Library Management in Disruptive Times: Skill and Knowledge for an Uncertain Future

167 views
February 15, 2018

          วีดิทัศน์ Library Management in Disruptive Times: Skill and Knowledge for an Uncertain Future บรรยายโดย สตีฟ โอคอนเนอร์ (Steve O’Connor) ศาสตราจารย์วุฒิคุณ มหาวิทยาลัยชาร์ลส สจวร์ต และบรรณาธิการวารสาร Library Management บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2561 (TK Forum 2018) หัวข้อ “Creating Better Library: The Unfinished Knowledge”

          การแทรกแซงของเทคโนโลยี (Digital Disruption) ซึ่งเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะยิ่งเกิดในอัตราที่เร็วขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ย่อมส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ที่กำลังเติบโต รวมถึงห้องสมุด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีการคาดการณ์ว่า 65% ของเด็กที่กำลังเข้าโรงเรียนอนุบาลในวันนี้ สุดท้ายแล้วจะต้องประกอบอาชีพการงานที่ไม่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับห้องสมุดการวางแผนโดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบไม่ทันตั้งตัว

          สตีฟ โอคอนเนอร์ ยกตัวอย่างธุรกิจหลายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงของเทคโนโลยี อาทิ คอมพิวเตอร์เมนเฟรมขนาดใหญ่ของ IBM กลายเป็นสิ่งล้าสมัย และถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รวมถึงแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน โมเดลธุรกิจของโกดัก (Kodak) ซึ่งล้มเหลวเพราะขาดการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบดิจิทัล ร้านหนังสือทั่วโลกที่กำลังเผชิญความท้าทายจากการเกิดขึ้นของ Amazon และคลังข้อมูลดิจิทัล

          ข้อเขียนของริชาร์ด วัตสัน (Richard Watson) ได้วิเคราะห์ถึงสิ่งที่จะสูญสิ้นไปในปี 2018 ได้แก่ โทรศัพท์มือถือแบล็คเบอร์รี (BlackBerry) ร้านเช่าวิดีโอ ไปรษณีย์ และห้องสมุด กระนั้นก็ตามปัจจุบันหลายสิ่งก็ยังมิได้ล้มหายตายจากไปดังที่เขาวิเคราะห์ แต่ก็ซบเซาลงไปมาก ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ห้องสมุดจะต้องทบทวนตัวเองว่าจะสูญหายไปหรือไม่ หรือจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งใด และจะทำให้ห้องสมุดยังคงเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนได้อย่างไร

          หน้าตาของห้องสมุดเมื่อ 10 ปีที่แล้วย่อมแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากห้องสมุดในปัจจุบัน และเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์จะคาดการณ์ได้ตรงกับสภาพที่เกิดขึ้นจริง ทว่าบทบาทของบรรณารักษ์คือการจินตนาการ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแนวทางในอดีตที่ผ่านมา แต่สามารถกำหนดได้ว่าอยากจะให้อนาคตของห้องสมุดเป็นอย่างไร แล้ววางแผนเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายนั้น การวางแผนระยะยาวถึง 20 ปี เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่หากเป็นอนาคตในระยะที่ใกล้เข้ามา 3-5 ปี ก็เป็นเรื่องท้าทายที่น่าทดลอง

          หากห้องสมุดมองแต่เพียงสิ่งที่สามารถทำได้ในวันนี้ ก็อาจจะทำให้พลาดสิ่งที่ไม่ได้คำนึงถึงอย่างน่าเสียดาย เช่น หากห้องสมุดยึดติดกับความชำนาญในการจัดทำรายการหนังสือ (catalogue) อาจไม่ได้มองถึงเรื่อง Metadata หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือลืมมองว่ากูเกิลได้เข้ามาเป็นคู่แข่งเรื่องการสืบค้นและอ้างอิงข้อมูล

          มีการทำนายว่าในปี 2020 เรื่องการถือครองลิขสิทธิ์จะหมดไป ดังจะเห็นได้ว่างานเขียนหลายชิ้นระบุสัญลักษณ์ CC (Creative Common) เพื่อแสดงถึงการอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานของตนไปใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ต้องทำสัญญากับเจ้าของผลงาน เพียงแต่มีการอ้างอิงที่มาของเนื้อหาเท่านั้น โมเดลธุรกิจของห้องสมุดสมัยก่อนคือการซื้อหนังสือมาจากสำนักพิมพ์ แต่ในบริบทปัจจุบันห้องสมุดสามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ โดยนำเนื้อหาจากผู้เขียนเผยแพร่โดยตรงให้กับผู้อ่าน

          สตีฟ โอคอนเนอร์ ยกตัวอย่างคำว่า GLAM (Gallery Library Archives and Museum) ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับห้องสมุดอนาคต ซึ่งในอังกฤษและอเมริกานิยมใช้คำนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แหล่งเรียนรู้มีแนวโน้มที่จะเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมทั้งหอศิลป์ ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการทุกด้านของผู้ใช้บริการ สามารถทำงานข้ามพื้นที่กันได้ เพราะฉะนั้นห้องสมุดในอนาคตจะมีบทบาทกว้างขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ห้องสมุดจะเป็นผู้นำในการปฏิวัติทางดิจิทัล จะต้องมีการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และมีผู้ที่มีประสบการณ์ที่หลากหลาย

          แม้จะอยู่ในยุคของการแทรกแซงทางเทคโนโลยี การพึ่งพาลูกค้าก็ยังคงเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญขององค์กร ห้องสมุดจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการของผู้ใช้บริการ ผู้คนในยุคมิลเลนเนียมย่อมมีมุมมองต่อห้องสมุดแตกต่างจากคนรุ่นเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์หรือเบบี้บูมเมอร์ หากห้องสมุดมองว่าองค์กรของตนรู้ทุกอย่างแล้ว และลืมเรื่องของผู้ใช้บริการไป วันหนึ่งห้องสมุดก็จะค่อยๆ สูญหายไป ดังที่นักวิเคราะห์หลายท่านทำนายไว้

RELATED POST

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก