Understanding the Digital Generation: Strategies for Teaching Digital Learners in Today’s Classrooms

45 views
December 7, 2017
Understanding the Digital Generation: Strategies for Teaching Digital Learners in Today’s Classrooms

เอียน จูคส์ ได้นำเสนอข้อค้นพบสำคัญว่าด้วยการเรียนรู้ของเด็กยุคดิจิทัลว่า โลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนกลับด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาเริ่มมีการทำงานของระบบประสาท การเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนคนรุ่นเรา จึงเป็นเรื่องท้าทายคนรุ่นเก่าที่จะทำความเข้าใจเด็กรุ่นนี้ และเป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่การเรียนการสอนด้วยวิธีเดิมๆ จะถูกนำมาใช้แล้วให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี เราจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีการวัดและประเมินผล และการวางยุทธศาสตร์เพื่อชนยุคดิจิทัล

นักการศึกษาสมัยก่อนนิยมเขียนตำราที่เน้นข้อความ และใช้ภาพเพื่อเสริมข้อความบ้าง ในขณะที่คนรุ่นใหม่มีความถนัดในการรับรู้และทำเข้าใจด้วยภาพ แผนภูมิ กราฟ โดยมีข้อความเป็นส่วนประกอบในการอธิบาย มีผลการวิจัยยืนยันว่า ผู้เรียนกว่า 65% สามารถจดจำภาพที่ได้เห็นแค่เพียง 10 วินาที แม้เวลาผ่านไป 1 ปีแล้วก็ตาม ส่วนการรับรู้ด้วยคำพูดและข้อความ ถูกจดจำได้เพียง 10% เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะสมองถูกออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้โดยการมองเห็น โดยสามารถแปรผลภาพได้เร็วกว่าข้อความถึง 60,000 เท่า และสามารถจัดเก็บความทรงจำได้ถึง 72 GB ต่อวินาที

เทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นโลกที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความทรงจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อประเภทโสตทัศน์ นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการขยายความแหลมคมทางความคิดของคนรุ่นใหม่ เพราะเขาถูกบ่มเพาะให้สามารถใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริง และสามารถควบคุมความเป็นไปของมันได้

ยังมีความจริงที่น่าสนใจอีกว่า เด็กรุ่นใหม่มีวิธีการใช้สายตาในการอ่านหนังสือต่างจากคนรุ่นก่อน โดยคนรุ่นก่อนมีรูปแบบการเคลื่อนไหวของสายตาแบบ Z-pattern จากซ้ายไปขวาซิกแซกไปมาด้วยความถี่ตามความละเอียดในการอ่าน ส่วนคนรุ่นใหม่อ่านแบบ F-pattern คือเริ่มจากการอ่านบนลงล่าง แล้วค่อยอ่านตามแนวนอน ซึ่งระยะการกวาดสายตาในแนวนอนนี้จะสั้นลงเรื่อยๆ ตามความยาวของเนื้อหา ทำให้พื้นที่ด้านขวาล่างของหน้ากระดาษมักไม่ค่อยอยู่ในความรับรู้ของผู้อ่าน กลยุทธ์การทำหนังสือหรือตำราสำหรับคนรุ่นดิจิทัล จึงควรผสมผสานภาพในการเล่าเรื่องราว ใช้สีสันเพื่อดึงดูดความสนใจ อาจใช้ภาพให้ให้อารณ์เคลื่อนไหวช่วยนำสายตาไปสู่เนื้อหาที่สำคัญ และใช้เส้นขวางแบ่งหน้าเนื้อหาเพื่อพักสายตาเป็นระยะๆ

วัฒนธรรมของคนยุคดิจิทัลจะให้ความหมายอย่างยิ่งกับการได้รับการยอมรับ การได้รับรางวัล หรือการเป็นที่สนใจ เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่แตกต่างจากผู้อื่น โดยมีสื่อเทคโนโลยีเป็นอาวุธ เช่น คนที่เป็นเลิศในการเล่นเกมแล้วแชร์ให้กลุ่มเพื่อนได้รับรู้ก็จะได้รับการยอมรับหรือการชมเชยเป็นรางวัล

มีข้อสังเกตว่า เกมที่ดีจะต้องให้ผู้เล่นมีโอกาสได้เลือกหนทางต่างๆ อย่างอิสระ รวมทั้งมีการฟีดแบ็คกลับอย่างรวดเร็วสม่ำเสมอจึงจะเป็นเกมที่สนุกและดึงดูดผู้เล่นไว้ได้ หากนำหลักการของเกมมามองการเรียนการสอนทุกวันนี้จะพบว่า การรอจนสิ้นเทอมแล้วจึงให้ฟีดแบ็คผู้เรียนโดยการสอบย่อมไม่ใช่วิธีที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากพัฒนาตัวเอง แต่ครูจะต้องให้ผลตอบแทนกับเด็กซ้ำๆ ต่อเนื่อง ซึ่งก็อาจทำได้หลายวิธี เช่นการสื่อสารด้วยสมาร์ทโฟน การใช้เสียงหรือดนตรีเพื่อเพิ่มจังหวะการเรียนรู้และเร้าความสร้างสรรค์ใหม่ๆ หรือการสอดแทรกกิจกรรมสั้นๆ ให้นักเรียนได้พูดคุยและมีส่วนร่วม

มีความชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเด็กในศตวรรษที่ 21 ว่า เด็กยุคนี้มักอยู่ในโลกของตัวเองและขาดทักษะทางสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขาติดต่อกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลาในรูปแบบที่แตกต่างจากคนยุคเก่า เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือแม้แต่ในเกมออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม มีอำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆ และสามารถเชื่อมโยงกับตัวตนของเขาได้ แตกต่างจากโลกในโรงเรียนซึ่งถูกควบคุมโดยครู เด็กได้แต่นั่งเงียบๆ ฟังครูสอนเพียงอย่างเดียว เป็นโลกที่ไม่มีรูปภาพ ควบคุมไม่ได้ น่าเบื่อ และแปลกแยก ประสบการณ์และศักยภาพของเด็กยุคดิจิทัลกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ไม่ว่าจะเป็นทักษะเชิงสังคมในโลกเสมือนจริง หรือความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาในเกมที่สลับซับซ้อน

เอียน จูคส์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างเฉียบคมว่า เราทุกคนล้วนมีจุดบอดในการรับรู้ (Blindness Perspective) คือมีสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นแม้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่อย่างชัดเจน ในขณะที่เรากำลังเพ่งจ้องอยู่กับสิ่งสิ่งอื่น ผู้เรียนทุกวันนี้เขามองโลกแตกต่างออกไปจากเราจริงๆ ถ้าเรายังมัวแต่เอาเป็นเอาตายกับหลักสูตร การสอบ หรือการเลื่อนชั้น เราอาจจะพลาดที่จะมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญซึ่งกำลังเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัลก็เป็นได้

การบรรยาย Understanding the Digital Generation: Strategies for Teaching Digital Learners in Today’s Classrooms โดย เอียน จูคส์ บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2557 (TK Forum 2014) ของสถาบันอุทยานการเรียนรู้

ดำเนินรายการ

ติดตามฟัง TK PODCAST ได้ที่

RELATED POST

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก