
แต่ในวันที่ 12 เมษายน 1961 สหภาพโซเวียตก็ได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับโลกอีกครั้ง ด้วยการส่งนักบินอวกาศ ยูริ กาการิน ออกไปยังนอกโลก ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี เริ่มรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เพื่อฟื้นฟูเกียรติยศชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา โดยการประกาศว่า
“ผมเชื่อว่าประเทศของเราต้องอุทิศตนเพื่อความสำเร็จ เราจะส่งมนุษย์ขึ้นสู่ดวงจันทร์และพาเขากลับลงมาสู่พื้นดินอย่างปลอดภัยให้ได้ ก่อนสิ้นทศวรรษนี้”
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการอะพอลโล ที่เกิดขึ้นถัดจากโครงการเมอร์คิวรี คือ ‘การทดลอง’ และ ‘การทดสอบ’ อย่างต่อเนื่อง ยานอะพอลโล 10 คือเวอร์ชันทดลองของยานอะพอลโล 11
อะพอลโล 10 ร่อนลงเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ในเส้นทางเดียวกันกับที่อะพอลโล 11 กำลังจะเดินทางขึ้นไป พร้อมทั้งถ่ายภาพพื้นที่สำหรับลงจอดยานส่งกลับมาให้ภาคพื้นดิน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มาก ดังที่ นีล อาร์มสตรองได้กล่าวไว้ในวันที่ยานอะพอลโล 11 เดินทางขึ้นสู่อวกาศ
“เมื่อถึงเวลาที่เราออกเดินทางในเดือนกรกฎาคม เราก็จำแลนด์มาร์กสำคัญๆ ในเส้นทางลงจอดบนดวงจันทร์ได้อย่างขึ้นใจ”
ช่วงเช้าของวันที่อะพอลโล 11 ออกเดินทาง เฟรด เฮส นักบินสำรองของ เอ็ดวิน อัลดริน ตรวจสอบเช็คลิสต์กว่า 417 รายการ เพื่อให้มั่นใจว่าสวิตช์ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ดังนั้น…ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนวัตกรคือ
ทดสอบ ทดสอบ ทดสอบ
ที่มา
หนังสือ Inspiration for Innovation: 101 Lessons for Innovators เขียนโดย Gijs van Wulfen