The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่
Book of Commons
  • Book of Commons

‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่

136 views

 5 mins

2 MINS

December 20, 2022

Last updated - January 17, 2023

          โลกบนแผ่นฟิล์มทดลองสร้างวันสิ้นโลกแบบต่างๆ ให้เราฝึกจินตนาการและนึกหาวิธีการเอาตัวรอด มนุษย์ต่างดาวบุก ภัยพิบัติ โรคระบาด สงครามนิวเคลียร์ หุ่นยนต์ที่จ้องกำจัดมนุษย์ และฝูงซอมบี้ ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลกฝังแน่นอยู่ในศาสนาที่นับถือพระเจ้า แต่ใช่ว่าศาสนาที่ไม่นับถือพระเจ้าอย่างศาสนาพุทธจะไม่มีเรื่องราวทำนองนี้

          ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ มีประกาศกมากหน้าหลายตาทำนายวันสิ้นโลกที่กำลังจะมาถึง มีเหล่าสาวกเชื่อถือจำนวนมาก คำทำนายทั้งหมดล้วนถูกพิสูจน์ว่าไม่จริง วันสิ้นโลกยังมาไม่ถึง อย่างไรก็ตาม มีคนอีกมากพร้อมจะเชื่อ คงเพราะความกลัวว่าถ้าไม่รีบจับจอง ตนเองจะไม่มีที่ทางบนสรวงสวรรค์นิรันดร์ของพระเจ้า

          ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องเล่าของซากศพที่ลุกขึ้นมาไล่กินมนุษย์ที่เรียกว่า ซอมบี้ เพิ่งเกิดมาแค่ร้อยกว่าปีเท่านั้น ผ่านมุมมองของคนขาวเจ้าอาณานิคมต่อชนพื้นเมืองแถบแคริบเบียน เหล่าทาสผู้ถูกพรากจากแผ่นดินแอฟริกา ถูกใช้แรงงานชนิดถึงตาย พวกเขาใช้ลัทธิวูดูเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจร่วมกัน พิธีกรรม ไสยศาสตร์ ที่ไม่อาจหาคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จึงถูกแปะป้ายเป็นความล้าหลัง งมงาย และชั่วร้าย

           ‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำสู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม’ หนังสือเล่มกะทัดรัดเขียนโดยชนกพร ชูติกมลธรรม ภายใต้หนังสือชุด ‘สินสาดลำลอง’ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าเรื่องราวการก่อกำเนิดซอมบี้อย่างย่นย่อ แต่สนุกสมกับ ‘ความลำลอง’ ในฐานะแฟนหนังสยองขวัญยุค 80-90 ถ้าไม่อ่านคงเหมือนพลาดอะไรสักอย่างในชีวิต

          แพทริค ลาฟคาดิโอ เฮิร์น (Patrick Lafcadio Hearn) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ เป็นคนแรกที่ทำให้คำว่า ซอมบิ (Zombi) ถือกำเนิดขึ้นในหนังสือบันทึกการเดินทางของเขาที่เล่าเรื่องราวความงมงายและหวาดกลัวซอมบิของชาวเกาะมาร์ตีนิก สังเกตว่าคำที่แพทริคใช้คือ ซอมบิ-Zombi ไม่ใช่ซอมบี้-Zombie ซึ่งตัวเขาเองก็ยังไม่แน่ใจว่า ซอมบิคือภูตผีชนิดใดกันแน่

          คนที่ทำให้ซอมบี้ถือกำเนิดอย่างแท้จริงต้องยกให้วิลเลียม ซีบรูค (William Seabrook) นักหนังสือพิมพ์อเมริกัน ผู้หลงใหลเรื่องลึกลับ เขาเดินทางไปเฮติเพื่อเก็บข้อมูลเรื่องลัทธิวูดูจนออกมาเป็นหนังสือ The Magic Island ในปี 1929 เขาคนนี้เองที่ให้นิยามคำว่า ซอมบี้ ในแบบที่เราเข้าใจกันในทุกวันนี้

           “ซอมบี้ พวกเขาเล่าว่ามันคือซากศพไร้วิญญาณของมนุษย์ แม้ว่ายังอยู่ในความตาย แต่กลับถูกนำขึ้นมาจากหลุมฝังศพ และปลุกเสกขึ้นมาด้วยเวทมนตร์ที่ทำให้เกิดกลไกคล้ายคลึงกับการมีชีวิต ซอมบี้คือร่างกายที่ตายแล้ว แต่ถูกทำให้เดิน กระทำ และเคลื่อนไหวราวกับว่ายังมีชีวิต”

          วิลเลียม ซีบรูค เห็นอะไร? มีข้อสันนิษฐานอันชวนครุ่นคิดว่ามนุษย์นั่นแหละที่สร้างซอมบี้

          ห้วงยามที่ซีบรูครอนแรมเก็บข้อมูลในเฮติคือ ช่วงปลายทศวรรษ 1920 ก่อนหน้านั้น อเมริกายื่นมือเข้าแทรกแซงแผ่นดินนี้ด้วยทุนนิยมและข้ออ้างเพื่อการป้องกันคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค สหรัฐฯ เข้าไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท HASCO เข้าไปลงทุนผลิตและขายน้ำตาล เหล่านักบวชเข้าไปเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก และกองทัพสหรัฐฯ เข้าไปดูแลให้ทุกอย่างราบคาบไร้การต่อต้าน

          ทว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อต้าน ทุนนิยมที่กดขี่ คริสต์คาทอลิกผู้สถาปนาตนเองเป็นความจริงทางจิตวิญญาณสูงสุดทำสงครามความเชื่อกับลัทธิวูดูนอกรีตโดยอาศัยกำลังตำรวจและทหารเข้ากวาดล้างการค้าขายกลองวูดู การขูดรีดบังคับใช้แรงงานอย่างหนักของ HASCO คนพื้นเมืองเรียกแรงงานเหล่านั้นว่า ซอมบิ เป็นไปได้ว่าภาพที่ซีบรูคเห็น…

           “อาจเป็นเพียงแค่คนงานที่ถูกเกณฑ์แรงงาน การเคลื่อนไหวแบบผิดปกติเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานหรือหุ่นยนต์ที่ซีบรูคเห็นอาจเป็นคนงานถูกล่ามโซ่ไว้หรือเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวของคนงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อต้องการประหยัดแรง”

          หนังสือพาเราเดินทางเข้าสู่โลกนิยายและโลกภาพยนตร์ อุตสาหกรรมที่ทำให้เชื้อซอมบี้ระบาดเข้าสู่สหรัฐฯ อย่างช้าๆ ไสยศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สงครามนิวเคลียร์ ไปจนถึงมนุษย์ต่างดาว ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นต้นเหตุของซอมบี้

          จากซากศพเดินได้แค่หนึ่งซาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าเหมือนไม่เต็มใจ กลายเป็นฝูงซอมบี้ที่วิ่งเร็วยิ่งกว่านักวิ่งร้อยเมตร โดยไม่ต้องมีต้นสายปลายเหตุแล้วว่าซอมบี้ตัวแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร แค่รู้ว่าตัวต่อๆ มาเกิดขึ้นจากการถูกกัดเป็นทอดๆ ก็เพียงพอ

          ในฐานะแฟนหนังซอมบี้คนหนึ่งที่เคยดู ‘ซากดิบไม่ต้องคุมกำเนิด’ หรือ ‘Night of the Living Dead’ เวอร์ชันปี 1990 ถึง ‘ด่วนนรก ซอมบี้คลั่ง’ หรือ ‘Train to Busan’ ‘มหาวิบัติสงคราม Z’ หรือ ‘World War Z’ และ ‘แผนปล้นซอมบี้เดือด’ และ ‘Army of the Dead’ ซอมบี้วิวัฒนาการศักยภาพทางกาย ความดุร้าย และความกระหายเลือด บางเรื่องพวกมันสามารถสื่อสารกันได้ ตัวหัวหน้าควบคุมและสั่งการลูกน้องได้ เหมือนกลัวว่ามนุษย์จะแก้ปัญหาได้ง่ายเกินไป ขนาดบรรดาซูเปอร์ฮีโรในจักรวาลมาร์เวลยังไม่รอด

          ซอมบี้แปรเปลี่ยนเป็น Pop Culture ที่มีแฟนติดงอมแงมทั่วโลก

          หนังสือมีการวิเคราะห์ไว้ตอนท้ายถึงสาเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อซอมบี้ อย่างประเด็นว่าทำไมซอมบี้จึงกลับมาฮิตอีกครั้ง องค์ความรู้ทางการแพทย์และโรคระบาดมีผลอย่างไร รวมถึงว่าซอมบี้เป็นเครื่องมือวิพากษ์ระบบทุนนิยมได้อย่างไร น่าเสียดายที่เนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างสั้น

          คริส ฮาร์แมน (Chris Harman) นักข่าวและนักกิจกรรมมาร์กซิสต์ เสนอว่า “ระบอบทุนนิยมนั้นสามารถอุปมาอุปไมยกับพฤติกรรมของซอมบี้ใน 4 ด้าน คือ ความหิวกระหาย อุดมการณ์ ความเป็นอมตะ และความน่ากลัว”

          ซอมบี้และทุนนิยมต้องการการบริโภคอย่างไม่จำกัด เพราะการบริโภคทำให้มันอยู่รอด อุดมการณ์มีเพียงหนึ่งเดียวคือ กิน กิน กิน และกิน ทุนนิยมจึงฆ่าไม่ตายและน่ากลัว

          หรือซาราห์ จูเลียต ลอโร (Sarah Juliet Lauro) นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับซอมบี้ เสนอว่า “ซอมบี้คือการอุปมาอุปไมยที่มนุษย์ถูกลดสถานะในระบอบทุนนิยมให้ทำงานเป็นทาส และสูญเสียตัวตนในระบอบการผลิต ขณะที่ด้านบวก เช่น ซอมบี้สามารถมองเป็นเครื่องมือในการต่อต้านทุนนิยม ที่มีผลล้มล้าง ต่อต้านความเป็นเหตุเป็นผล ความเป็นปัจเจก และความเป็นองค์ประธาน”

          ผมไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์วิพากษ์ทุนนิยมดังที่หนังสือยกตัวอย่าง แต่หลายต่อหลายครั้งที่หนังซอมบี้ทำให้เราเห็นธรรมชาติดิบๆ ของมนุษย์ที่กระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน น่าหวาดกลัวและขยะแขยงเสียยิ่งกว่า

          หรือจริงๆ แล้วซอมบี้ก็คือ ตัวตนอีกด้านของมนุษย์ เราต้องกินตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่หิวเลยสักนิด เราต้องซื้อตลอดเวลาเพียงเพราะคนอื่นเขาซื้อกัน จนท้ายของท้ายสุด โลกเกินแบกรับ วันสิ้นโลกเดินทางมาถึง มนุษย์กลุ่มสุดท้ายพยายามมีชีวิตรอดภายใต้สภาพแวดล้อมสุดทารุณ พวกคนรวยตั้งนิคมของตนเองอยู่กินสุขสำราญไม่เปลี่ยน คนจนซึ่งมีมากกว่าถูกกดขี่จนต้องลุกฮือล้มล้าง เกิดกลุ่มผู้นำใหม่ที่ดีในเบื้องต้นและทรราชในเบื้องปลาย วันสิ้นโลกเกิดขึ้นวนซ้ำไปซ้ำมา…

          ยิ่งเขียนก็ยิ่งไปกันใหญ่ แต่แน่ใจหรือว่าโลกดิสโทเปีย (Dystopia) ไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ณ เวลานี้ ไม่ใช่เพราะซอมบี้หรอก เพราะมนุษย์นี่แหละ

          เราทุกคนกำลังติดเชื้อ!!!

Tags: แนะนำหนังสือ

เรื่องโดย

135
VIEWS
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เรื่อง

แอดมินเพจ WanderingBook และสื่อมวลชน

          โลกบนแผ่นฟิล์มทดลองสร้างวันสิ้นโลกแบบต่างๆ ให้เราฝึกจินตนาการและนึกหาวิธีการเอาตัวรอด มนุษย์ต่างดาวบุก ภัยพิบัติ โรคระบาด สงครามนิวเคลียร์ หุ่นยนต์ที่จ้องกำจัดมนุษย์ และฝูงซอมบี้ ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลกฝังแน่นอยู่ในศาสนาที่นับถือพระเจ้า แต่ใช่ว่าศาสนาที่ไม่นับถือพระเจ้าอย่างศาสนาพุทธจะไม่มีเรื่องราวทำนองนี้

          ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ มีประกาศกมากหน้าหลายตาทำนายวันสิ้นโลกที่กำลังจะมาถึง มีเหล่าสาวกเชื่อถือจำนวนมาก คำทำนายทั้งหมดล้วนถูกพิสูจน์ว่าไม่จริง วันสิ้นโลกยังมาไม่ถึง อย่างไรก็ตาม มีคนอีกมากพร้อมจะเชื่อ คงเพราะความกลัวว่าถ้าไม่รีบจับจอง ตนเองจะไม่มีที่ทางบนสรวงสวรรค์นิรันดร์ของพระเจ้า

          ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องเล่าของซากศพที่ลุกขึ้นมาไล่กินมนุษย์ที่เรียกว่า ซอมบี้ เพิ่งเกิดมาแค่ร้อยกว่าปีเท่านั้น ผ่านมุมมองของคนขาวเจ้าอาณานิคมต่อชนพื้นเมืองแถบแคริบเบียน เหล่าทาสผู้ถูกพรากจากแผ่นดินแอฟริกา ถูกใช้แรงงานชนิดถึงตาย พวกเขาใช้ลัทธิวูดูเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจร่วมกัน พิธีกรรม ไสยศาสตร์ ที่ไม่อาจหาคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จึงถูกแปะป้ายเป็นความล้าหลัง งมงาย และชั่วร้าย

           ‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำสู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม’ หนังสือเล่มกะทัดรัดเขียนโดยชนกพร ชูติกมลธรรม ภายใต้หนังสือชุด ‘สินสาดลำลอง’ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าเรื่องราวการก่อกำเนิดซอมบี้อย่างย่นย่อ แต่สนุกสมกับ ‘ความลำลอง’ ในฐานะแฟนหนังสยองขวัญยุค 80-90 ถ้าไม่อ่านคงเหมือนพลาดอะไรสักอย่างในชีวิต

          แพทริค ลาฟคาดิโอ เฮิร์น (Patrick Lafcadio Hearn) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ เป็นคนแรกที่ทำให้คำว่า ซอมบิ (Zombi) ถือกำเนิดขึ้นในหนังสือบันทึกการเดินทางของเขาที่เล่าเรื่องราวความงมงายและหวาดกลัวซอมบิของชาวเกาะมาร์ตีนิก สังเกตว่าคำที่แพทริคใช้คือ ซอมบิ-Zombi ไม่ใช่ซอมบี้-Zombie ซึ่งตัวเขาเองก็ยังไม่แน่ใจว่า ซอมบิคือภูตผีชนิดใดกันแน่

          คนที่ทำให้ซอมบี้ถือกำเนิดอย่างแท้จริงต้องยกให้วิลเลียม ซีบรูค (William Seabrook) นักหนังสือพิมพ์อเมริกัน ผู้หลงใหลเรื่องลึกลับ เขาเดินทางไปเฮติเพื่อเก็บข้อมูลเรื่องลัทธิวูดูจนออกมาเป็นหนังสือ The Magic Island ในปี 1929 เขาคนนี้เองที่ให้นิยามคำว่า ซอมบี้ ในแบบที่เราเข้าใจกันในทุกวันนี้

           “ซอมบี้ พวกเขาเล่าว่ามันคือซากศพไร้วิญญาณของมนุษย์ แม้ว่ายังอยู่ในความตาย แต่กลับถูกนำขึ้นมาจากหลุมฝังศพ และปลุกเสกขึ้นมาด้วยเวทมนตร์ที่ทำให้เกิดกลไกคล้ายคลึงกับการมีชีวิต ซอมบี้คือร่างกายที่ตายแล้ว แต่ถูกทำให้เดิน กระทำ และเคลื่อนไหวราวกับว่ายังมีชีวิต”

          วิลเลียม ซีบรูค เห็นอะไร? มีข้อสันนิษฐานอันชวนครุ่นคิดว่ามนุษย์นั่นแหละที่สร้างซอมบี้

          ห้วงยามที่ซีบรูครอนแรมเก็บข้อมูลในเฮติคือ ช่วงปลายทศวรรษ 1920 ก่อนหน้านั้น อเมริกายื่นมือเข้าแทรกแซงแผ่นดินนี้ด้วยทุนนิยมและข้ออ้างเพื่อการป้องกันคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค สหรัฐฯ เข้าไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท HASCO เข้าไปลงทุนผลิตและขายน้ำตาล เหล่านักบวชเข้าไปเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก และกองทัพสหรัฐฯ เข้าไปดูแลให้ทุกอย่างราบคาบไร้การต่อต้าน

          ทว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อต้าน ทุนนิยมที่กดขี่ คริสต์คาทอลิกผู้สถาปนาตนเองเป็นความจริงทางจิตวิญญาณสูงสุดทำสงครามความเชื่อกับลัทธิวูดูนอกรีตโดยอาศัยกำลังตำรวจและทหารเข้ากวาดล้างการค้าขายกลองวูดู การขูดรีดบังคับใช้แรงงานอย่างหนักของ HASCO คนพื้นเมืองเรียกแรงงานเหล่านั้นว่า ซอมบิ เป็นไปได้ว่าภาพที่ซีบรูคเห็น…

           “อาจเป็นเพียงแค่คนงานที่ถูกเกณฑ์แรงงาน การเคลื่อนไหวแบบผิดปกติเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานหรือหุ่นยนต์ที่ซีบรูคเห็นอาจเป็นคนงานถูกล่ามโซ่ไว้หรือเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวของคนงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อต้องการประหยัดแรง”

          หนังสือพาเราเดินทางเข้าสู่โลกนิยายและโลกภาพยนตร์ อุตสาหกรรมที่ทำให้เชื้อซอมบี้ระบาดเข้าสู่สหรัฐฯ อย่างช้าๆ ไสยศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สงครามนิวเคลียร์ ไปจนถึงมนุษย์ต่างดาว ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นต้นเหตุของซอมบี้

          จากซากศพเดินได้แค่หนึ่งซาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าเหมือนไม่เต็มใจ กลายเป็นฝูงซอมบี้ที่วิ่งเร็วยิ่งกว่านักวิ่งร้อยเมตร โดยไม่ต้องมีต้นสายปลายเหตุแล้วว่าซอมบี้ตัวแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร แค่รู้ว่าตัวต่อๆ มาเกิดขึ้นจากการถูกกัดเป็นทอดๆ ก็เพียงพอ

          ในฐานะแฟนหนังซอมบี้คนหนึ่งที่เคยดู ‘ซากดิบไม่ต้องคุมกำเนิด’ หรือ ‘Night of the Living Dead’ เวอร์ชันปี 1990 ถึง ‘ด่วนนรก ซอมบี้คลั่ง’ หรือ ‘Train to Busan’ ‘มหาวิบัติสงคราม Z’ หรือ ‘World War Z’ และ ‘แผนปล้นซอมบี้เดือด’ และ ‘Army of the Dead’ ซอมบี้วิวัฒนาการศักยภาพทางกาย ความดุร้าย และความกระหายเลือด บางเรื่องพวกมันสามารถสื่อสารกันได้ ตัวหัวหน้าควบคุมและสั่งการลูกน้องได้ เหมือนกลัวว่ามนุษย์จะแก้ปัญหาได้ง่ายเกินไป ขนาดบรรดาซูเปอร์ฮีโรในจักรวาลมาร์เวลยังไม่รอด

          ซอมบี้แปรเปลี่ยนเป็น Pop Culture ที่มีแฟนติดงอมแงมทั่วโลก

          หนังสือมีการวิเคราะห์ไว้ตอนท้ายถึงสาเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อซอมบี้ อย่างประเด็นว่าทำไมซอมบี้จึงกลับมาฮิตอีกครั้ง องค์ความรู้ทางการแพทย์และโรคระบาดมีผลอย่างไร รวมถึงว่าซอมบี้เป็นเครื่องมือวิพากษ์ระบบทุนนิยมได้อย่างไร น่าเสียดายที่เนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างสั้น

          คริส ฮาร์แมน (Chris Harman) นักข่าวและนักกิจกรรมมาร์กซิสต์ เสนอว่า “ระบอบทุนนิยมนั้นสามารถอุปมาอุปไมยกับพฤติกรรมของซอมบี้ใน 4 ด้าน คือ ความหิวกระหาย อุดมการณ์ ความเป็นอมตะ และความน่ากลัว”

          ซอมบี้และทุนนิยมต้องการการบริโภคอย่างไม่จำกัด เพราะการบริโภคทำให้มันอยู่รอด อุดมการณ์มีเพียงหนึ่งเดียวคือ กิน กิน กิน และกิน ทุนนิยมจึงฆ่าไม่ตายและน่ากลัว

          หรือซาราห์ จูเลียต ลอโร (Sarah Juliet Lauro) นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับซอมบี้ เสนอว่า “ซอมบี้คือการอุปมาอุปไมยที่มนุษย์ถูกลดสถานะในระบอบทุนนิยมให้ทำงานเป็นทาส และสูญเสียตัวตนในระบอบการผลิต ขณะที่ด้านบวก เช่น ซอมบี้สามารถมองเป็นเครื่องมือในการต่อต้านทุนนิยม ที่มีผลล้มล้าง ต่อต้านความเป็นเหตุเป็นผล ความเป็นปัจเจก และความเป็นองค์ประธาน”

          ผมไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์วิพากษ์ทุนนิยมดังที่หนังสือยกตัวอย่าง แต่หลายต่อหลายครั้งที่หนังซอมบี้ทำให้เราเห็นธรรมชาติดิบๆ ของมนุษย์ที่กระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน น่าหวาดกลัวและขยะแขยงเสียยิ่งกว่า

          หรือจริงๆ แล้วซอมบี้ก็คือ ตัวตนอีกด้านของมนุษย์ เราต้องกินตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่หิวเลยสักนิด เราต้องซื้อตลอดเวลาเพียงเพราะคนอื่นเขาซื้อกัน จนท้ายของท้ายสุด โลกเกินแบกรับ วันสิ้นโลกเดินทางมาถึง มนุษย์กลุ่มสุดท้ายพยายามมีชีวิตรอดภายใต้สภาพแวดล้อมสุดทารุณ พวกคนรวยตั้งนิคมของตนเองอยู่กินสุขสำราญไม่เปลี่ยน คนจนซึ่งมีมากกว่าถูกกดขี่จนต้องลุกฮือล้มล้าง เกิดกลุ่มผู้นำใหม่ที่ดีในเบื้องต้นและทรราชในเบื้องปลาย วันสิ้นโลกเกิดขึ้นวนซ้ำไปซ้ำมา…

          ยิ่งเขียนก็ยิ่งไปกันใหญ่ แต่แน่ใจหรือว่าโลกดิสโทเปีย (Dystopia) ไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ณ เวลานี้ ไม่ใช่เพราะซอมบี้หรอก เพราะมนุษย์นี่แหละ

          เราทุกคนกำลังติดเชื้อ!!!

Tags: แนะนำหนังสือ

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เรื่อง

แอดมินเพจ WanderingBook และสื่อมวลชน

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
188
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667
ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก
Book of Commons

ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก

October 23, 2022
176

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
188
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667
ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก
Book of Commons

ไกด์…ไม่ไร้สาระสู่อาหารโลก: กินอาหารหนึ่งจาน สะเทือนถึงเกษตรกร แรงงาน และอนาคตของอาหารโลก

October 23, 2022
176
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_04ebcd66d6606aefd3350c516ba1ced9.js