The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง
Book of Commons
  • Book of Commons

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

46 views

 5 mins

2 MINS

November 14, 2023

          “ผมออกวิ่งไปบนท้องถนน …​ หมึกยักษ์ตัวมันเป็นเมือกแสยะยิ้มกว้างกำลังไล่ล่าตามผม … ผมพยายามปีนป่ายไปบนผนังไม้สีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยผมเลย”

          บันทึกฝันร้ายที่โทนี เช (Tony Hsieh) เขียนไว้ในวัยเด็ก กลายเป็นฉากสุดท้ายที่เขาถูกไฟคลอกตาย อาจเป็นความบังเอิญหรือเป็นตลกร้ายที่สิ่งใดที่โทนีล้วนเคยเขียนไว้ กลับมาลิขิตชีวิตของเขา

          ชีวิตของเขา ที่ดูเหมือนจะลิขิตเองได้ในทุกฉากตอน ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งธุรกิจ LinkExchange ที่ขายต่อให้ Microsoft ในราคา 265 เหรียญสหรัฐ ก่อนจะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาในสิบปีต่อมา แล้วขายให้ Amazon ด้วยมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญ ใครเลยจะคิดว่าฉากเดียวที่เขาไม่อาจลิขิตและไม่มีใครคาดคิดว่าจะลงเอยเช่นนั้นคือฉากสุดท้ายในอีกสิบปีถัดมาที่เขาจบชีวิตลงโดย “ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วย [เขา] เลย”

          ชีวิตโทนี่ดูจะเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ‘เอเชียนกาย’ ที่ใช้ชีวิตตามนิยามอเมริกันดรีม เด็กหนุ่มขี้อายที่อยากเชื่อมผู้คนเข้าหากัน นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ผลักดันแนวคิดเรื่องความสุข หากกลับซ่อนความทุกข์ตรมไว้โดยไม่มีใครรู้ – จนกระทั่งเขาจากไป

          การจากไปอย่างมีเงื่อนงำที่ทำให้ใครหลายคนตั้งข้อสงสัย รวมทั้งแองเจิล อูหยาง (Angel Au-Yeung) และเดวิด จีนส์ (David Jeans) สื่อมวลชนคนละสายข่าวที่ร่วมกันสืบสวนหาความจริงในคดีนี้ และรวบรวมเป็น Wonder Boy: Tony Hseih, Zappos, and the Myth of Happiness in Silicon Valley ออกมา ด้วยเจตนาที่ต่างกันผ่านหนึ่งเรื่องราว เดวิดที่มาจากสายข่าวสืบสวนอาชญากรรมต้องการทำให้ความจริงปรากฏและบันทึกข้อเท็จจริง ในขณะที่แองเจิล นักเขียนด้านเศรษฐกิจสังคมต้องการให้เห็นความเป็นมนุษย์ในเราทุกคนไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ ร่ำรวย (ดูเหมือน) สำเร็จเพียงใด และชีวิตจริงไม่อาจมีเพียงความสุขด้านเดียว – ไม่ว่าคุณจะพยายาม ‘สร้าง’ มันขึ้นมาแค่ไหนก็ตาม

          “ความสุข”

          คีย์เวิร์ดของโทนี เช คุณค่าทางธุรกิจที่เขาหวังอยากส่งมอบ วัฒนธรรมองค์กรที่เขาหมายมั่นปั้นมือ และแบรนด์ดิ้งประจำตัวของเขาเอง จากการเขียนหนังสือ Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose อัตชีวประวัติเล่มแรกของเขาที่ว่าด้วยเส้นทางการก่อร่างสร้างธุรกิจพลิกวงการอีคอมเมิร์ซอย่างแซปโปสขึ้นมา ธุรกิจที่ผู้ประกอบการในซิลิคอนวัลเลย์ยกให้เป็นการปฏิวัติวงการ ไม่ใช่แค่วิธีการส่งมอบสินค้า (เช่น รับก่อนลองทีหลัง คืนได้หากไม่พอใจ ส่งไวพร้อมใช้แน่นอน! ฯลฯ) หากยังรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการดูแลพนักงานให้มีความสุขที่สุด เพื่อที่พวกเขาจะทำงานได้ดีที่สุด แล้วลูกค้าของคุณก็จะแฮปปี้ที่สุด

          เพื่ออะไรน่ะหรือ? เพื่อที่ยอดขายคุณจะได้พุ่งสุดๆ ไปเลยไงเล่า

          แซปโปสประสบความสำเร็จอย่างมาก การันตีจากมูลค่าทางธุรกิจที่ Amazon ซื้อต่อไปในราคากว่าพันล้านเหรียญ ตัวเลขที่ยิ่งตอกย้ำความเชื่อในทฤษฎีแห่งความสุขของเขายิ่งไปอีกว่าชีวิตก็เหมือนธุรกิจ กล่าวคือคุณใส่สิ่งใดเข้าไป คุณย่อมได้รับสิ่งนั้นออกมา

          ซึ่งก็จริง

          อยู่บ้าง

          หากในชีวิตจริง ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คุณใส่เข้าไปเท่านั้น หากยังผสมปนเป เปรอะเปื้อน ไปด้วยสารพัดวัตถุดิบทั้งที่คุณใส่ และไม่ได้ใส่เข้าไป สิ่งที่คนอื่นแอบหยอดลงไป สังคมที่ยัดเยียดความคิด ความเชื่อ ความปรารถนาบางอย่างเข้าไป … อาจเป็นความฝัน ความกระหาย ความทะยานอยาก … ไม่ว่าคุณรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

          จนถึงจุดหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่ใช่ (ทั้งหมดของ) สิ่งที่โทนีคิดว่าเขาใส่เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นทัวร์เปิดตัวหนังสือ Delivering Happiness ที่ฉากหน้าและเนื้อหาบนเวทีเคลือบด้วยความสุขแสนหวาน หากน้ำตาลกรวดนั้นกลับเป็นดั่งอาหารแปรรูป แปลกปลอม และหากกินมากไปย่อมทำให้เกิดการระคายเคืองท้องและเป็นพิษต่อสุขภาพ หรือแม้แต่ Downtown Project เมกะโปรเจกต์แห่งลาสเวกัส ที่เรื่องเล่าของโทนี เช ได้ปลุกระดมให้ผู้คนมุ่งหวังจะเป็นผู้ประกอบการออกตามล่าหา ‘ความสุข’ ที่โทนีพูดถึง หากกลับตามมาด้วยอัตราธุรกิจที่ปิดตัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคดีการฆ่าตัวตายทั้งที่นับได้และไม่อาจเปิดเผย

          อาการติดเหล้าเมายาของโทนีเองก็เป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทำคนรอบตัวส่ายหัว และตัวเขาก็สับสนในตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต และยิ่งคิดหนีด้วยสารเติมความสุขชั่วคราวเหล่านี้มากเท่าไร ความทุกข์ระยะยาวก็ดูจะตามมาเป็นเงามากขึ้นเท่านั้น ความย้อนแย้งที่แฝงอยู่ในชีวิตเสมอมาดูจะปรากฏชัดเป็นรูปธรรมในช่วงปีท้ายๆ ของเขา ที่อาศัยอยู่ในคฤหาสน์หรูหรา เป็นภาพฝันของคนภายนอกเมื่อมองเข้ามา หากภายในกลับเต็มไปด้วยสิ่งโสมม กองปฏิกูล (จริงๆ) ขยะเกลื่อนกลาด เศษอาหารที่ไม่มีใครจัดการ เพราะเจ้าบ้านมัวง่วนอยู่กับความสับสนในหัวและขุ่นมัวในจิตใจเกินกว่าจะสะสางความเลอะเทอะตรงหน้าได้

          ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านหลังนั้น ไม่มีใครรู้จนกระทั่งวันที่ไฟลุกไหม้ จนผู้คนรู้ข่าวว่าชายผู้ติดอยู่ในห้องชั้นบนที่กำลังลุกด้วยเพลิงไฟคือ โท-นี-เช … โทนีที่พยายามวิ่งหนีเพลิงไฟคล้ายหมึกยักษ์ใหญ่ที่ออกไล่ล่าเขา … โทนีที่พยายามปีนป่ายไปบนผนังสีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยเขาเลย… 

          ทำไมไม่มีใครช่วยโทนี?

          หนึ่งในหลายคำถามที่สองนักเขียนพยายามหาคำตอบ ไม่ใช่แค่ช่วยในวาระสุดท้ายขณะถูกไฟคลอกกาย หากช่วยในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ช่วยจากอาการติดเหล้าเมายา ซึมเศร้าทั้งที่รายล้อมไปด้วยผู้คน

          อาจเดาคำตอบกันไปได้สารพัดว่าคนที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างเขาย่อมเต็มไปด้วยผู้ “ร่วมสุข” ยากจะหาคนร่วมทุกข์ ซึ่งก็อาจเป็นได้ ในวันที่เขาจัดงานเลี้ยง (40 คืนต่อกัน!) ทั้งคฤหาสน์อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยผู้คน แต่หลังจากนั้นมีโทนีเท่านั้นที่รู้ว่าบ้านเลอะเทอะ ซึมเซาเพียงใด แม้เจตนาในการเขียนหนังสือเล่มนี้จะต่างกัน แต่จุดร่วมของทั้งแองเจิลและเดวิดคือการเขียนให้ ‘ไม่มีพระเอกหรือตัวร้าย’ ตามที่ชีวิตนั้นเป็นอย่างแท้จริง รวมทั้งแอนดี้ พี่ชายของโทนีที่เคยสนิทกันในวัยเด็ก ก่อนจะหายไปแล้วกลับมาตอนที่เขามี ‘ทุกสิ่ง’ แล้ว แต่เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร ชีวิตของโทนีคงไม่ต่างจากเราทั้งหลายที่เราไม่อาจตัดสินใครได้ด้วยฉากเดียว  หรือจากปากคำของใครคนหนึ่ง 

          Wonder Boy เป็นหนังสือที่อ่านได้อรรถรสคล้ายอาหารฟิวชันคละเคล้าระหว่างงานสารคดีสืบสวนสอบสวน และวิธีการเล่าที่ทั้งตัวละครและพล็อตทวิสต์ราวกับฟิกชัน อีกทั้งในเชิงเนื้อหาสาระก็ยังลึกซึ้งไม่น้อยไปกว่ากัน นี่ไม่ใช่แค่บันทึกชีวิตของโทนี เช หรือภาคอวสานของ Delivering Happiness อัตชีวประวัติของเขาเอง หากยังเป็นหนังสือที่ฉายให้เห็นถึงสภาวะซึมเศร้าของยุคสมัย สุขภาวะทางจิตใจที่เปราะบางในความแกร่งกระด้างฟาดฟันของโลกทุนนิยม

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช บุคคลที่เรียกได้ว่าความเก่งและฉลาดนั้นหาตัวจับยาก หากความป่วยไข้ของเขากลับเป็นสากล เป็นหนึ่งในร้อยละ 49 ของผู้ประกอบการที่ยอมรับว่าประสบปัญหาทางจิตใจ และถูกวินิจฉัยด้วยโรคซึมเศร้าซึ่งคิดเป็นอัตราที่มากถึงสองเท่าของผู้ที่ไม่ได้ประกอบกิจการ

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช เอเชียนกายผู้ปฏิวัติวงการเทคและวัฒนธรรมธุรกิจไปตลอดกาล สามปีแล้วที่โทนี เชจากไป หากผลกระทบที่เขาสร้างไว้ในชีวิตสี่สิบหกปียังคงอยู่ทั้งในเชิงธุรกิจและชีวิตที่บอกใบ้สัจธรรมกับเราว่าเมื่อเราปักหมุดให้ความสุขที่ไม่คงที่เป็นเป้าหมาย ก็กลายเป็นว่าเราใช้ชีวิตไขว่คว้าตามล่าฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้ และพลาดความหมายระหว่างทางอันเกิดจากทุกข์คลุกเคล้าสุขปะปนไปอย่างไม่อาจเลี่ยงได้เลย 

Tags: แนะนำหนังสือ

เรื่องโดย

0
VIEWS
พชร สูงเด่น เรื่อง

อ่าน เขียน เรียนรู้ตลอดชีวิต

          “ผมออกวิ่งไปบนท้องถนน …​ หมึกยักษ์ตัวมันเป็นเมือกแสยะยิ้มกว้างกำลังไล่ล่าตามผม … ผมพยายามปีนป่ายไปบนผนังไม้สีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยผมเลย”

          บันทึกฝันร้ายที่โทนี เช (Tony Hsieh) เขียนไว้ในวัยเด็ก กลายเป็นฉากสุดท้ายที่เขาถูกไฟคลอกตาย อาจเป็นความบังเอิญหรือเป็นตลกร้ายที่สิ่งใดที่โทนีล้วนเคยเขียนไว้ กลับมาลิขิตชีวิตของเขา

          ชีวิตของเขา ที่ดูเหมือนจะลิขิตเองได้ในทุกฉากตอน ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งธุรกิจ LinkExchange ที่ขายต่อให้ Microsoft ในราคา 265 เหรียญสหรัฐ ก่อนจะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาในสิบปีต่อมา แล้วขายให้ Amazon ด้วยมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญ ใครเลยจะคิดว่าฉากเดียวที่เขาไม่อาจลิขิตและไม่มีใครคาดคิดว่าจะลงเอยเช่นนั้นคือฉากสุดท้ายในอีกสิบปีถัดมาที่เขาจบชีวิตลงโดย “ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วย [เขา] เลย”

          ชีวิตโทนี่ดูจะเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ‘เอเชียนกาย’ ที่ใช้ชีวิตตามนิยามอเมริกันดรีม เด็กหนุ่มขี้อายที่อยากเชื่อมผู้คนเข้าหากัน นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ผลักดันแนวคิดเรื่องความสุข หากกลับซ่อนความทุกข์ตรมไว้โดยไม่มีใครรู้ – จนกระทั่งเขาจากไป

          การจากไปอย่างมีเงื่อนงำที่ทำให้ใครหลายคนตั้งข้อสงสัย รวมทั้งแองเจิล อูหยาง (Angel Au-Yeung) และเดวิด จีนส์ (David Jeans) สื่อมวลชนคนละสายข่าวที่ร่วมกันสืบสวนหาความจริงในคดีนี้ และรวบรวมเป็น Wonder Boy: Tony Hseih, Zappos, and the Myth of Happiness in Silicon Valley ออกมา ด้วยเจตนาที่ต่างกันผ่านหนึ่งเรื่องราว เดวิดที่มาจากสายข่าวสืบสวนอาชญากรรมต้องการทำให้ความจริงปรากฏและบันทึกข้อเท็จจริง ในขณะที่แองเจิล นักเขียนด้านเศรษฐกิจสังคมต้องการให้เห็นความเป็นมนุษย์ในเราทุกคนไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ ร่ำรวย (ดูเหมือน) สำเร็จเพียงใด และชีวิตจริงไม่อาจมีเพียงความสุขด้านเดียว – ไม่ว่าคุณจะพยายาม ‘สร้าง’ มันขึ้นมาแค่ไหนก็ตาม

          “ความสุข”

          คีย์เวิร์ดของโทนี เช คุณค่าทางธุรกิจที่เขาหวังอยากส่งมอบ วัฒนธรรมองค์กรที่เขาหมายมั่นปั้นมือ และแบรนด์ดิ้งประจำตัวของเขาเอง จากการเขียนหนังสือ Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose อัตชีวประวัติเล่มแรกของเขาที่ว่าด้วยเส้นทางการก่อร่างสร้างธุรกิจพลิกวงการอีคอมเมิร์ซอย่างแซปโปสขึ้นมา ธุรกิจที่ผู้ประกอบการในซิลิคอนวัลเลย์ยกให้เป็นการปฏิวัติวงการ ไม่ใช่แค่วิธีการส่งมอบสินค้า (เช่น รับก่อนลองทีหลัง คืนได้หากไม่พอใจ ส่งไวพร้อมใช้แน่นอน! ฯลฯ) หากยังรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการดูแลพนักงานให้มีความสุขที่สุด เพื่อที่พวกเขาจะทำงานได้ดีที่สุด แล้วลูกค้าของคุณก็จะแฮปปี้ที่สุด

          เพื่ออะไรน่ะหรือ? เพื่อที่ยอดขายคุณจะได้พุ่งสุดๆ ไปเลยไงเล่า

          แซปโปสประสบความสำเร็จอย่างมาก การันตีจากมูลค่าทางธุรกิจที่ Amazon ซื้อต่อไปในราคากว่าพันล้านเหรียญ ตัวเลขที่ยิ่งตอกย้ำความเชื่อในทฤษฎีแห่งความสุขของเขายิ่งไปอีกว่าชีวิตก็เหมือนธุรกิจ กล่าวคือคุณใส่สิ่งใดเข้าไป คุณย่อมได้รับสิ่งนั้นออกมา

          ซึ่งก็จริง

          อยู่บ้าง

          หากในชีวิตจริง ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คุณใส่เข้าไปเท่านั้น หากยังผสมปนเป เปรอะเปื้อน ไปด้วยสารพัดวัตถุดิบทั้งที่คุณใส่ และไม่ได้ใส่เข้าไป สิ่งที่คนอื่นแอบหยอดลงไป สังคมที่ยัดเยียดความคิด ความเชื่อ ความปรารถนาบางอย่างเข้าไป … อาจเป็นความฝัน ความกระหาย ความทะยานอยาก … ไม่ว่าคุณรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

          จนถึงจุดหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่ใช่ (ทั้งหมดของ) สิ่งที่โทนีคิดว่าเขาใส่เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นทัวร์เปิดตัวหนังสือ Delivering Happiness ที่ฉากหน้าและเนื้อหาบนเวทีเคลือบด้วยความสุขแสนหวาน หากน้ำตาลกรวดนั้นกลับเป็นดั่งอาหารแปรรูป แปลกปลอม และหากกินมากไปย่อมทำให้เกิดการระคายเคืองท้องและเป็นพิษต่อสุขภาพ หรือแม้แต่ Downtown Project เมกะโปรเจกต์แห่งลาสเวกัส ที่เรื่องเล่าของโทนี เช ได้ปลุกระดมให้ผู้คนมุ่งหวังจะเป็นผู้ประกอบการออกตามล่าหา ‘ความสุข’ ที่โทนีพูดถึง หากกลับตามมาด้วยอัตราธุรกิจที่ปิดตัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคดีการฆ่าตัวตายทั้งที่นับได้และไม่อาจเปิดเผย

          อาการติดเหล้าเมายาของโทนีเองก็เป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทำคนรอบตัวส่ายหัว และตัวเขาก็สับสนในตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต และยิ่งคิดหนีด้วยสารเติมความสุขชั่วคราวเหล่านี้มากเท่าไร ความทุกข์ระยะยาวก็ดูจะตามมาเป็นเงามากขึ้นเท่านั้น ความย้อนแย้งที่แฝงอยู่ในชีวิตเสมอมาดูจะปรากฏชัดเป็นรูปธรรมในช่วงปีท้ายๆ ของเขา ที่อาศัยอยู่ในคฤหาสน์หรูหรา เป็นภาพฝันของคนภายนอกเมื่อมองเข้ามา หากภายในกลับเต็มไปด้วยสิ่งโสมม กองปฏิกูล (จริงๆ) ขยะเกลื่อนกลาด เศษอาหารที่ไม่มีใครจัดการ เพราะเจ้าบ้านมัวง่วนอยู่กับความสับสนในหัวและขุ่นมัวในจิตใจเกินกว่าจะสะสางความเลอะเทอะตรงหน้าได้

          ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านหลังนั้น ไม่มีใครรู้จนกระทั่งวันที่ไฟลุกไหม้ จนผู้คนรู้ข่าวว่าชายผู้ติดอยู่ในห้องชั้นบนที่กำลังลุกด้วยเพลิงไฟคือ โท-นี-เช … โทนีที่พยายามวิ่งหนีเพลิงไฟคล้ายหมึกยักษ์ใหญ่ที่ออกไล่ล่าเขา … โทนีที่พยายามปีนป่ายไปบนผนังสีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยเขาเลย… 

          ทำไมไม่มีใครช่วยโทนี?

          หนึ่งในหลายคำถามที่สองนักเขียนพยายามหาคำตอบ ไม่ใช่แค่ช่วยในวาระสุดท้ายขณะถูกไฟคลอกกาย หากช่วยในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ช่วยจากอาการติดเหล้าเมายา ซึมเศร้าทั้งที่รายล้อมไปด้วยผู้คน

          อาจเดาคำตอบกันไปได้สารพัดว่าคนที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างเขาย่อมเต็มไปด้วยผู้ “ร่วมสุข” ยากจะหาคนร่วมทุกข์ ซึ่งก็อาจเป็นได้ ในวันที่เขาจัดงานเลี้ยง (40 คืนต่อกัน!) ทั้งคฤหาสน์อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยผู้คน แต่หลังจากนั้นมีโทนีเท่านั้นที่รู้ว่าบ้านเลอะเทอะ ซึมเซาเพียงใด แม้เจตนาในการเขียนหนังสือเล่มนี้จะต่างกัน แต่จุดร่วมของทั้งแองเจิลและเดวิดคือการเขียนให้ ‘ไม่มีพระเอกหรือตัวร้าย’ ตามที่ชีวิตนั้นเป็นอย่างแท้จริง รวมทั้งแอนดี้ พี่ชายของโทนีที่เคยสนิทกันในวัยเด็ก ก่อนจะหายไปแล้วกลับมาตอนที่เขามี ‘ทุกสิ่ง’ แล้ว แต่เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร ชีวิตของโทนีคงไม่ต่างจากเราทั้งหลายที่เราไม่อาจตัดสินใครได้ด้วยฉากเดียว  หรือจากปากคำของใครคนหนึ่ง 

          Wonder Boy เป็นหนังสือที่อ่านได้อรรถรสคล้ายอาหารฟิวชันคละเคล้าระหว่างงานสารคดีสืบสวนสอบสวน และวิธีการเล่าที่ทั้งตัวละครและพล็อตทวิสต์ราวกับฟิกชัน อีกทั้งในเชิงเนื้อหาสาระก็ยังลึกซึ้งไม่น้อยไปกว่ากัน นี่ไม่ใช่แค่บันทึกชีวิตของโทนี เช หรือภาคอวสานของ Delivering Happiness อัตชีวประวัติของเขาเอง หากยังเป็นหนังสือที่ฉายให้เห็นถึงสภาวะซึมเศร้าของยุคสมัย สุขภาวะทางจิตใจที่เปราะบางในความแกร่งกระด้างฟาดฟันของโลกทุนนิยม

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช บุคคลที่เรียกได้ว่าความเก่งและฉลาดนั้นหาตัวจับยาก หากความป่วยไข้ของเขากลับเป็นสากล เป็นหนึ่งในร้อยละ 49 ของผู้ประกอบการที่ยอมรับว่าประสบปัญหาทางจิตใจ และถูกวินิจฉัยด้วยโรคซึมเศร้าซึ่งคิดเป็นอัตราที่มากถึงสองเท่าของผู้ที่ไม่ได้ประกอบกิจการ

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช เอเชียนกายผู้ปฏิวัติวงการเทคและวัฒนธรรมธุรกิจไปตลอดกาล สามปีแล้วที่โทนี เชจากไป หากผลกระทบที่เขาสร้างไว้ในชีวิตสี่สิบหกปียังคงอยู่ทั้งในเชิงธุรกิจและชีวิตที่บอกใบ้สัจธรรมกับเราว่าเมื่อเราปักหมุดให้ความสุขที่ไม่คงที่เป็นเป้าหมาย ก็กลายเป็นว่าเราใช้ชีวิตไขว่คว้าตามล่าฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้ และพลาดความหมายระหว่างทางอันเกิดจากทุกข์คลุกเคล้าสุขปะปนไปอย่างไม่อาจเลี่ยงได้เลย 

Tags: แนะนำหนังสือ

เรื่องโดย

0
VIEWS
พชร สูงเด่น เรื่อง

อ่าน เขียน เรียนรู้ตลอดชีวิต

          “ผมออกวิ่งไปบนท้องถนน …​ หมึกยักษ์ตัวมันเป็นเมือกแสยะยิ้มกว้างกำลังไล่ล่าตามผม … ผมพยายามปีนป่ายไปบนผนังไม้สีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยผมเลย”

          บันทึกฝันร้ายที่โทนี เช (Tony Hsieh) เขียนไว้ในวัยเด็ก กลายเป็นฉากสุดท้ายที่เขาถูกไฟคลอกตาย อาจเป็นความบังเอิญหรือเป็นตลกร้ายที่สิ่งใดที่โทนีล้วนเคยเขียนไว้ กลับมาลิขิตชีวิตของเขา

          ชีวิตของเขา ที่ดูเหมือนจะลิขิตเองได้ในทุกฉากตอน ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งธุรกิจ LinkExchange ที่ขายต่อให้ Microsoft ในราคา 265 เหรียญสหรัฐ ก่อนจะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาในสิบปีต่อมา แล้วขายให้ Amazon ด้วยมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญ ใครเลยจะคิดว่าฉากเดียวที่เขาไม่อาจลิขิตและไม่มีใครคาดคิดว่าจะลงเอยเช่นนั้นคือฉากสุดท้ายในอีกสิบปีถัดมาที่เขาจบชีวิตลงโดย “ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วย [เขา] เลย”

          ชีวิตโทนี่ดูจะเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ‘เอเชียนกาย’ ที่ใช้ชีวิตตามนิยามอเมริกันดรีม เด็กหนุ่มขี้อายที่อยากเชื่อมผู้คนเข้าหากัน นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ผลักดันแนวคิดเรื่องความสุข หากกลับซ่อนความทุกข์ตรมไว้โดยไม่มีใครรู้ – จนกระทั่งเขาจากไป

          การจากไปอย่างมีเงื่อนงำที่ทำให้ใครหลายคนตั้งข้อสงสัย รวมทั้งแองเจิล อูหยาง (Angel Au-Yeung) และเดวิด จีนส์ (David Jeans) สื่อมวลชนคนละสายข่าวที่ร่วมกันสืบสวนหาความจริงในคดีนี้ และรวบรวมเป็น Wonder Boy: Tony Hseih, Zappos, and the Myth of Happiness in Silicon Valley ออกมา ด้วยเจตนาที่ต่างกันผ่านหนึ่งเรื่องราว เดวิดที่มาจากสายข่าวสืบสวนอาชญากรรมต้องการทำให้ความจริงปรากฏและบันทึกข้อเท็จจริง ในขณะที่แองเจิล นักเขียนด้านเศรษฐกิจสังคมต้องการให้เห็นความเป็นมนุษย์ในเราทุกคนไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ ร่ำรวย (ดูเหมือน) สำเร็จเพียงใด และชีวิตจริงไม่อาจมีเพียงความสุขด้านเดียว – ไม่ว่าคุณจะพยายาม ‘สร้าง’ มันขึ้นมาแค่ไหนก็ตาม

          “ความสุข”

          คีย์เวิร์ดของโทนี เช คุณค่าทางธุรกิจที่เขาหวังอยากส่งมอบ วัฒนธรรมองค์กรที่เขาหมายมั่นปั้นมือ และแบรนด์ดิ้งประจำตัวของเขาเอง จากการเขียนหนังสือ Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose อัตชีวประวัติเล่มแรกของเขาที่ว่าด้วยเส้นทางการก่อร่างสร้างธุรกิจพลิกวงการอีคอมเมิร์ซอย่างแซปโปสขึ้นมา ธุรกิจที่ผู้ประกอบการในซิลิคอนวัลเลย์ยกให้เป็นการปฏิวัติวงการ ไม่ใช่แค่วิธีการส่งมอบสินค้า (เช่น รับก่อนลองทีหลัง คืนได้หากไม่พอใจ ส่งไวพร้อมใช้แน่นอน! ฯลฯ) หากยังรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการดูแลพนักงานให้มีความสุขที่สุด เพื่อที่พวกเขาจะทำงานได้ดีที่สุด แล้วลูกค้าของคุณก็จะแฮปปี้ที่สุด

          เพื่ออะไรน่ะหรือ? เพื่อที่ยอดขายคุณจะได้พุ่งสุดๆ ไปเลยไงเล่า

          แซปโปสประสบความสำเร็จอย่างมาก การันตีจากมูลค่าทางธุรกิจที่ Amazon ซื้อต่อไปในราคากว่าพันล้านเหรียญ ตัวเลขที่ยิ่งตอกย้ำความเชื่อในทฤษฎีแห่งความสุขของเขายิ่งไปอีกว่าชีวิตก็เหมือนธุรกิจ กล่าวคือคุณใส่สิ่งใดเข้าไป คุณย่อมได้รับสิ่งนั้นออกมา

          ซึ่งก็จริง

          อยู่บ้าง

          หากในชีวิตจริง ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คุณใส่เข้าไปเท่านั้น หากยังผสมปนเป เปรอะเปื้อน ไปด้วยสารพัดวัตถุดิบทั้งที่คุณใส่ และไม่ได้ใส่เข้าไป สิ่งที่คนอื่นแอบหยอดลงไป สังคมที่ยัดเยียดความคิด ความเชื่อ ความปรารถนาบางอย่างเข้าไป … อาจเป็นความฝัน ความกระหาย ความทะยานอยาก … ไม่ว่าคุณรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

          จนถึงจุดหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่ใช่ (ทั้งหมดของ) สิ่งที่โทนีคิดว่าเขาใส่เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นทัวร์เปิดตัวหนังสือ Delivering Happiness ที่ฉากหน้าและเนื้อหาบนเวทีเคลือบด้วยความสุขแสนหวาน หากน้ำตาลกรวดนั้นกลับเป็นดั่งอาหารแปรรูป แปลกปลอม และหากกินมากไปย่อมทำให้เกิดการระคายเคืองท้องและเป็นพิษต่อสุขภาพ หรือแม้แต่ Downtown Project เมกะโปรเจกต์แห่งลาสเวกัส ที่เรื่องเล่าของโทนี เช ได้ปลุกระดมให้ผู้คนมุ่งหวังจะเป็นผู้ประกอบการออกตามล่าหา ‘ความสุข’ ที่โทนีพูดถึง หากกลับตามมาด้วยอัตราธุรกิจที่ปิดตัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคดีการฆ่าตัวตายทั้งที่นับได้และไม่อาจเปิดเผย

          อาการติดเหล้าเมายาของโทนีเองก็เป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทำคนรอบตัวส่ายหัว และตัวเขาก็สับสนในตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต และยิ่งคิดหนีด้วยสารเติมความสุขชั่วคราวเหล่านี้มากเท่าไร ความทุกข์ระยะยาวก็ดูจะตามมาเป็นเงามากขึ้นเท่านั้น ความย้อนแย้งที่แฝงอยู่ในชีวิตเสมอมาดูจะปรากฏชัดเป็นรูปธรรมในช่วงปีท้ายๆ ของเขา ที่อาศัยอยู่ในคฤหาสน์หรูหรา เป็นภาพฝันของคนภายนอกเมื่อมองเข้ามา หากภายในกลับเต็มไปด้วยสิ่งโสมม กองปฏิกูล (จริงๆ) ขยะเกลื่อนกลาด เศษอาหารที่ไม่มีใครจัดการ เพราะเจ้าบ้านมัวง่วนอยู่กับความสับสนในหัวและขุ่นมัวในจิตใจเกินกว่าจะสะสางความเลอะเทอะตรงหน้าได้

          ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านหลังนั้น ไม่มีใครรู้จนกระทั่งวันที่ไฟลุกไหม้ จนผู้คนรู้ข่าวว่าชายผู้ติดอยู่ในห้องชั้นบนที่กำลังลุกด้วยเพลิงไฟคือ โท-นี-เช … โทนีที่พยายามวิ่งหนีเพลิงไฟคล้ายหมึกยักษ์ใหญ่ที่ออกไล่ล่าเขา … โทนีที่พยายามปีนป่ายไปบนผนังสีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยเขาเลย… 

          ทำไมไม่มีใครช่วยโทนี?

          หนึ่งในหลายคำถามที่สองนักเขียนพยายามหาคำตอบ ไม่ใช่แค่ช่วยในวาระสุดท้ายขณะถูกไฟคลอกกาย หากช่วยในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ช่วยจากอาการติดเหล้าเมายา ซึมเศร้าทั้งที่รายล้อมไปด้วยผู้คน

          อาจเดาคำตอบกันไปได้สารพัดว่าคนที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างเขาย่อมเต็มไปด้วยผู้ “ร่วมสุข” ยากจะหาคนร่วมทุกข์ ซึ่งก็อาจเป็นได้ ในวันที่เขาจัดงานเลี้ยง (40 คืนต่อกัน!) ทั้งคฤหาสน์อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยผู้คน แต่หลังจากนั้นมีโทนีเท่านั้นที่รู้ว่าบ้านเลอะเทอะ ซึมเซาเพียงใด แม้เจตนาในการเขียนหนังสือเล่มนี้จะต่างกัน แต่จุดร่วมของทั้งแองเจิลและเดวิดคือการเขียนให้ ‘ไม่มีพระเอกหรือตัวร้าย’ ตามที่ชีวิตนั้นเป็นอย่างแท้จริง รวมทั้งแอนดี้ พี่ชายของโทนีที่เคยสนิทกันในวัยเด็ก ก่อนจะหายไปแล้วกลับมาตอนที่เขามี ‘ทุกสิ่ง’ แล้ว แต่เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร ชีวิตของโทนีคงไม่ต่างจากเราทั้งหลายที่เราไม่อาจตัดสินใครได้ด้วยฉากเดียว  หรือจากปากคำของใครคนหนึ่ง 

          Wonder Boy เป็นหนังสือที่อ่านได้อรรถรสคล้ายอาหารฟิวชันคละเคล้าระหว่างงานสารคดีสืบสวนสอบสวน และวิธีการเล่าที่ทั้งตัวละครและพล็อตทวิสต์ราวกับฟิกชัน อีกทั้งในเชิงเนื้อหาสาระก็ยังลึกซึ้งไม่น้อยไปกว่ากัน นี่ไม่ใช่แค่บันทึกชีวิตของโทนี เช หรือภาคอวสานของ Delivering Happiness อัตชีวประวัติของเขาเอง หากยังเป็นหนังสือที่ฉายให้เห็นถึงสภาวะซึมเศร้าของยุคสมัย สุขภาวะทางจิตใจที่เปราะบางในความแกร่งกระด้างฟาดฟันของโลกทุนนิยม

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช บุคคลที่เรียกได้ว่าความเก่งและฉลาดนั้นหาตัวจับยาก หากความป่วยไข้ของเขากลับเป็นสากล เป็นหนึ่งในร้อยละ 49 ของผู้ประกอบการที่ยอมรับว่าประสบปัญหาทางจิตใจ และถูกวินิจฉัยด้วยโรคซึมเศร้าซึ่งคิดเป็นอัตราที่มากถึงสองเท่าของผู้ที่ไม่ได้ประกอบกิจการ

          ใช่ นี่คือเรื่องราวของโทนี เช เอเชียนกายผู้ปฏิวัติวงการเทคและวัฒนธรรมธุรกิจไปตลอดกาล สามปีแล้วที่โทนี เชจากไป หากผลกระทบที่เขาสร้างไว้ในชีวิตสี่สิบหกปียังคงอยู่ทั้งในเชิงธุรกิจและชีวิตที่บอกใบ้สัจธรรมกับเราว่าเมื่อเราปักหมุดให้ความสุขที่ไม่คงที่เป็นเป้าหมาย ก็กลายเป็นว่าเราใช้ชีวิตไขว่คว้าตามล่าฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้ และพลาดความหมายระหว่างทางอันเกิดจากทุกข์คลุกเคล้าสุขปะปนไปอย่างไม่อาจเลี่ยงได้เลย 

Tags: แนะนำหนังสือ

พชร สูงเด่น เรื่อง

อ่าน เขียน เรียนรู้ตลอดชีวิต

Related Posts

‘สุภาพบุรุษในมอสโก’ ตามติดชีวิตผู้ดีตกยากยุคปฏิวัติรัสเซีย
Book of Commons

‘สุภาพบุรุษในมอสโก’ ตามติดชีวิตผู้ดีตกยากยุคปฏิวัติรัสเซีย

November 28, 2023
0
The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน
Book of Commons

The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน

November 21, 2023
0
ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ
Book of Commons

ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ

November 7, 2023
0

Related Posts

‘สุภาพบุรุษในมอสโก’ ตามติดชีวิตผู้ดีตกยากยุคปฏิวัติรัสเซีย
Book of Commons

‘สุภาพบุรุษในมอสโก’ ตามติดชีวิตผู้ดีตกยากยุคปฏิวัติรัสเซีย

November 28, 2023
0
The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน
Book of Commons

The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน

November 21, 2023
0
ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ
Book of Commons

ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ

November 7, 2023
0
  • ABOUT
  • SITE MAP
  • PRIVACY POLICY
  • CONTACT
  • ABOUT
  • SITE MAP
  • PRIVACY POLICY
  • CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

  • Read
  • Podcast
  • Video
  • UNCOMMON
  • Book

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences