นำเสนอกระบวนการคาดการณ์อนาคต (foresight) เกี่ยวกับอนาคตห้องสมุด ซึ่งพบว่ามีเรื่องเล่าที่น่าสนใจอย่างน้อย 4 รูปแบบ หนึ่ง ไดโนเสาร์ดิจิทัล คือห้องสมุดที่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง แต่วิธีคิดของบรรณารักษ์ยังไม่เปลี่ยน สอง ห้องสมุดที่เปลี่ยนมาเป็นพื้นที่สำหรับการสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้แบบเสมือนจริง โดยเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่ที่สามารถดาวน์โหลดความรู้ผ่านการรับรู้ของประสาทสัมผัสและสมอง สาม ห้องสมุดที่ปรับตัวเป็นสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ โดยใช้ความน่าเชื่อถือของความเป็นห้องสมุดและเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีกับผู้ใช้จำนวนมหาศาลมาอย่างยาวนาน ทำให้กลายเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ความรู้และจัดพิมพ์งานเขียนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพจำนวนมาก และ สี่ ห้องสมุดในฐานะศูนย์บริการครบวงจร มีความรู้หลากหลายให้เลือกค้นหาและเรียนรู้ เป็นสถานที่ของการร่วมสร้าง (co-creation) ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำการใช้งาน
การบรรยาย Futures and the Library: emerging issues, scenarios and visions of the changing library โดย โซเฮล อินอะยาตอลเลาะห์ (Sohail Inayatullah) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และอนาคตศึกษา มหาวิทยาลัยซันไชน์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2558 (TK Forum 2015) ของสถาบันอุทยานการเรียนรู้