ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในโลกการเรียนรู้?

415 views
June 10, 2021

          วีดิทัศน์ เรื่อง “ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในโลกการเรียนรู้?” บรรยายโดย กิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2021 หัวข้อ “Library and Public Space for Learning”

          นำเสนอชุดข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยชี้วัดด้านการเรียนรู้จาก 5 แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย UNDP, World Bank, WEF, IMD, OECD นำมาเรียบเรียงเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ของคนไทยผ่านการพัฒนาคุณภาพคน ได้แก่

1. ด้านการพัฒนามนุษย์

          1.1 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ Human Development Index: HDI ปี 2562 ไทยได้อันดับที่ 79 จาก 189 ประเทศ และมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

          1.2 ดัชนีทุนมนุษย์ Human Capital Index: HCI ปี 2562 ไทยได้ค่าดัชนีที่ 0.61 นั่นคือเด็กที่เกิดในวันนี้จะมีศักยภาพเมื่อกลายเป็นแรงงานในอีก 18 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 61% ของศักยภาพที่เขาสามารถเป็นได้จากสภาพแวดล้อมทางสุขภาพและการศึกษาของประเทศ โดยค่าดัชนีทุนมนุษย์ของไทยที่น้อย สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษาที่ค่อนข้างต่ำ

2. ด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน

          2.1 ดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก Global Competitiveness Index: GCI ปี 2562 ไทยได้อันดับที่ 40 จาก 141 ประเทศ โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นแต่อันดับลดลง ซึ่งไทยได้อันดับดีขึ้นในด้านสาธารณสุข ขณะที่ข้อมูลสถิติด้านคุณภาพการศึกษาและทักษะกลับลดลง

          2.2 ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลระดับโลก (World Digital Competitiveness) ปี 2563 ไทยได้อันดับที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศ มีพัฒนาการดีขึ้นในมิติด้านเทคโนโลยี ขณะที่มิติความพร้อมสำหรับอนาคต ไทยได้อันดับที่ 45 จาก 63 ประเทศ ตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย

3. ด้านการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ มีดัชนีสำคัญ 2 ตัวที่ต้องวิเคราะห์ประกอบกัน คือ

          3.1 ดัชนีการศึกษา Education index ดัชนีการจัดอันดับประเทศในด้านการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ HDI และสะท้อนผลชี้วัดในเชิงปริมาณ โดยจำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 6.1 เป็น 7.9 ปี ในรอบ 20 ปี  

          3.2 โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล Programme for International Student Assessment ซึ่งเป็นการวัดทักษะการเรียนรู้ และสมรรถนะเพื่อแก้ปัญหาในบริบทของชีวิตจริง โดยปี 2543-2561 คะแนนสอบ PISA ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยของโลกมาโดยตลอด สอดคล้องกับภาพรวมดัชนีด้านการศึกษาของไทยที่ยังเป็นจุดอ่อน ซึ่งสัมพันธ์กับผลประเมินด้านทัศนคติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

          ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศไทยในรอบ 20 ปี อยู่ในระดับปานกลาง ภาพรวมของ ความเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ประเด็นที่น่ากังวลและควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพัฒนา ได้แก่ ด้านคุณภาพการศึกษา ทักษะประชากรรวมทั้งการสร้างเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ เพราะแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลต่อค่าดัชนีและอันดับในภาพรวมมากนัก แต่ในประเด็นดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อปิดจุดอ่อน ไม่อย่างนั้นในท้ายที่สุดไทยอาจไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควรท่ามกลางบริบทของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ต้องให้ความสำคัญ

RELATED POST

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก