The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Common VIEW
สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore
Common VIEW
  • Common VIEW

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore

377 views

 5 mins

3 MINS

January 4, 2023

Last updated - January 17, 2023

          ในฐานะรุ่นที่ 2 แห่งร้านหนังสือดวงกมล หรือ D.K. Bookstore สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ น่าจะเป็นผู้บริหารดวงกมลรุ่นที่ยืนอยู่ตรงรอยต่อระหว่างการตายและการเกิด ความรุ่งโรจน์และล้มเหลว บาดแผลและการผ่าตัด

          ร้านหนังสือดวงกมลยืนหยัดผ่านกาลเวลามายาวนาน ผ่านทั้งความรุ่งเรืองและตกต่ำ ปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม

          ในยุคที่เศรษฐกิจประเทศรุ่งเรือง ศูนย์การค้าชั้นนำที่เปิดใหม่ต่างก็มาเชื้อเชิญให้ดวงกมลเข้าไปเปิดร้านหนังสือภายในศูนย์การค้า ร้านดวงกมลเคยขยายสาขามากถึงกว่า 100 แห่ง และสร้างประวัติศาสตร์ทำร้านหนังสือขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ดวงกมลก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในคราวนั้น และกลายเป็นบริษัทล้มละลาย ก่อนที่จะฟื้นฟูและกลับมายืนหยัดใหม่อีกครั้ง

          “ตอนนี้เรากำลังส่งต่อให้รุ่นที่ 3 แต่รุ่น 3 รู้สึกจะทำงานง่าย” สมบูรณ์ เล่าถึงช่วงการผลัดใบของดวงกมล แน่นอนว่าภูมิทัศน์ของวงการหนังสือในปัจจุบันไม่ได้เหมือนวันวานในขวบปีแรกที่ดวงกมลถือกำเนิด ปีนั้นเป็นปี 2516

          “สุข สูงสว่าง เป็นผู้ก่อตั้ง D.K. Bookstore โดยมีผู้ร่วมชะตากรรมคือคุณพ่อของผม ลุง อา เรียกว่ารุ่นที่ 1 ส่วนรุ่นที่ 2 จะเป็นพวกลูกหลานและพี่น้องของคุณสุข ผมนี่ถือว่าเป็นรุ่นที่ 2 ส่วนรุ่นที่ 3 คือรุ่นลูกของผม พวกเราทั้ง 3 รุ่นก็ยังสามัคคีกันดีอยู่ ทำงานอยู่บนพื้นฐานของสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เราถือตามอาวุโส ร่ำรวยหรือจนไม่สำคัญ แต่ถ้าใครทำอะไรที่รู้สึกว่าผิดหูผิดตา ก็จะมีผู้ใหญ่หรือรุ่นซีเนียร์มาเตือน นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ D.K. ยังอยู่ได้ถึงแม้ว่าจะมีสถานการณ์เลวร้ายรุนแรงผ่านเข้ามา

          “คุณสุข เป็นคนแรกในครอบครัวที่จบเมืองนอก สาขาสื่อสารมวลชนหนังสือพิมพ์ แต่เขากลับมามือเปล่า คือปริญญาไม่ได้ แต่ได้ภรรยามากลับมาคนหนึ่ง เมียคุณสุขพยายามจะหาเงินช่วยครอบครัว ก็เลยเปิดสอนพิเศษ สอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน แต่ช่วงเปิดเทอมไม่มีคนมาเรียนพิเศษ เวลาว่างเยอะแกก็จะหาหนังสือมาอ่าน แกอ่านจนหมด ในที่สุดก็บอกคุณสุขว่า ไอเบื่อ เมืองไทยไม่มีหนังสือให้อ่าน คุณสุขเลยบอกว่าโอเคเดี๋ยวจัดการให้

          “คุณสุขจัดการทำจดหมายโรเนียวส่งไปหาสำนักพิมพ์ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เขียนว่าข้าพเจ้าเป็นคนไทยที่กรุงเทพฯ มีความสนใจอยากจะซื้อหนังสือของท่านเพื่อมาวางจำหน่าย แต่เจตนาจริงๆ คือต้องการหาหนังสือให้เมียอ่าน สมัยนั้นฝรั่งเปิดจดหมายดูก็งงว่ามีประเทศนี้ด้วยเหรอ แต่เชื่อไหมว่า 6 เดือนต่อมาก็มีหนังสือส่งมากองถึงที่บ้าน 5-6 ร้อยกล่อง” สมบูรณ์ เล่า

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore

           ร้านหนังสือดวงกมลตั้งต้นมาจากจุดนี้ หนังสือต่างประเทศที่ส่งเข้ามาถูกนำมาวางขายที่ห้องแถวเช่าเดือนละ 3,000 บาท ริมถนนสุขุมวิท ย่านที่มีชาวต่างประเทศพลุกพล่าน

          “แฟนคุณสุขเป็นผู้จัดการร้าน คุณสุขก็เป็น Office Boy คอยกวาดคอยเช็ด ทำอย่างนี้อยู่ประมาณ 3 ปี จนกระทั่งมีการสร้างศูนย์การค้าที่สยามสแควร์ยุคแรก ทางศูนย์การค้าก็ชวน D.K. มาเปิดร้านขายหนังสือด้วย”

          แต่ตอนนั้นยังไม่มีชื่อร้าน สุข สูงสว่าง จึงนึกถึงชื่อที่เพราะที่สุด ซึ่งมาจากชื่อรักแรกของเขา – เธอชื่อซิมลั้ง

          “คุณสุขก็เอามาตีความเป็นภาษาไทยเป็นคำว่า ดวงกมล แล้วก็ใช้ชื่อย่อเป็น D.K.” สมบูรณ์ เผยที่มา

          ในปีนั้น เป็นปีที่สังคมไทยกำลังตื่นตัวนำเข้าความคิดใหม่ๆ สมบูรณ์เล่าว่า ที่ร้านดวงกมลเป็นแหล่งพบปะสมาคมของนักอ่านที่มีแนวคิดค่อนไปทางสังคมนิยม มีบุคลิกแบบปัญญาชนฝ่ายซ้าย

          “นักอ่านกลุ่มนี้จะมาอาศัยร้านดวงกมลเป็นที่นัดพบ มากันเต็มเลย”

          ในมุมมองของสมบูรณ์ ช่วงประมาณสิบปีนับตั้งแต่ปี 2528 ร้านดวงกมลอยู่ในช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุด เพราะเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยศูนย์การค้า และศูนย์การค้าต้องการร้านหนังสือเข้ามาตั้งในห้างเพื่อเป็นแม่เหล็กดึดดูดให้คนเข้ามาเดินห้าง ทำให้ร้านหนังสือดวงกมลสามารถขยายสาขาได้มากที่สุดถึง 107 สาขา

          “ปีนั้นมีทั้ง มาบุญครอง ริเวอร์ซิตี้ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า โรบินสันสีลม แถวเพชรบุรีก็มีซิตี้เซ็นเตอร์ ใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย ร้านหนังสือถือเป็นแม่เหล็กอันหนึ่งของศูนย์การค้า เหมือนตอนที่ร้านแมคโดนัลเข้ามาใหม่ๆ” สมบูรณ์ ย้อนเล่าถึงวันวานของความรุ่งเรือง

          “เราขยายสาขาไปเรื่อยๆ จนได้ 100 กว่าสาขา วันหนึ่งก็คิดว่าทำไมต้องเดือดร้อนไปเปิดตั้งร้อยกว่าสาขา ถ้าเรามีสาขาใหญ่ที่ใหญ่กว่าร้านทั่วไป 100 เท่าล่ะ น่าจะดี ก็เลยเจรจากับทางซีคอนสแควร์ ขอเช่าพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ธนาคารก็สนับสนุนปล่อยให้กู้ ภายหลังผมถึงมาเสียใจที่ไปกู้เงินมาเยอะ เพราะการไปเอาเงินเขามาเยอะๆ ทำให้เราเหนื่อย”

          ร้านดวงกมล สาขาซีคอนสแควร์ มีพื้นที่ขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล น่าจะเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย แต่เปิดได้เพียงแค่ 6 เดือน สมบูรณ์ก็มองเห็นอนาคตว่าร้านขนาดใหญ่นี้ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ และร้านดวงกมลอาจยืนระยะอยู่ต่อไปได้ไม่ถึง 1 ปี เพราะเงินเข้าไม่สมดุลกับเงินที่ไหลออก เขาจึงเริ่มมองหาที่ทางสำหรับเก็บหนังสือ เพราะมีหนังสือจำนวนมากที่ใช้วิธีซื้อขาด ไม่ใช่การฝากขาย

          “เรารู้ว่าเวลาถอยมันยากกว่าตอนที่สร้าง ถ้าคุณเปิดร้านหนังสือ 5,000 ตารางเมตร เวลาคุณถอยคุณก็ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เช่นกันสำหรับเอาหนังสือไปกองเป็นที่เก็บ”

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore

          ร้านดวงกมลถูกเชิญให้ออกจากพื้นที่เพราะไม่ได้จ่ายค่าเช่า หนังสือกว่า 2 ล้านเล่มถูกขนย้ายไปยังโกดังหนังสือที่เพิ่งสร้างเสร็จเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

          แต่ชีวิตก็เหมือนการหนีเสือเพื่อมาสบตากับจระเข้ หลังออกจากพื้นที่ที่ซีคอนสแควร์ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่เรียกว่า ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’ ในปี 2540 ก็ทำให้สมบูรณ์ในฐานะผู้บริหารดวงกมล กลายเป็นบุคคลล้มละลาย เฉกเช่นเดียวกับผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่พึ่งพาเงินกู้จากธนาคาร

          “ธุรกิจร้านหนังสือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใช้เงินพ่อเงินแม่ กับใช้เงินกู้จากธนาคาร ดวงกมลใช้เงินที่กู้เขามา ดังนั้นหนังสือของเราที่ทยอยไปเก็บไว้ที่พยุหะคีรีจึงนับเป็นทรัพย์ที่ต้องถูกยึด หนังสือในร้านที่อยู่ในห้างทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก็ถูกธนาคารยึด”

          “ถามว่าตอนแรกอายไหม ตอนแรกอายนะ แต่พอมันเกิดขึ้น กลับรู้สึกว่าทำไมมันง่ายอย่างนี้ คือเป็นบุคคลล้มละลาย 3 ปี แล้วจบกันไป”

           อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา ทั้งที่ดูเหมือนว่าพายุร้ายได้พัดผ่านไปแล้ว แต่ผลพวงของหนี้สินจากวิกฤติในคราวนั้นยังเดินทางมาหาเขาอีกครั้งในปี 2560

           “มันเป็นเรื่องที่ผูกพันกันมาตั้งแต่ตอนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ศาลพึ่งจะมีคำสั่งออกมาในปี 60 ทางเจ้าหนี้เขาจะขอยึดตึกพร้อมกับหนังสือหลายล้านเล่มในโกดัง ผมบอกว่าคุณจะยึดหนังสือไปทำไม คุณไม่มีปัญญาบริหารหรอก เขาเลยบอกว่าถ้างั้นเอาแค่ตึกก็พอ จากนั้นไม่นานศาลก็สั่งให้ย้ายหนังสือทั้งหมดออกไปภายใน 30 วัน ถ้าไม่ดำเนินการย้ายของออก คุณก็มีโอกาสจะถูกจับคุมขัง

          “ผมอายุ 70 แล้วจะให้ผมไปติดคุกตอนแก่ทำไม ผมเลยบอกลูกน้องให้ไปตามเถ้าแก่โรงหลอมกระดาษมาดูว่าเขาตีราคาให้กิโลละเท่าไหร่ มันมีหนังสืออยู่ทั้งหมด 12 ล้านเล่ม ผมให้คัดแล้วดึงออกมาได้ประมาณ 4 ล้านเล่ม เลือกเอาเฉพาะหนังสือดีๆ ที่เหลืออีก 8 ล้านเล่มปล่อยให้โรงหลอมกระดาษเอาไปจัดการ”

          นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นดราม่าในโลกโซเชียลมีเดียอยู่พักหนึ่งในเวลานั้น

          ในส่วนของหนังสือสภาพดี 4 ล้านเล่มที่สมบูรณ์เก็บรักษาไว้ในวันที่โดนไล่ที่เมื่อปี 2560 จึงเป็นภารกิจส่งไม้ต่อให้กับทายาทรุ่นที่ 3 ซึ่งจะต้องช่วยกันคิดค้นกลยุทธ์ขายหนังสือในยุคที่ผู้คนอาจจะอ่านหนังสือกระดาษกันน้อยลง และธุรกิจร้านหนังสือไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนกับยุคที่ร้านดวงกมลถูกเชิญไปเปิดในศูนย์การค้าอีกต่อไปแล้ว แต่สมบูรณ์เชื่อว่าอย่างไรเสียก็ยังมีคนเปิดหนังสืออ่านและร้านหนังสือไม่มีวันล้มหายตายจาก

          “รุ่นที่ 2 อย่างผมนี่เป็นรุ่นที่น่าเห็นใจที่สุด เราหาเงินกันทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าจะสบาย แต่รุ่นต่อไปจะสบาย เพราะเขาไม่ต้องหา เขาจะเอาไปทำอะไรก็เรื่องของเขาแล้ว”

          “สำหรับผม เรื่องราวที่ผ่านมาผมได้วิธีคิดอย่างหนึ่งคือ ขอให้ใจเย็นและอดทนเวลาเผชิญกับปัญหา เพราะเวลาที่คุณมีปัญหา ไม่มีใครมาฆ่าคุณหรอก นอกจากคุณจะฆ่าตัวเองหรือไปแก้ปัญหาผิด เช่นถ้าคุณมีปัญหาหนี้สิน ก็เลยไปขายยาบ้า แบบนี้คุณก็ฆ่าตัวเอง คนในวงการธุรกิจหนังสือที่เขามีหนี้มีสิน ผมไม่เห็นตายกันสักคน สักประเดี๋ยวหนึ่งมันก็กลับฟื้นคืนขึ้นมาได้เอง”

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore


บทความนี้ปรับปรุงจากการสัมภาษณ์ในรายการ Coming to Talk เผยแพร่ครั้งแรกทาง TK Podcast เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ฟังบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://www.thekommon.co/comingtotalk-ep19/

Tags: ดีเคบุ๊คสโตร์ร้านหนังสือร้านหนังสือดวงกมลสมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์

เรื่องโดย

376
VIEWS
กองบรรณาธิการ The KOMMON เรื่อง

          ในฐานะรุ่นที่ 2 แห่งร้านหนังสือดวงกมล หรือ D.K. Bookstore สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ น่าจะเป็นผู้บริหารดวงกมลรุ่นที่ยืนอยู่ตรงรอยต่อระหว่างการตายและการเกิด ความรุ่งโรจน์และล้มเหลว บาดแผลและการผ่าตัด

          ร้านหนังสือดวงกมลยืนหยัดผ่านกาลเวลามายาวนาน ผ่านทั้งความรุ่งเรืองและตกต่ำ ปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม

          ในยุคที่เศรษฐกิจประเทศรุ่งเรือง ศูนย์การค้าชั้นนำที่เปิดใหม่ต่างก็มาเชื้อเชิญให้ดวงกมลเข้าไปเปิดร้านหนังสือภายในศูนย์การค้า ร้านดวงกมลเคยขยายสาขามากถึงกว่า 100 แห่ง และสร้างประวัติศาสตร์ทำร้านหนังสือขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ดวงกมลก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในคราวนั้น และกลายเป็นบริษัทล้มละลาย ก่อนที่จะฟื้นฟูและกลับมายืนหยัดใหม่อีกครั้ง

          “ตอนนี้เรากำลังส่งต่อให้รุ่นที่ 3 แต่รุ่น 3 รู้สึกจะทำงานง่าย” สมบูรณ์ เล่าถึงช่วงการผลัดใบของดวงกมล แน่นอนว่าภูมิทัศน์ของวงการหนังสือในปัจจุบันไม่ได้เหมือนวันวานในขวบปีแรกที่ดวงกมลถือกำเนิด ปีนั้นเป็นปี 2516

          “สุข สูงสว่าง เป็นผู้ก่อตั้ง D.K. Bookstore โดยมีผู้ร่วมชะตากรรมคือคุณพ่อของผม ลุง อา เรียกว่ารุ่นที่ 1 ส่วนรุ่นที่ 2 จะเป็นพวกลูกหลานและพี่น้องของคุณสุข ผมนี่ถือว่าเป็นรุ่นที่ 2 ส่วนรุ่นที่ 3 คือรุ่นลูกของผม พวกเราทั้ง 3 รุ่นก็ยังสามัคคีกันดีอยู่ ทำงานอยู่บนพื้นฐานของสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เราถือตามอาวุโส ร่ำรวยหรือจนไม่สำคัญ แต่ถ้าใครทำอะไรที่รู้สึกว่าผิดหูผิดตา ก็จะมีผู้ใหญ่หรือรุ่นซีเนียร์มาเตือน นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ D.K. ยังอยู่ได้ถึงแม้ว่าจะมีสถานการณ์เลวร้ายรุนแรงผ่านเข้ามา

          “คุณสุข เป็นคนแรกในครอบครัวที่จบเมืองนอก สาขาสื่อสารมวลชนหนังสือพิมพ์ แต่เขากลับมามือเปล่า คือปริญญาไม่ได้ แต่ได้ภรรยามากลับมาคนหนึ่ง เมียคุณสุขพยายามจะหาเงินช่วยครอบครัว ก็เลยเปิดสอนพิเศษ สอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน แต่ช่วงเปิดเทอมไม่มีคนมาเรียนพิเศษ เวลาว่างเยอะแกก็จะหาหนังสือมาอ่าน แกอ่านจนหมด ในที่สุดก็บอกคุณสุขว่า ไอเบื่อ เมืองไทยไม่มีหนังสือให้อ่าน คุณสุขเลยบอกว่าโอเคเดี๋ยวจัดการให้

          “คุณสุขจัดการทำจดหมายโรเนียวส่งไปหาสำนักพิมพ์ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เขียนว่าข้าพเจ้าเป็นคนไทยที่กรุงเทพฯ มีความสนใจอยากจะซื้อหนังสือของท่านเพื่อมาวางจำหน่าย แต่เจตนาจริงๆ คือต้องการหาหนังสือให้เมียอ่าน สมัยนั้นฝรั่งเปิดจดหมายดูก็งงว่ามีประเทศนี้ด้วยเหรอ แต่เชื่อไหมว่า 6 เดือนต่อมาก็มีหนังสือส่งมากองถึงที่บ้าน 5-6 ร้อยกล่อง” สมบูรณ์ เล่า

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore

           ร้านหนังสือดวงกมลตั้งต้นมาจากจุดนี้ หนังสือต่างประเทศที่ส่งเข้ามาถูกนำมาวางขายที่ห้องแถวเช่าเดือนละ 3,000 บาท ริมถนนสุขุมวิท ย่านที่มีชาวต่างประเทศพลุกพล่าน

          “แฟนคุณสุขเป็นผู้จัดการร้าน คุณสุขก็เป็น Office Boy คอยกวาดคอยเช็ด ทำอย่างนี้อยู่ประมาณ 3 ปี จนกระทั่งมีการสร้างศูนย์การค้าที่สยามสแควร์ยุคแรก ทางศูนย์การค้าก็ชวน D.K. มาเปิดร้านขายหนังสือด้วย”

          แต่ตอนนั้นยังไม่มีชื่อร้าน สุข สูงสว่าง จึงนึกถึงชื่อที่เพราะที่สุด ซึ่งมาจากชื่อรักแรกของเขา – เธอชื่อซิมลั้ง

          “คุณสุขก็เอามาตีความเป็นภาษาไทยเป็นคำว่า ดวงกมล แล้วก็ใช้ชื่อย่อเป็น D.K.” สมบูรณ์ เผยที่มา

          ในปีนั้น เป็นปีที่สังคมไทยกำลังตื่นตัวนำเข้าความคิดใหม่ๆ สมบูรณ์เล่าว่า ที่ร้านดวงกมลเป็นแหล่งพบปะสมาคมของนักอ่านที่มีแนวคิดค่อนไปทางสังคมนิยม มีบุคลิกแบบปัญญาชนฝ่ายซ้าย

          “นักอ่านกลุ่มนี้จะมาอาศัยร้านดวงกมลเป็นที่นัดพบ มากันเต็มเลย”

          ในมุมมองของสมบูรณ์ ช่วงประมาณสิบปีนับตั้งแต่ปี 2528 ร้านดวงกมลอยู่ในช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุด เพราะเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยศูนย์การค้า และศูนย์การค้าต้องการร้านหนังสือเข้ามาตั้งในห้างเพื่อเป็นแม่เหล็กดึดดูดให้คนเข้ามาเดินห้าง ทำให้ร้านหนังสือดวงกมลสามารถขยายสาขาได้มากที่สุดถึง 107 สาขา

          “ปีนั้นมีทั้ง มาบุญครอง ริเวอร์ซิตี้ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า โรบินสันสีลม แถวเพชรบุรีก็มีซิตี้เซ็นเตอร์ ใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย ร้านหนังสือถือเป็นแม่เหล็กอันหนึ่งของศูนย์การค้า เหมือนตอนที่ร้านแมคโดนัลเข้ามาใหม่ๆ” สมบูรณ์ ย้อนเล่าถึงวันวานของความรุ่งเรือง

          “เราขยายสาขาไปเรื่อยๆ จนได้ 100 กว่าสาขา วันหนึ่งก็คิดว่าทำไมต้องเดือดร้อนไปเปิดตั้งร้อยกว่าสาขา ถ้าเรามีสาขาใหญ่ที่ใหญ่กว่าร้านทั่วไป 100 เท่าล่ะ น่าจะดี ก็เลยเจรจากับทางซีคอนสแควร์ ขอเช่าพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ธนาคารก็สนับสนุนปล่อยให้กู้ ภายหลังผมถึงมาเสียใจที่ไปกู้เงินมาเยอะ เพราะการไปเอาเงินเขามาเยอะๆ ทำให้เราเหนื่อย”

          ร้านดวงกมล สาขาซีคอนสแควร์ มีพื้นที่ขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล น่าจะเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย แต่เปิดได้เพียงแค่ 6 เดือน สมบูรณ์ก็มองเห็นอนาคตว่าร้านขนาดใหญ่นี้ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ และร้านดวงกมลอาจยืนระยะอยู่ต่อไปได้ไม่ถึง 1 ปี เพราะเงินเข้าไม่สมดุลกับเงินที่ไหลออก เขาจึงเริ่มมองหาที่ทางสำหรับเก็บหนังสือ เพราะมีหนังสือจำนวนมากที่ใช้วิธีซื้อขาด ไม่ใช่การฝากขาย

          “เรารู้ว่าเวลาถอยมันยากกว่าตอนที่สร้าง ถ้าคุณเปิดร้านหนังสือ 5,000 ตารางเมตร เวลาคุณถอยคุณก็ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เช่นกันสำหรับเอาหนังสือไปกองเป็นที่เก็บ”

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore

          ร้านดวงกมลถูกเชิญให้ออกจากพื้นที่เพราะไม่ได้จ่ายค่าเช่า หนังสือกว่า 2 ล้านเล่มถูกขนย้ายไปยังโกดังหนังสือที่เพิ่งสร้างเสร็จเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

          แต่ชีวิตก็เหมือนการหนีเสือเพื่อมาสบตากับจระเข้ หลังออกจากพื้นที่ที่ซีคอนสแควร์ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่เรียกว่า ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’ ในปี 2540 ก็ทำให้สมบูรณ์ในฐานะผู้บริหารดวงกมล กลายเป็นบุคคลล้มละลาย เฉกเช่นเดียวกับผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่พึ่งพาเงินกู้จากธนาคาร

          “ธุรกิจร้านหนังสือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใช้เงินพ่อเงินแม่ กับใช้เงินกู้จากธนาคาร ดวงกมลใช้เงินที่กู้เขามา ดังนั้นหนังสือของเราที่ทยอยไปเก็บไว้ที่พยุหะคีรีจึงนับเป็นทรัพย์ที่ต้องถูกยึด หนังสือในร้านที่อยู่ในห้างทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก็ถูกธนาคารยึด”

          “ถามว่าตอนแรกอายไหม ตอนแรกอายนะ แต่พอมันเกิดขึ้น กลับรู้สึกว่าทำไมมันง่ายอย่างนี้ คือเป็นบุคคลล้มละลาย 3 ปี แล้วจบกันไป”

           อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา ทั้งที่ดูเหมือนว่าพายุร้ายได้พัดผ่านไปแล้ว แต่ผลพวงของหนี้สินจากวิกฤติในคราวนั้นยังเดินทางมาหาเขาอีกครั้งในปี 2560

           “มันเป็นเรื่องที่ผูกพันกันมาตั้งแต่ตอนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ศาลพึ่งจะมีคำสั่งออกมาในปี 60 ทางเจ้าหนี้เขาจะขอยึดตึกพร้อมกับหนังสือหลายล้านเล่มในโกดัง ผมบอกว่าคุณจะยึดหนังสือไปทำไม คุณไม่มีปัญญาบริหารหรอก เขาเลยบอกว่าถ้างั้นเอาแค่ตึกก็พอ จากนั้นไม่นานศาลก็สั่งให้ย้ายหนังสือทั้งหมดออกไปภายใน 30 วัน ถ้าไม่ดำเนินการย้ายของออก คุณก็มีโอกาสจะถูกจับคุมขัง

          “ผมอายุ 70 แล้วจะให้ผมไปติดคุกตอนแก่ทำไม ผมเลยบอกลูกน้องให้ไปตามเถ้าแก่โรงหลอมกระดาษมาดูว่าเขาตีราคาให้กิโลละเท่าไหร่ มันมีหนังสืออยู่ทั้งหมด 12 ล้านเล่ม ผมให้คัดแล้วดึงออกมาได้ประมาณ 4 ล้านเล่ม เลือกเอาเฉพาะหนังสือดีๆ ที่เหลืออีก 8 ล้านเล่มปล่อยให้โรงหลอมกระดาษเอาไปจัดการ”

          นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นดราม่าในโลกโซเชียลมีเดียอยู่พักหนึ่งในเวลานั้น

          ในส่วนของหนังสือสภาพดี 4 ล้านเล่มที่สมบูรณ์เก็บรักษาไว้ในวันที่โดนไล่ที่เมื่อปี 2560 จึงเป็นภารกิจส่งไม้ต่อให้กับทายาทรุ่นที่ 3 ซึ่งจะต้องช่วยกันคิดค้นกลยุทธ์ขายหนังสือในยุคที่ผู้คนอาจจะอ่านหนังสือกระดาษกันน้อยลง และธุรกิจร้านหนังสือไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนกับยุคที่ร้านดวงกมลถูกเชิญไปเปิดในศูนย์การค้าอีกต่อไปแล้ว แต่สมบูรณ์เชื่อว่าอย่างไรเสียก็ยังมีคนเปิดหนังสืออ่านและร้านหนังสือไม่มีวันล้มหายตายจาก

          “รุ่นที่ 2 อย่างผมนี่เป็นรุ่นที่น่าเห็นใจที่สุด เราหาเงินกันทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าจะสบาย แต่รุ่นต่อไปจะสบาย เพราะเขาไม่ต้องหา เขาจะเอาไปทำอะไรก็เรื่องของเขาแล้ว”

          “สำหรับผม เรื่องราวที่ผ่านมาผมได้วิธีคิดอย่างหนึ่งคือ ขอให้ใจเย็นและอดทนเวลาเผชิญกับปัญหา เพราะเวลาที่คุณมีปัญหา ไม่มีใครมาฆ่าคุณหรอก นอกจากคุณจะฆ่าตัวเองหรือไปแก้ปัญหาผิด เช่นถ้าคุณมีปัญหาหนี้สิน ก็เลยไปขายยาบ้า แบบนี้คุณก็ฆ่าตัวเอง คนในวงการธุรกิจหนังสือที่เขามีหนี้มีสิน ผมไม่เห็นตายกันสักคน สักประเดี๋ยวหนึ่งมันก็กลับฟื้นคืนขึ้นมาได้เอง”

สมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์ : The Rise and Decline of D.K. Bookstore


บทความนี้ปรับปรุงจากการสัมภาษณ์ในรายการ Coming to Talk เผยแพร่ครั้งแรกทาง TK Podcast เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ฟังบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://www.thekommon.co/comingtotalk-ep19/

Tags: ดีเคบุ๊คสโตร์ร้านหนังสือร้านหนังสือดวงกมลสมบูรณ์ สกุลสุทธวงศ์

กองบรรณาธิการ The KOMMON เรื่อง

Related Posts

เบื้องหลังการดีไซน์พื้นที่เรียนรู้แบบ Tailor-made ฉบับสถาปนิกชุมชน
Common VIEW

คุยกับ ธนา อุทัยภัตรากูร สถาปนิกชุมชน‘อาศรมศิลป์’เรื่องกระบวนการออกแบบพื้นที่เรียนรู้

January 26, 2023
449
สุวิทย์ ขาวปลอด : นักอ่านคือคนสำคัญในชีวิต
Common VIEW

สุวิทย์ ขาวปลอด : ชีวิตนักแปลที่มีนักอ่านคอยโอบอุ้ม

January 12, 2023
123
‘สวนเงินมีมา’ ร้านหนังสือกลางย่านเก่า ชวนผู้คนค้นหา ‘จิตวิญญาณใหม่’
Common VIEW

‘สวนเงินมีมา’ สรรค์สร้างพื้นที่ ‘จิตวิญญาณใหม่’ เปลี่ยนโลกเก่าใบเดิมให้น่าอยู่

December 23, 2022
1.3k

Related Posts

เบื้องหลังการดีไซน์พื้นที่เรียนรู้แบบ Tailor-made ฉบับสถาปนิกชุมชน
Common VIEW

คุยกับ ธนา อุทัยภัตรากูร สถาปนิกชุมชน‘อาศรมศิลป์’เรื่องกระบวนการออกแบบพื้นที่เรียนรู้

January 26, 2023
449
สุวิทย์ ขาวปลอด : นักอ่านคือคนสำคัญในชีวิต
Common VIEW

สุวิทย์ ขาวปลอด : ชีวิตนักแปลที่มีนักอ่านคอยโอบอุ้ม

January 12, 2023
123
‘สวนเงินมีมา’ ร้านหนังสือกลางย่านเก่า ชวนผู้คนค้นหา ‘จิตวิญญาณใหม่’
Common VIEW

‘สวนเงินมีมา’ สรรค์สร้างพื้นที่ ‘จิตวิญญาณใหม่’ เปลี่ยนโลกเก่าใบเดิมให้น่าอยู่

December 23, 2022
1.3k
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_b3c38cfa859bf31cde85ab73d40a33b2.js