ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น

207 views
October 18, 2018

บอกเล่าพูดคุยเนื้อหาจากหนังสือของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ และคณะ ซึ่งนับว่าเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยวิธีการศึกษาข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ จากการติดตามกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครตั้งแต่อายุ 6 เดือนต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 5-6 ปี เพื่อสรุปวิเคราะห์ถึงผลของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอและข้อเสนอแนะการใช้งานที่เหมาะสม โดยมีกรอบกรณีศึกษาถึงผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอใน 6 เรื่องสำคัญได้แก่ การทำหน้าที่บริหารของสมองระดับสูง (EF) พัฒนาการกับการเรียนรู้ พฤติกรรม การนอนหลับ สุขภาพจิต และการข่มเหงรังแกในโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

ส่วนหนึ่งของบทสรุปเชิงข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ อาทิ เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 เดือนต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูที่มีการใช้หน้าจอทั้งหมด เด็กอายุ 18-24 เดือนควรใช้เวลาส่วนใหญ่กับกิจกรรมที่ปราศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอ หากใช้ต้องเป็นสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ ระยะเวลาสั้นๆ และพ่อแม่ดูไปพร้อมกันกับลูก เด็กอายุ 2-5 ปีใช้สื่อได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง เด็กอายุ 6-12 ปี ใช้สื่อแบบมีเงื่อนไขเช่น ไม่ใช้ในห้องนอน โต๊ะอาหาร หรือขณะมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว วัยรุ่นใช้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง แยกออกจากการทำการบ้าน และพ่อแม่ต้องกำกับดูแลอย่างเหมาะสม

Photo : Designed by Freepik

ดำเนินรายการ

ติดตามฟัง TK PODCAST ได้ที่

RELATED POST

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก