The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก
Book of Commons
  • Book of Commons

“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก

550 views

 6 mins

2 MINS

February 21, 2023

Last updated - March 24, 2023

          ที่ใดมีรัก…

          เรื่องรักไม่เคยล้าสมัย…

          ไม่ว่าจะในตอนนี้ ในหรืออีกสองพันปีข้างหน้า หรือเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้วย้อนกลับไป…

          หลักฐานชิ้นแรกคือบทความนี้ อย่างไม่ต้องสงสัย

          หลักฐานชิ้นต่อไปก็คืองานเขียนที่กำลังจะชวนให้คุณลองอ่านด้วยกันในเดือนแห่งความรัก หนึ่งในงานชิ้นเอกของปราชญ์ชาวกรีกโบราณคนสำคัญผู้ส่งอิทธิพลต่อปวงปรัชญาหลังจากนั้น

          “ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” โดยเพลโต

          ซิมโพเซียม (Symposium) คืองานเขียนชิ้นสำคัญที่ถ่ายทอดวิวาทะว่าด้วยความรักของชายทั้งเจ็ด (เฟดรัส พอซาเนียส อีริซิมาคัส อริสโตฟาเนส อกาธอน โซเครตีส และอัลซิไบอาดีส) ในรูปแบบบันทึกการสนทนาจากวงประชุมดื่ม ถูกเล่าซ้ำโดย “อพอลโลโดรัส” ศิษย์คนสำคัญของโซเครตีสซึ่งได้รับรู้เรื่องราวของวงสนทนานี้มาจากอริสโตเดมัสอีกต่อหนึ่ง เรียกได้ว่างานเขียนชิ้นนี้ของเพลโตคือบทสนทนาว่าด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับความรัก (ที่จะว่าด้วยบทสนทนาอีกชั้นหนึ่ง เพราะโซเครตีสผู้เป็นตัวเอกของเรื่องเล่าที่ว่าของอพอลโลโดรัส ก็เลือกกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการอ้างถึงสิ่งที่ได้จากการ “สังสันทนา” กับผู้อื่นมาเหมือนกัน) 

          แน่ล่ะ ใครๆ ก็พูดเรื่องรักกันทั้งนั้น

          ลองล้อมวงเข้ามาแล้วเงี่ยหูฟัง ว่าเมื่อเป็นเรื่องความรัก พวกเขาจากเมื่อสองพันกว่าปีก่อนหน้านี้จะพูด “อะไร”

รักหลากนิยามในวงประชุมดื่ม

          เมื่อเห็นตรงกันว่าในบรรดาเทพเจ้ามากมาย เทพเจ้าแห่งความรักผู้ยิ่งใหญ่มักไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงเท่าที่ควร “วงประชุมดื่ม” หรือวงเอกเขนกเสวนาอันรื่นรมย์ (บ้างก็มีเครื่องดื่มเลิศรสให้จิบเคล้าเสริมความสำราญ) ของเหล่าชายมากปัญญา จึงเริ่มต้นขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะกล่าวสุนทรพจน์สรรเสริญเทพเจ้าแห่งความรักเวียนต่อกันไปเป็นวงกลม (Symposium)  

           “หลักนำที่ชี้ทางให้กับมนุษย์ผู้ต้องการมีชีวิตอันประเสริฐนั้นมิใช่ชาติตระกูล เกียรติยศ ความมั่งคั่ง หรือสิ่งจูงใจอื่นใด หากคือความรัก”

          สำหรับเฟดรัสแล้ว เทพเจ้าแห่งความรักซึ่งเขาถือว่าเป็นเทพผู้อาวุโสที่สุดในบรรดาเทพทั้งปวงควรค่าแก่การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ด้วยความรักคือกำเนิดแห่งสิ่งดีงาม คือพลังอันยิ่งใหญ่ที่ผลักดันให้คนละอายต่อบาปและภาคภูมิในสิ่งดีงาม เปลี่ยนคนขี้ขลาดให้เป็นคนกล้า เปลี่ยนคนเห็นแก่ตนให้เป็นคนเสียสละ ด้วยว่าไม่มีผู้ตกในห้วงรัก คนใดอยากแสดงด้านเลวร้ายให้คนที่ตนรักผิดหวัง แม้เฟดรัสจะไม่ได้เปิดเผยอีกด้านหนึ่งของความรักอาจนำมาซึ่งการกระทำเรื่องเลวร้ายเพื่อบรรลุเป้าหมายในนามของความรักไปอย่างน่าเสียดาย

          “ถ้าหากความรักมีอยู่เพียงประเภทเดียวก็ถือว่าสิ่งที่ท่านกล่าวนั้นเพียงพอแล้ว แต่ความรักมีมากกว่าหนึ่งประเภท ดังนั้น เราควรเริ่มต้นด้วยการตัดสินว่าความรักประเภทใดที่เราควรสรรเสริญ”

          แม้จะเห็นพ้องว่าคำสรรเสริญของเฟดรัสนั้นน่าฟัง พอซาเนียสกลับกล่าวว่าไม่ใช่ทุกความรักที่ควรได้รับการสรรเสริญ พร้อมเสนอว่ามีความรักอย่างสามัญระหว่างชายหญิงขับดันด้วยความต้องการทางกายมากกว่าทางใจ เสื่อมคลายเปลี่ยนผันได้ง่าย และความรักอันสูงส่งซึ่งเทิดปัญญาและความกล้าหาญให้เป็นหนึ่ง ทั้งจะอยู่ยั้งยืนยง ประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นคือ สำหรับพอซาเนียสแล้ว ความรักอันสูงส่งดังคำกล่าวนั้นคือความรักระหว่างบุรุษเพศด้วยกัน แม้สังคมอื่นใดจะตัดสินว่ารักของคนหนุ่มกับคนหนุ่มเป็นความเลวร้ายหรือผิดกฎหมายก็ตาม ในสายตาของคนผู้ตกอยู่ ณ ห้วงแห่งรักอีกสองพันปีให้หลัง นิยามรักเช่นนี้ก็ขันขื่นไม่น้อย เพราะความรักระหว่างชายหญิงหรือหญิงด้วยกันกลับเป็นเพียงรักสามัญไม่ควรค่าแก่การสรรเสริญไปเสียฉิบ

          “เมื่อความร้อนและความเย็น ความเปียกและความแห้งดำรงไว้ซึ่งความรักอันกลมกลืนระหว่างกัน ทั้งผสมผสานกันอย่างเหมาะสมสอดคล้อง ก็จะส่งให้มนุษย์และสัตว์ รวมทั้งพืชพันธุ์มีสุขภาพดีและสมบูรณ์ปราศจากโรคภัย”

          ไม่ใช่แค่ความมืดมิดที่เลวร้าย แต่แสงอาทิตย์ที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจแผดเผา วงประชุมดื่มรักนี้ไม่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะหนึ่งคำสรรเสริญ หนึ่งคำนิยามต่อความรักจะถูกท้าทาย และแตกกอต่อความคิดไปชั้นแล้วชั้นเล่า ดังที่อีริซิมาคัสเลือกเติมเต็มคำอธิบายเรื่องสองร่างในความรักของพอซาเนียสให้กระจ่างชัดขึ้นด้วยมุมมองของแพทย์ว่า รักทั้งสองแบบ – ทั้งปรารถนาอันสามัญและรักแท้ที่สูงส่ง – นั้นล้วนเป็นธาตุอันแตกต่างที่ต้องสอดประสานดำเนินเคียงกันไปให้สมดุล 

          “แต่เดิมนั้นมนุษย์มิได้มีธรรมชาติเช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งมิได้แบ่งเป็นสองเพศเช่นทุกวันนี้ ทว่า แต่เดิมนั้นพวกเขามีสามเพศ คือเพศชาย เพศหญิง และเพศที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเพศทั้งสอง”

          หลายคนอาจเคยได้ยินตำนานมนุษย์ผู้ถูกทวยเทพลงโทษแบ่งร่างเป็นสอง ให้ต้องตามหาอีกครึ่งที่หายไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า วิวาทะของอริสโตฟาเนสคือฉบับเต็มที่คาดไม่ถึงของเรื่องราวโรแมนติกนั้น แตกต่างกันที่มนุษย์ผู้อาจหาญท้าทายเทพเจ้าจนถูกแบ่งเป็นสองส่วน จักรวาลของเขานั้นช่างหลากหลายในความรักและธรรมชาติของตน หญิงจึงอาจไม่ได้คู่กับชายเสมอไป แต่หญิงหญิง หรือชายชาย (หรือสุดแต่ใครจะนิยาม) ที่วิ่งเข้าประกบกันแล้วได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่าความรักนั้นเป็นธรรมชาติอันบริบูรณ์ ก่อนที่อกาธอน ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนที่ห้าจะกล่าวสรรเสริญเทพเจ้าแห่งความรักในฐานะเทพแห่งความอ่อนเยาว์ ความอ่อนโยน ความกล้าหาญ และสิ่งดีงามทั้งปวง 

          “ทรงปรากฏอยู่ในถ้อยคำและการงานทั้งปวง ทรงเป็นความหวัง เป็นผู้ช่วยให้พ้นจากความกลัว เป็นผู้นำทาง เป็นสหาย เป็นผู้ช่วยเหลือ เป็นความรุ่งโรจน์ของปวงเทพเจ้าและมวลมนุษย์”

“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก

รักในความรู้ เพื่อจะรู้ในความรัก

          สุนทรพจน์ว่าด้วยรักทั้งห้าผ่านพ้นไป กลวิธีการเขียนของเพลโตก็เริ่มพาเราไปสัมผัสประเด็นปรัชญาและความท้าทายซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อการวิวาทะดำเนินมาถึงลำดับของโซเครตีส 

          แทนที่จะสรรเสริญ โซเครตีสกลับเริ่มต้นตั้งคำถามไล่ต้อนอกาธอนทีละคำถามให้จนมุม เพื่อสอบทาน “ความจริง” ของทั้งคำสรรเสริญต่อความรักและความรักในตัวมันเอง ทั้งยังย้ำด้วยว่าการสรรเสริญเทิดทูนความรักคงเป็นไปอย่างไร้ความหมาย หากเราทั้งหมดต่างไม่ได้รู้หรือเข้าใจจริงๆ ว่า คุณลักษณะที่แท้ของความรักคืออะไร และมันมีอยู่เพื่อสิ่งใด…

          “ท่านจึงไม่ควรยืนยันว่าสิ่งที่ไร้ความสวยงามต้องเป็นสิ่งที่อัปลักษณ์ หรือสิ่งที่ไม่ดีย่อมเป็นสิ่งชั่วร้าย หรือมีความเห็นว่าในเมื่อความรักมิได้เป็นสิ่งสวยงามหรือมิได้เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งอัปลักษณ์และชั่วร้าย ด้วยว่าความรักอยู่ระหว่างกึ่งกลางระหว่างสิ่งทั้งสอง”

          ขณะที่ชายทั้งหมดในวงประชุมดื่มล้วนสรรเสริญความรักในฐานะเทพเจ้า โซเครตีสกลับเอ่ยคำเฉลยที่เขาเคยได้ฟังมาจากสตรีทรงภูมินามว่า “ไดโอติมา” เธอกล่าวยืนยันว่าความรักหาใช่สิ่งสวยงามหรือสิ่งอัปลักษณ์ หากอยู่ระหว่างสิ่งทั้งสอง ทั้งมิใช่เทพเจ้าหรือมนุษย์อย่างที่ใครเข้าใจ หากความรักเป็นภูตผู้สถิตอยู่กึ่งกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์สามัญ เป็นผู้อยู่กึ่งกลางระหว่างอวิชชากับความรู้ หรือกล่าวในอีกทาง ความรักย่อมก็คือนักปราชญ์หรือผู้รักในความรู้ ผู้แสวงหาความงามจริงแท้และความเป็นอมตะ…

          “ทว่าช่วยไม่ได้ที่ข้าพเจ้าจะประหลาดใจในความรู้จักละเว้นและการควบคุมตัวเองโดยธรรมชาติ รวมทั้งความเป็นสุภาพบุรุษของเขา ข้าพเจ้าไม่เคยคาดคิดว่าตัวเองจะได้พบกับผู้มีความหลักแหลมและมีความอดทนเช่นเขา”

          วิวาทะจากวงประชุมดื่มคำรบสุดท้ายมาจากอัลซิไบอาดีสผู้เมามายและไม่ได้ตั้งใจจะมาเพื่อกล่าวสรรเสริญความรัก หากแต่มุ่งสรรเสริญคุณธรรมและตัวตนของโซเครตีสผู้อดทนแน่วแน่ ตั้งตนพ้นจากความปรารถนาฉาบฉวย และปฏิเสธการเสนอตัวเป็นคนรักจากอัลซิไบอาดีส ทั้งที่โซเครตีสดูมีภาพลักษณ์เป็นผู้คลั่งไคล้ชายหนุ่ม นอกจากนี้ โซเครตีสในสายตาอัลซิไบอาดีสยังพิสูจน์ตนเองด้วยความสุขุมเยือกเย็นและชาญฉลาดสมเป็นสุภาพบุรุษครั้งแล้วครั้งเล่า จนกล่าวได้ว่าเรื่องราวที่จบแบบเกือบจะหักมุมของวงประชุมดื่มนี้ อาจเป็นนัยของการสรรเสริญและวิวาทะต่อความรักในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีโซเครตีสจากปลายปากกาของเพลโตเป็นอวตาร

          และอย่าลืมว่านิยามรักและปรัชญาว่าด้วยรัก เรื่องแล้วเรื่องเล่าในซิมโพเซียมนั้นดำเนินไปอย่างไหลลื่นสอดประสานและสนุกสนานด้วยเสียงเล่าหลายชั้นผ่านตัวอักษรของเพลโต ผู้สร้างบทสนทนาว่าด้วยอะไรๆ เกี่ยวกับความรักผ่านปากของเจ็ดคนพูด (วงประชุมดื่ม) ที่เคยมีหนึ่งคนเล่า (อริสโตเดมัส) ให้อีกคนได้จำมาเล่าต่อ (อพอลโลโดรัส) อีกทั้งหนึ่งในเจ็ดที่ถูกเล่าถึงนั้นก็อ้างว่าเรื่องที่ตนพูดนั้นจำมาจากปากของคนอื่น (ไดโอติมา) ด้วยเทคนิคการเขียนอันยอดเยี่ยมของเพลโตผู้ซ่อนตัวอยู่หลังเรื่องเล่าทั้งหมด จึงอาจกล่าวได้ยากนักว่า “รัก” แบบที่เขาอยากให้ผู้อ่านตระหนักและสรรเสริญคือรักแบบใด (และความรักคืออะไรกันแน่) ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากงานเขียนชิ้นสำคัญชิ้นนี้มีอายุขึ้นหลักสองพันกว่าปี เหล่านักปรัชญาและผู้ศึกษาปรัชญากรีกในปัจจุบันจำนวนมากยังเพิ่งได้รู้ว่าไดโอติมา อีริซิมาคัส และเฟดรัส ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในซิมโพเซียมนั้นอาจไม่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่เป็นตัวละครที่เพลโตสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนความคิดของเขาอย่างแยบยลเพียงเท่านั้น

ความจริง(ก็)ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว

          อะไรๆ ที่พวกเขาพูด กำลังบอก “อะไร” กับเรา

          ความน่าสนใจในซิมโพเซียมไม่ใช่เพียงนิยามรักอันหลากหลายและเทคนิคการเขียนอันลึกล้ำ แต่คือการฉายภาพบรรยากาศการวิวาทะในวงประชุมดื่ม ซึ่งแสดงถึงความรุ่มรวยทางปัญญา ความเฟื่องฟูด้วยอารยะ สะท้อนช่วงเวลาหนึ่งในสังคมที่ชายรักชายไม่ใช่เรื่องผิดแผก ทั้งยังผูกติดกับการให้คุณค่าปัญญาและความกล้าหาญ (ซึ่งในเวลานั้นดูจะเป็นสิ่งสงวนสำหรับเพศชาย) รวมไปถึงสถานะอันแสนพิเศษของเหล่าชายมากปัญญาผู้สูงส่งชาวเอเธนส์ ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติจะเอนกายกิน ดื่ม รัก เติมเต็มความปรารถนา และครุ่นคิดลับปัญญาอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งสามารถหวนกลับมาตั้งคำถามต่อความรักและคำสรรเสริญถึงความรักทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำความรักไปสู่ความรู้ สู่ความงาม สู่ความจริงแท้ และความเป็นอมตะ ด้วยวิวาทะจากหญิงสาวปริศนานาม “ไดโอติมา” ที่โซเครตีสอ้างถึง

          ยิ่งไปกว่านั้น มันกำลังบอกเราว่าอย่าแน่ใจใน “อะไร” แม้แต่สิ่งที่ใกล้หัวใจอย่างความรัก…

          จนกระทั่งในสุนทรพจน์สุดท้าย บทสนทนาที่ค้านแย้งต่อยอดกันของพวกเขาทั้งเจ็ด ดำเนินไปพร้อมกับการคอยกระตุ้นเตือนเราในฐานะผู้อ่านให้ระลึกเสมอว่า ความรักอาจไม่มีนิยามอันเป็นหนึ่งเดียวจริงแท้ เพราะทุกคำกล่าวอ้างอาจไม่เป็นจริงและพร้อมจะถูกหักล้างได้ทันที เมื่อการประชุมดื่มวนไปถึงผู้พูดคนถัดไป แม้กระทั่งสุนทรพจน์ของโซเครตีสที่มุ่งล้มล้างคำสรรเสริญกลวงเปล่าและเร้าให้แสวงหาความจริง รวมไปถึงตัวของโซเครตีสเองที่ถูกนำเสนอผ่านซิมโพเซียมด้วยรูปลักษณ์ดังประติมาของปรัชญาและความจริงแท้ด้วย

          ไม่ใช่แค่เหล่าปราชญ์ผู้อยู่ในเรื่องราวเหล่านี้ที่อาจมิได้มีอยู่จริง… ความรักก็ไม่อาจมีนิยามหนึ่งเดียวอันจริงแท้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกนิยามในฐานะความดีงามและความจริงก็ไม่ต่างกัน… 

          ถ้าจะถามว่าเราจะเอา ‘อะไรๆ’ จากหนังสือเล่มนี้ไปทำอะไรได้

          นอกเหนือจากการดื่มด่ำไปในวงประชุม ดื่มด้วยความเพลิดเพลินกับสำบัดสำนวนในงานเขียนของเพลโต และพากย์แปลอันยอดเยี่ยมของอัคนี มูลเมฆ เราขอเสนอให้คุณใช้วิธีคล้ายกันกับโซเครตีส

          คือลองใช้มันเกลาหัวใจให้คุ้นชินกับการซักค้าน สอบทาน และตั้งคำถาม

          เช่น หากความรักคือบ่อเกิดแห่งชีวิตอันงอกเงยดีงาม เหตุใดความรักจึงกลายเป็นเครื่องมือประหัตประหารความไม่รัก

          หรือเช่น นิยามความรักที่ถูกสรุปมาอย่างหยาบในบทความนี้ให้ความหมายตรงกับนิยามความรักที่ได้จากการอ่านซิมโพเซียมด้วยตัวเอง หรือกระทั่งความรักจากประสบการณ์เชิงประจักษ์บ้างไหม

          โดยไม่ต้องรอเอนกายในวงประชุมดื่ม พร้อมญัตติเชิงปรัชญา

          จงรัก จงดำรงอยู่ด้วยใจท้าทาย และจงไม่เบื่อหน่ายที่จะสอบทานว่ามี “อะไร” แฝงอยู่ในทุกสิ่งที่รัก…

          *หมายเหตุ: การออกแบบเลย์เอาต์ของซิมโพเซียม ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก ฉบับสำนักพิมพ์ 1001 Night Editions ซึ่งเว้นที่ว่างขนาดใหญ่ริมกระดาษเช่นเดียวกับต้นฉบับจริงของ Symposium นั้นเอื้อต่อการทดความคิด ขีดเส้นใต้ย้ำๆ และเขียนถามตอบประกอบการอ่านอย่างน่าสนุกยิ่ง แม้จะเป็นทีมคนรักกระดาษขาวๆ แต่แนะนำให้ลองเอาปากกาหรือดินสอขีดเขียนทดความคิดลงไปเลยสักครั้ง

Tags: แนะนำหนังสือ

เรื่องโดย

549
VIEWS
กองบรรณาธิการ The KOMMON เรื่อง

          ที่ใดมีรัก…

          เรื่องรักไม่เคยล้าสมัย…

          ไม่ว่าจะในตอนนี้ ในหรืออีกสองพันปีข้างหน้า หรือเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้วย้อนกลับไป…

          หลักฐานชิ้นแรกคือบทความนี้ อย่างไม่ต้องสงสัย

          หลักฐานชิ้นต่อไปก็คืองานเขียนที่กำลังจะชวนให้คุณลองอ่านด้วยกันในเดือนแห่งความรัก หนึ่งในงานชิ้นเอกของปราชญ์ชาวกรีกโบราณคนสำคัญผู้ส่งอิทธิพลต่อปวงปรัชญาหลังจากนั้น

          “ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” โดยเพลโต

          ซิมโพเซียม (Symposium) คืองานเขียนชิ้นสำคัญที่ถ่ายทอดวิวาทะว่าด้วยความรักของชายทั้งเจ็ด (เฟดรัส พอซาเนียส อีริซิมาคัส อริสโตฟาเนส อกาธอน โซเครตีส และอัลซิไบอาดีส) ในรูปแบบบันทึกการสนทนาจากวงประชุมดื่ม ถูกเล่าซ้ำโดย “อพอลโลโดรัส” ศิษย์คนสำคัญของโซเครตีสซึ่งได้รับรู้เรื่องราวของวงสนทนานี้มาจากอริสโตเดมัสอีกต่อหนึ่ง เรียกได้ว่างานเขียนชิ้นนี้ของเพลโตคือบทสนทนาว่าด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับความรัก (ที่จะว่าด้วยบทสนทนาอีกชั้นหนึ่ง เพราะโซเครตีสผู้เป็นตัวเอกของเรื่องเล่าที่ว่าของอพอลโลโดรัส ก็เลือกกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการอ้างถึงสิ่งที่ได้จากการ “สังสันทนา” กับผู้อื่นมาเหมือนกัน) 

          แน่ล่ะ ใครๆ ก็พูดเรื่องรักกันทั้งนั้น

          ลองล้อมวงเข้ามาแล้วเงี่ยหูฟัง ว่าเมื่อเป็นเรื่องความรัก พวกเขาจากเมื่อสองพันกว่าปีก่อนหน้านี้จะพูด “อะไร”

รักหลากนิยามในวงประชุมดื่ม

          เมื่อเห็นตรงกันว่าในบรรดาเทพเจ้ามากมาย เทพเจ้าแห่งความรักผู้ยิ่งใหญ่มักไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงเท่าที่ควร “วงประชุมดื่ม” หรือวงเอกเขนกเสวนาอันรื่นรมย์ (บ้างก็มีเครื่องดื่มเลิศรสให้จิบเคล้าเสริมความสำราญ) ของเหล่าชายมากปัญญา จึงเริ่มต้นขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะกล่าวสุนทรพจน์สรรเสริญเทพเจ้าแห่งความรักเวียนต่อกันไปเป็นวงกลม (Symposium)  

           “หลักนำที่ชี้ทางให้กับมนุษย์ผู้ต้องการมีชีวิตอันประเสริฐนั้นมิใช่ชาติตระกูล เกียรติยศ ความมั่งคั่ง หรือสิ่งจูงใจอื่นใด หากคือความรัก”

          สำหรับเฟดรัสแล้ว เทพเจ้าแห่งความรักซึ่งเขาถือว่าเป็นเทพผู้อาวุโสที่สุดในบรรดาเทพทั้งปวงควรค่าแก่การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ด้วยความรักคือกำเนิดแห่งสิ่งดีงาม คือพลังอันยิ่งใหญ่ที่ผลักดันให้คนละอายต่อบาปและภาคภูมิในสิ่งดีงาม เปลี่ยนคนขี้ขลาดให้เป็นคนกล้า เปลี่ยนคนเห็นแก่ตนให้เป็นคนเสียสละ ด้วยว่าไม่มีผู้ตกในห้วงรัก คนใดอยากแสดงด้านเลวร้ายให้คนที่ตนรักผิดหวัง แม้เฟดรัสจะไม่ได้เปิดเผยอีกด้านหนึ่งของความรักอาจนำมาซึ่งการกระทำเรื่องเลวร้ายเพื่อบรรลุเป้าหมายในนามของความรักไปอย่างน่าเสียดาย

          “ถ้าหากความรักมีอยู่เพียงประเภทเดียวก็ถือว่าสิ่งที่ท่านกล่าวนั้นเพียงพอแล้ว แต่ความรักมีมากกว่าหนึ่งประเภท ดังนั้น เราควรเริ่มต้นด้วยการตัดสินว่าความรักประเภทใดที่เราควรสรรเสริญ”

          แม้จะเห็นพ้องว่าคำสรรเสริญของเฟดรัสนั้นน่าฟัง พอซาเนียสกลับกล่าวว่าไม่ใช่ทุกความรักที่ควรได้รับการสรรเสริญ พร้อมเสนอว่ามีความรักอย่างสามัญระหว่างชายหญิงขับดันด้วยความต้องการทางกายมากกว่าทางใจ เสื่อมคลายเปลี่ยนผันได้ง่าย และความรักอันสูงส่งซึ่งเทิดปัญญาและความกล้าหาญให้เป็นหนึ่ง ทั้งจะอยู่ยั้งยืนยง ประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นคือ สำหรับพอซาเนียสแล้ว ความรักอันสูงส่งดังคำกล่าวนั้นคือความรักระหว่างบุรุษเพศด้วยกัน แม้สังคมอื่นใดจะตัดสินว่ารักของคนหนุ่มกับคนหนุ่มเป็นความเลวร้ายหรือผิดกฎหมายก็ตาม ในสายตาของคนผู้ตกอยู่ ณ ห้วงแห่งรักอีกสองพันปีให้หลัง นิยามรักเช่นนี้ก็ขันขื่นไม่น้อย เพราะความรักระหว่างชายหญิงหรือหญิงด้วยกันกลับเป็นเพียงรักสามัญไม่ควรค่าแก่การสรรเสริญไปเสียฉิบ

          “เมื่อความร้อนและความเย็น ความเปียกและความแห้งดำรงไว้ซึ่งความรักอันกลมกลืนระหว่างกัน ทั้งผสมผสานกันอย่างเหมาะสมสอดคล้อง ก็จะส่งให้มนุษย์และสัตว์ รวมทั้งพืชพันธุ์มีสุขภาพดีและสมบูรณ์ปราศจากโรคภัย”

          ไม่ใช่แค่ความมืดมิดที่เลวร้าย แต่แสงอาทิตย์ที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจแผดเผา วงประชุมดื่มรักนี้ไม่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะหนึ่งคำสรรเสริญ หนึ่งคำนิยามต่อความรักจะถูกท้าทาย และแตกกอต่อความคิดไปชั้นแล้วชั้นเล่า ดังที่อีริซิมาคัสเลือกเติมเต็มคำอธิบายเรื่องสองร่างในความรักของพอซาเนียสให้กระจ่างชัดขึ้นด้วยมุมมองของแพทย์ว่า รักทั้งสองแบบ – ทั้งปรารถนาอันสามัญและรักแท้ที่สูงส่ง – นั้นล้วนเป็นธาตุอันแตกต่างที่ต้องสอดประสานดำเนินเคียงกันไปให้สมดุล 

          “แต่เดิมนั้นมนุษย์มิได้มีธรรมชาติเช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งมิได้แบ่งเป็นสองเพศเช่นทุกวันนี้ ทว่า แต่เดิมนั้นพวกเขามีสามเพศ คือเพศชาย เพศหญิง และเพศที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเพศทั้งสอง”

          หลายคนอาจเคยได้ยินตำนานมนุษย์ผู้ถูกทวยเทพลงโทษแบ่งร่างเป็นสอง ให้ต้องตามหาอีกครึ่งที่หายไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า วิวาทะของอริสโตฟาเนสคือฉบับเต็มที่คาดไม่ถึงของเรื่องราวโรแมนติกนั้น แตกต่างกันที่มนุษย์ผู้อาจหาญท้าทายเทพเจ้าจนถูกแบ่งเป็นสองส่วน จักรวาลของเขานั้นช่างหลากหลายในความรักและธรรมชาติของตน หญิงจึงอาจไม่ได้คู่กับชายเสมอไป แต่หญิงหญิง หรือชายชาย (หรือสุดแต่ใครจะนิยาม) ที่วิ่งเข้าประกบกันแล้วได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่าความรักนั้นเป็นธรรมชาติอันบริบูรณ์ ก่อนที่อกาธอน ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนที่ห้าจะกล่าวสรรเสริญเทพเจ้าแห่งความรักในฐานะเทพแห่งความอ่อนเยาว์ ความอ่อนโยน ความกล้าหาญ และสิ่งดีงามทั้งปวง 

          “ทรงปรากฏอยู่ในถ้อยคำและการงานทั้งปวง ทรงเป็นความหวัง เป็นผู้ช่วยให้พ้นจากความกลัว เป็นผู้นำทาง เป็นสหาย เป็นผู้ช่วยเหลือ เป็นความรุ่งโรจน์ของปวงเทพเจ้าและมวลมนุษย์”

“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก

รักในความรู้ เพื่อจะรู้ในความรัก

          สุนทรพจน์ว่าด้วยรักทั้งห้าผ่านพ้นไป กลวิธีการเขียนของเพลโตก็เริ่มพาเราไปสัมผัสประเด็นปรัชญาและความท้าทายซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อการวิวาทะดำเนินมาถึงลำดับของโซเครตีส 

          แทนที่จะสรรเสริญ โซเครตีสกลับเริ่มต้นตั้งคำถามไล่ต้อนอกาธอนทีละคำถามให้จนมุม เพื่อสอบทาน “ความจริง” ของทั้งคำสรรเสริญต่อความรักและความรักในตัวมันเอง ทั้งยังย้ำด้วยว่าการสรรเสริญเทิดทูนความรักคงเป็นไปอย่างไร้ความหมาย หากเราทั้งหมดต่างไม่ได้รู้หรือเข้าใจจริงๆ ว่า คุณลักษณะที่แท้ของความรักคืออะไร และมันมีอยู่เพื่อสิ่งใด…

          “ท่านจึงไม่ควรยืนยันว่าสิ่งที่ไร้ความสวยงามต้องเป็นสิ่งที่อัปลักษณ์ หรือสิ่งที่ไม่ดีย่อมเป็นสิ่งชั่วร้าย หรือมีความเห็นว่าในเมื่อความรักมิได้เป็นสิ่งสวยงามหรือมิได้เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งอัปลักษณ์และชั่วร้าย ด้วยว่าความรักอยู่ระหว่างกึ่งกลางระหว่างสิ่งทั้งสอง”

          ขณะที่ชายทั้งหมดในวงประชุมดื่มล้วนสรรเสริญความรักในฐานะเทพเจ้า โซเครตีสกลับเอ่ยคำเฉลยที่เขาเคยได้ฟังมาจากสตรีทรงภูมินามว่า “ไดโอติมา” เธอกล่าวยืนยันว่าความรักหาใช่สิ่งสวยงามหรือสิ่งอัปลักษณ์ หากอยู่ระหว่างสิ่งทั้งสอง ทั้งมิใช่เทพเจ้าหรือมนุษย์อย่างที่ใครเข้าใจ หากความรักเป็นภูตผู้สถิตอยู่กึ่งกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์สามัญ เป็นผู้อยู่กึ่งกลางระหว่างอวิชชากับความรู้ หรือกล่าวในอีกทาง ความรักย่อมก็คือนักปราชญ์หรือผู้รักในความรู้ ผู้แสวงหาความงามจริงแท้และความเป็นอมตะ…

          “ทว่าช่วยไม่ได้ที่ข้าพเจ้าจะประหลาดใจในความรู้จักละเว้นและการควบคุมตัวเองโดยธรรมชาติ รวมทั้งความเป็นสุภาพบุรุษของเขา ข้าพเจ้าไม่เคยคาดคิดว่าตัวเองจะได้พบกับผู้มีความหลักแหลมและมีความอดทนเช่นเขา”

          วิวาทะจากวงประชุมดื่มคำรบสุดท้ายมาจากอัลซิไบอาดีสผู้เมามายและไม่ได้ตั้งใจจะมาเพื่อกล่าวสรรเสริญความรัก หากแต่มุ่งสรรเสริญคุณธรรมและตัวตนของโซเครตีสผู้อดทนแน่วแน่ ตั้งตนพ้นจากความปรารถนาฉาบฉวย และปฏิเสธการเสนอตัวเป็นคนรักจากอัลซิไบอาดีส ทั้งที่โซเครตีสดูมีภาพลักษณ์เป็นผู้คลั่งไคล้ชายหนุ่ม นอกจากนี้ โซเครตีสในสายตาอัลซิไบอาดีสยังพิสูจน์ตนเองด้วยความสุขุมเยือกเย็นและชาญฉลาดสมเป็นสุภาพบุรุษครั้งแล้วครั้งเล่า จนกล่าวได้ว่าเรื่องราวที่จบแบบเกือบจะหักมุมของวงประชุมดื่มนี้ อาจเป็นนัยของการสรรเสริญและวิวาทะต่อความรักในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีโซเครตีสจากปลายปากกาของเพลโตเป็นอวตาร

          และอย่าลืมว่านิยามรักและปรัชญาว่าด้วยรัก เรื่องแล้วเรื่องเล่าในซิมโพเซียมนั้นดำเนินไปอย่างไหลลื่นสอดประสานและสนุกสนานด้วยเสียงเล่าหลายชั้นผ่านตัวอักษรของเพลโต ผู้สร้างบทสนทนาว่าด้วยอะไรๆ เกี่ยวกับความรักผ่านปากของเจ็ดคนพูด (วงประชุมดื่ม) ที่เคยมีหนึ่งคนเล่า (อริสโตเดมัส) ให้อีกคนได้จำมาเล่าต่อ (อพอลโลโดรัส) อีกทั้งหนึ่งในเจ็ดที่ถูกเล่าถึงนั้นก็อ้างว่าเรื่องที่ตนพูดนั้นจำมาจากปากของคนอื่น (ไดโอติมา) ด้วยเทคนิคการเขียนอันยอดเยี่ยมของเพลโตผู้ซ่อนตัวอยู่หลังเรื่องเล่าทั้งหมด จึงอาจกล่าวได้ยากนักว่า “รัก” แบบที่เขาอยากให้ผู้อ่านตระหนักและสรรเสริญคือรักแบบใด (และความรักคืออะไรกันแน่) ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากงานเขียนชิ้นสำคัญชิ้นนี้มีอายุขึ้นหลักสองพันกว่าปี เหล่านักปรัชญาและผู้ศึกษาปรัชญากรีกในปัจจุบันจำนวนมากยังเพิ่งได้รู้ว่าไดโอติมา อีริซิมาคัส และเฟดรัส ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในซิมโพเซียมนั้นอาจไม่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่เป็นตัวละครที่เพลโตสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนความคิดของเขาอย่างแยบยลเพียงเท่านั้น

ความจริง(ก็)ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว

          อะไรๆ ที่พวกเขาพูด กำลังบอก “อะไร” กับเรา

          ความน่าสนใจในซิมโพเซียมไม่ใช่เพียงนิยามรักอันหลากหลายและเทคนิคการเขียนอันลึกล้ำ แต่คือการฉายภาพบรรยากาศการวิวาทะในวงประชุมดื่ม ซึ่งแสดงถึงความรุ่มรวยทางปัญญา ความเฟื่องฟูด้วยอารยะ สะท้อนช่วงเวลาหนึ่งในสังคมที่ชายรักชายไม่ใช่เรื่องผิดแผก ทั้งยังผูกติดกับการให้คุณค่าปัญญาและความกล้าหาญ (ซึ่งในเวลานั้นดูจะเป็นสิ่งสงวนสำหรับเพศชาย) รวมไปถึงสถานะอันแสนพิเศษของเหล่าชายมากปัญญาผู้สูงส่งชาวเอเธนส์ ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติจะเอนกายกิน ดื่ม รัก เติมเต็มความปรารถนา และครุ่นคิดลับปัญญาอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งสามารถหวนกลับมาตั้งคำถามต่อความรักและคำสรรเสริญถึงความรักทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำความรักไปสู่ความรู้ สู่ความงาม สู่ความจริงแท้ และความเป็นอมตะ ด้วยวิวาทะจากหญิงสาวปริศนานาม “ไดโอติมา” ที่โซเครตีสอ้างถึง

          ยิ่งไปกว่านั้น มันกำลังบอกเราว่าอย่าแน่ใจใน “อะไร” แม้แต่สิ่งที่ใกล้หัวใจอย่างความรัก…

          จนกระทั่งในสุนทรพจน์สุดท้าย บทสนทนาที่ค้านแย้งต่อยอดกันของพวกเขาทั้งเจ็ด ดำเนินไปพร้อมกับการคอยกระตุ้นเตือนเราในฐานะผู้อ่านให้ระลึกเสมอว่า ความรักอาจไม่มีนิยามอันเป็นหนึ่งเดียวจริงแท้ เพราะทุกคำกล่าวอ้างอาจไม่เป็นจริงและพร้อมจะถูกหักล้างได้ทันที เมื่อการประชุมดื่มวนไปถึงผู้พูดคนถัดไป แม้กระทั่งสุนทรพจน์ของโซเครตีสที่มุ่งล้มล้างคำสรรเสริญกลวงเปล่าและเร้าให้แสวงหาความจริง รวมไปถึงตัวของโซเครตีสเองที่ถูกนำเสนอผ่านซิมโพเซียมด้วยรูปลักษณ์ดังประติมาของปรัชญาและความจริงแท้ด้วย

          ไม่ใช่แค่เหล่าปราชญ์ผู้อยู่ในเรื่องราวเหล่านี้ที่อาจมิได้มีอยู่จริง… ความรักก็ไม่อาจมีนิยามหนึ่งเดียวอันจริงแท้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกนิยามในฐานะความดีงามและความจริงก็ไม่ต่างกัน… 

          ถ้าจะถามว่าเราจะเอา ‘อะไรๆ’ จากหนังสือเล่มนี้ไปทำอะไรได้

          นอกเหนือจากการดื่มด่ำไปในวงประชุม ดื่มด้วยความเพลิดเพลินกับสำบัดสำนวนในงานเขียนของเพลโต และพากย์แปลอันยอดเยี่ยมของอัคนี มูลเมฆ เราขอเสนอให้คุณใช้วิธีคล้ายกันกับโซเครตีส

          คือลองใช้มันเกลาหัวใจให้คุ้นชินกับการซักค้าน สอบทาน และตั้งคำถาม

          เช่น หากความรักคือบ่อเกิดแห่งชีวิตอันงอกเงยดีงาม เหตุใดความรักจึงกลายเป็นเครื่องมือประหัตประหารความไม่รัก

          หรือเช่น นิยามความรักที่ถูกสรุปมาอย่างหยาบในบทความนี้ให้ความหมายตรงกับนิยามความรักที่ได้จากการอ่านซิมโพเซียมด้วยตัวเอง หรือกระทั่งความรักจากประสบการณ์เชิงประจักษ์บ้างไหม

          โดยไม่ต้องรอเอนกายในวงประชุมดื่ม พร้อมญัตติเชิงปรัชญา

          จงรัก จงดำรงอยู่ด้วยใจท้าทาย และจงไม่เบื่อหน่ายที่จะสอบทานว่ามี “อะไร” แฝงอยู่ในทุกสิ่งที่รัก…

          *หมายเหตุ: การออกแบบเลย์เอาต์ของซิมโพเซียม ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก ฉบับสำนักพิมพ์ 1001 Night Editions ซึ่งเว้นที่ว่างขนาดใหญ่ริมกระดาษเช่นเดียวกับต้นฉบับจริงของ Symposium นั้นเอื้อต่อการทดความคิด ขีดเส้นใต้ย้ำๆ และเขียนถามตอบประกอบการอ่านอย่างน่าสนุกยิ่ง แม้จะเป็นทีมคนรักกระดาษขาวๆ แต่แนะนำให้ลองเอาปากกาหรือดินสอขีดเขียนทดความคิดลงไปเลยสักครั้ง

Tags: แนะนำหนังสือ

กองบรรณาธิการ The KOMMON เรื่อง

Related Posts

เข้าใจตัวเอง เข้าใจเงิน ‘The Psychology of Money’ (หนังสือเล่มนี้ไม่เหมาะกับคนอยากรวยเร็ว)
Book of Commons

เข้าใจตัวเอง เข้าใจเงิน ‘The Psychology of Money’ (หนังสือเล่มนี้ไม่เหมาะกับคนอยากรวยเร็ว)

March 21, 2023
456
“On Failure” วิชาความผิดพลาดจาก ‘โรงเรียนแห่งชีวิต’
Book of Commons

“On Failure” วิชาความผิดพลาดจาก ‘โรงเรียนแห่งชีวิต’

March 7, 2023
125
STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
288

Related Posts

เข้าใจตัวเอง เข้าใจเงิน ‘The Psychology of Money’ (หนังสือเล่มนี้ไม่เหมาะกับคนอยากรวยเร็ว)
Book of Commons

เข้าใจตัวเอง เข้าใจเงิน ‘The Psychology of Money’ (หนังสือเล่มนี้ไม่เหมาะกับคนอยากรวยเร็ว)

March 21, 2023
456
“On Failure” วิชาความผิดพลาดจาก ‘โรงเรียนแห่งชีวิต’
Book of Commons

“On Failure” วิชาความผิดพลาดจาก ‘โรงเรียนแห่งชีวิต’

March 7, 2023
125
STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
288
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_4e280d110b2b4493d34ddcc00e3f101d.js