The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
‘ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล’ วิธีเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี
Book of Commons
  • Book of Commons

‘ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล’ วิธีเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี

254 views

 4 mins

2 MINS

June 17, 2022

Last updated - June 27, 2022

Share on facebook
Share on twitter

          Sharenting, Vampire Shopping, Smombies, Cyberchondria, Clicktivism, Nomophobia, The Quantified Self ฯลฯ บรรดาคำสแลงที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับสมาร์ทโฟน โลกดิจิทัล และโซเชียลมีเดีย ในสังคมไทยยังมีช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (Digital Divide) อยู่มาก แต่เราคงปฏิเสธอิทธิพลของมันยากขึ้นทุกขณะ

          คุณคิดว่าคุณเสพติดสมาร์ทโฟน เสพติดโซเชียลมีเดียหรือเปล่า?

          คนส่วนใหญ่น่าจะตอบว่า ไม่ โดยธรรมชาติ…มนุษย์มักประเมินตนเองสูงกว่าที่เป็นจริง เราคิดว่าเราควบคุมชีวิตตนเองได้ ควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียได้ เอาเข้าจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น อีกทั้งเรายังให้คุณค่ากับพฤติกรรมที่ครั้งหนึ่งไม่ถูกกาลเทศะให้กลายเป็นเรื่องปกติ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดูตอนประชุม กลางวงสนทนา ระหว่างกินข้าว ยอมรับมาเถอะว่าเราทำแบบนี้กันทั้งนั้น โดยมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ ‘ใครๆ ก็ทำกัน’

          มันอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดาจริงๆ ก็ได้ เพราะวิถีชีวิตสัมพันธ์กับวัตถุและเทคโนโลยีมาแต่ไหนแต่ไร ผันเปลี่ยนเป็นพลวัต ลองดูข้อมูลเหล่านี้นะครับ

          – วัยรุ่น 52 เปอร์เซ็นต์ในสหราชอาณาจักรบอกว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้พวกเขามั่นใจน้อยลงในเรื่องรูปร่างหน้าตาตัวเอง

          – เด็กๆ มากกว่า 81 เปอร์เซ็นต์มีตัวตนบนโลกออนไลน์ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ

          – 28 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ยอมรับว่าเคยโจมตีด้วยความมุ่งร้ายทางออนไลน์

          – การคุยทางโทรศัพท์คือสาเหตุของการบาดเจ็บจากการเดินถึง 69 เปอร์เซ็นต์

          – คน 66 เปอร์เซ็นต์ กลัวการขาดมือถือ

          ฯลฯ

          เป็นตัวอย่างข้อมูลจากหนังสือ ‘MY BRAIN HAS TOO MANY TABS OPEN: How to Untangle Our Relationship with Tech’ หรือ ‘ปิดแท็บชีวิต แค่ปิดโซเชียล: รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล’ โดย Tanya Goodin คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับข้อมูลข้างต้นหรืออาจจะแค่ยักไหล่แล้วถามว่า “แล้วไง” นั่นแหละครับเพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่าตนสามารถควบคุมชีวิตได้ ไม่มีทางปล่อยให้เทคโนโลยีมีอำนาจเหนือตนหรอก

          เราจะละเรื่องนี้ไว้ แล้วมาสำรวจเนื้อหาของหนังสือกัน Tanya Goodin ผู้ริเริ่มการเคลื่อนไหวเพื่อล้างพิษดิจิทัลที่ชื่อ ‘Time To Log Off’ และนักรณรงค์ด้านจริยธรรมเทคโนโลยี ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรามากกว่าที่คิด ในบางครั้งก็มากเกินไป จนเราเป็นฝ่ายถูกมันควบคุม สูญเสียอิสรภาพ ส่งผลเสียต่อการทำงาน สุขภาพกายและจิต และกระทบถึงคนรอบข้าง …ก็เป็นเรื่องที่น่าจะรู้กันอยู่ แต่เธอทำให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยอ้างอิงข้อมูลจากงานศึกษาวิจัย งานสำรวจ สถิติ กรณีที่เกิดขึ้นจริง และปากคำของผู้เชี่ยวชาญ

          เราเห็นพ่อแม่โพสต์รูปลูกๆ บนโซเชียลมีเดียด้วยความภาคภูมิใจ แจกความสดใส น่ารัก ให้คนมากดไลค์ กดหัวใจ และคอมเมนต์ให้ใจฟูฟ่อง ตัวเลขที่ผมตกใจคือในสหราชอาณาจักรพบว่า เฉลี่ยแล้วพ่อแม่จะลงรูปลูกเกือบ 1,500 รูปก่อนลูกจะอายุครบ 5 เสียอีก มีศัพท์เฉพาะไว้เรียกพ่อแม่กลุ่มนี้ว่า Sharenting หรือพ่อแม่นักแชร์ ที่รวมศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันคือ Share กับ Parent

          หลายคนโต้เถียงว่ามันเรื่องของเขา ลูกของเขา แต่ Tanya Goodin แสดงให้เห็นว่าสิทธิเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่าเด็ก 5 ขวบไม่มีทางยินยอมหรือไม่ยินยอม พ่อแม่ต่างทำไปเพราะความรัก ความเอ็นดู ความภูมิใจในพัฒนาการของลูก โดยลืมไปว่าเมื่อลูกเติบโตขึ้นทีละน้อย รูปที่เราคิดว่าน่ารักสดใสอาจไม่ใช่สิ่งที่เด็กคิด ความอันตรายและระมัดระวังได้ยากคือเมื่อคุณปล่อยข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับลูกคุณขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตแล้ว มันจะคงอยู่แบบนั้น ไม่มีทางรู้ว่าจะมีมิจฉาชีพหรือพวกใคร่เด็ก (Pedophilia) นำข้อมูลและรูปเด็กๆ ไปใช้ทำอะไรบ้าง

          Tanya Goodin มีคำแนะนำง่ายๆ ว่า จงขอความยินยอมจากลูกทุกครั้ง ถ้าคำตอบคือไม่ ก็อย่าทำ อย่าหลงเชื่อโฆษณาโซเชียลมีเดียว่านี่เป็นพื้นที่เก็บอัลบั้มครอบครัวเด็ดขาด

          อีกตัวอย่าง Tanya Goodin อ้างอิงคำพูดของศาสตราจารย์เดวิด วีล จิตแพทย์ด้านการปรึกษาและศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (Body Dysmorphic Disorder: BDD) (มีโรคแบบนี้ด้วยเหรอ?) เขากล่าวว่า

           “การเปรียบเทียบคือรูปแบบหนึ่งของการจัดอันดับตัวเองเทียบกับคนอื่น จัดอันดับความน่าดึงดูดของคุณลักษณะที่บ่งบอกความเป็น ‘ตัวตน’ ของเราให้อยู่ต่ำกว่าบุคคลอื่น และเราก็จะกลายเป็นคนที่วิจารณ์ตนเองในทางลบมากขึ้น การวิเคราะห์ หมกมุ่น เปรียบเทียบ และจัดอันดับคุณลักษณะตนเองนั้นเป็นพิษร้ายอย่างมากสำหรับสุขภาพจิตของเรา”

          ไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตา สถานะ ไลฟ์สไตล์ อาหาร ฯลฯ แทบทุกอย่างแล้วกระมังที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวเรา ทุกอย่างก้าวในชีวิตกลายเป็นคอนเทนต์ คือการบอกอัตลักษณ์ ทุกครั้งที่เราเห็นภาพชีวิตดีๆ ของคนอื่น มันยากเหลือเกินที่จะไม่เปรียบเทียบกับชีวิตตนเอง ทั้งที่ภาพบนโซเชียลมีเดียเป็นแค่ฉากหน้าที่ได้รับการประดับตกแต่งให้ดูหรูเลิศกว่าความเป็นจริง แต่ภูมิคุ้มกันของเราไม่มากพอ

          หรือ Clicktivism ที่หมายถึงการแสดงออกว่าสนับสนุนประเด็นทางการเมืองหรือสังคมบนอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่มักถูกมองว่าใช้ความพยายามหรือมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยน้อยมาก อธิบายให้ง่ายก็พวกการติดแฮชแท็ก เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ กดแชร์ กดถูกใจ ในประเด็นการเมือง-สังคม-วัฒนธรรม-เศรษฐกิจ เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุน แล้วหยุด ไม่มีการกระทำใดๆ มากกว่านั้น Tanya Goodin เหน็บแนมว่า

           “การแสดงออกว่าสนับสนุนการเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญทางออนไลน์สื่อให้คนอื่นได้เห็นถึงความมีศีลธรรมและความไม่เห็นแก่ตัวของเรา การส่งสัญญาณถึงคุณธรรมทางดิจิทัลก็เหมือนเราได้โบกธงเล็กๆ ทางออนไลน์ที่บอกว่า “ดูฉันสิ ทางนี้ ดูสิ! ดูสิว่าฉันเป็นคนดีขนาดไหน”

          ออกจะแรงไปหน่อย แต่ก็มีประเด็น

          การกดคลิกสร้างความรู้สึกว่าเพียงพอแล้ว แต่มันไม่พอ มีแค่ 1-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ลงมือปฏิบัติตามประเด็นเคลื่อนไหวที่ตนเข้าร่วม และยิ่งมีคนเข้าร่วมมากๆ ก็จะทำให้เกิด ‘การออมแรงทางสังคม’ (Social Loafing) กล่าวคือเราจะคิดหรือรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพราะคนอื่นกำลังทำอยู่ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่ากับฉันสนับสนุนแล้ว

          ความน่าสนใจอีกประการของหนังสือเล่มนี้ก็คือในตอนท้ายของแต่ละบทมันได้ให้นิยามของคำแต่ละคำ ระบุสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณเริ่มมีอาการแล้วหรือไม่ รวมถึงวิธีแก้ไข ใช่ครับ มันฟังดูฮาวทูไปหน่อย ถึงกระนั้นก็เป็นรูปธรรมจับต้องได้กว่าคำแนะนำเชิงจิตวิญญาณหรือการบริหารจิตใจด้วยศาสนา

          Tanya Goodin ยังมีคำแนะนำวิธีการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีว่า

          1. HUMANITY (ความเป็นมนุษย์) ‘เราทุกคนล้วนเชื่อมโยงกัน’

          2. AUTHENTICITY (ตัวตนจริงแท้) ‘ฉันเป็นตัวของตัวเองอยู่เสมอ’

          3. COLLABORATION (ร่วมมือกัน) ‘ร่วมมือกันย่อมทำได้มากกว่าทำคนเดียว’

          4. CRITICAL THINKING (คิดเชิงวิพากษ์) ‘ฉันตั้งคำถามกับทุกอย่าง’

          5. KINDNESS (ความใจดี) ‘ฉันปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเห็นอกเห็นใจ’

          คุณคงกำลังคิดว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิตและเทคโนโลยีก็เพียงแค่ต้องรู้จักจัดความสมดุลเท่านั้น ไม่มีอะไรยาก ก็ใช่ แต่นั่นยังไม่พอ ประการแรก ความแม่นยำในการประเมินความสมดุลของเราต่ำมาก ประการต่อมา มันต้องอาศัยสิ่งอื่นมากกว่านั้น

          เรารับมือกับ Fake News ความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต การกลั่นแกล้งออนไลน์ การหลอกลวง หรือการปลอมตัวตนด้วยความสมดุลเท่านั้นไม่ได้ Tanya Goodin บอกว่าเรายังต้องมีความรู้ ความเข้าใจ การเท่าทันเทคโนโลยี กฎหมาย และวิธีการปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้อยู่กับเทคโนโลยีอย่างผาสุก ความสมดุลเป็นแค่จุดเริ่มต้น

          วันนี้วิศวกรของกูเกิ้ลเปิดเผยว่า AI เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด

          วันหน้าเชื่อได้เลยว่ามนุษย์จะเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีมากกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่า

Share on facebook
Share on twitter

เรื่องโดย

253
VIEWS
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เรื่อง

เริ่มต้นอ่านหนังสือเพราะความอิจฉาในวัยรุ่นและเริ่มต้นทำเพจ WanderingBook เพราะความป่วยไข้ในวัยผู้ใหญ่ อันที่จริงการรีวิวหนังสือเป็นแค่ครึ่งหนึ่ง ครึ่งที่เหลือคือการบอกเล่าความคิดต่อผู้คน สังคม การเมือง และอื่นๆ ประดามีผ่านหนังสือ ใช้ชีวิตในห้องเล็กๆ กับหนังสือกองใหญ่…และแมวอีก 1 ตัวชื่อ ‘เพลโต’

          Sharenting, Vampire Shopping, Smombies, Cyberchondria, Clicktivism, Nomophobia, The Quantified Self ฯลฯ บรรดาคำสแลงที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับสมาร์ทโฟน โลกดิจิทัล และโซเชียลมีเดีย ในสังคมไทยยังมีช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (Digital Divide) อยู่มาก แต่เราคงปฏิเสธอิทธิพลของมันยากขึ้นทุกขณะ

          คุณคิดว่าคุณเสพติดสมาร์ทโฟน เสพติดโซเชียลมีเดียหรือเปล่า?

          คนส่วนใหญ่น่าจะตอบว่า ไม่ โดยธรรมชาติ…มนุษย์มักประเมินตนเองสูงกว่าที่เป็นจริง เราคิดว่าเราควบคุมชีวิตตนเองได้ ควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียได้ เอาเข้าจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น อีกทั้งเรายังให้คุณค่ากับพฤติกรรมที่ครั้งหนึ่งไม่ถูกกาลเทศะให้กลายเป็นเรื่องปกติ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดูตอนประชุม กลางวงสนทนา ระหว่างกินข้าว ยอมรับมาเถอะว่าเราทำแบบนี้กันทั้งนั้น โดยมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ ‘ใครๆ ก็ทำกัน’

          มันอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดาจริงๆ ก็ได้ เพราะวิถีชีวิตสัมพันธ์กับวัตถุและเทคโนโลยีมาแต่ไหนแต่ไร ผันเปลี่ยนเป็นพลวัต ลองดูข้อมูลเหล่านี้นะครับ

          – วัยรุ่น 52 เปอร์เซ็นต์ในสหราชอาณาจักรบอกว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้พวกเขามั่นใจน้อยลงในเรื่องรูปร่างหน้าตาตัวเอง

          – เด็กๆ มากกว่า 81 เปอร์เซ็นต์มีตัวตนบนโลกออนไลน์ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ

          – 28 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ยอมรับว่าเคยโจมตีด้วยความมุ่งร้ายทางออนไลน์

          – การคุยทางโทรศัพท์คือสาเหตุของการบาดเจ็บจากการเดินถึง 69 เปอร์เซ็นต์

          – คน 66 เปอร์เซ็นต์ กลัวการขาดมือถือ

          ฯลฯ

          เป็นตัวอย่างข้อมูลจากหนังสือ ‘MY BRAIN HAS TOO MANY TABS OPEN: How to Untangle Our Relationship with Tech’ หรือ ‘ปิดแท็บชีวิต แค่ปิดโซเชียล: รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล’ โดย Tanya Goodin คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับข้อมูลข้างต้นหรืออาจจะแค่ยักไหล่แล้วถามว่า “แล้วไง” นั่นแหละครับเพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่าตนสามารถควบคุมชีวิตได้ ไม่มีทางปล่อยให้เทคโนโลยีมีอำนาจเหนือตนหรอก

          เราจะละเรื่องนี้ไว้ แล้วมาสำรวจเนื้อหาของหนังสือกัน Tanya Goodin ผู้ริเริ่มการเคลื่อนไหวเพื่อล้างพิษดิจิทัลที่ชื่อ ‘Time To Log Off’ และนักรณรงค์ด้านจริยธรรมเทคโนโลยี ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรามากกว่าที่คิด ในบางครั้งก็มากเกินไป จนเราเป็นฝ่ายถูกมันควบคุม สูญเสียอิสรภาพ ส่งผลเสียต่อการทำงาน สุขภาพกายและจิต และกระทบถึงคนรอบข้าง …ก็เป็นเรื่องที่น่าจะรู้กันอยู่ แต่เธอทำให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยอ้างอิงข้อมูลจากงานศึกษาวิจัย งานสำรวจ สถิติ กรณีที่เกิดขึ้นจริง และปากคำของผู้เชี่ยวชาญ

          เราเห็นพ่อแม่โพสต์รูปลูกๆ บนโซเชียลมีเดียด้วยความภาคภูมิใจ แจกความสดใส น่ารัก ให้คนมากดไลค์ กดหัวใจ และคอมเมนต์ให้ใจฟูฟ่อง ตัวเลขที่ผมตกใจคือในสหราชอาณาจักรพบว่า เฉลี่ยแล้วพ่อแม่จะลงรูปลูกเกือบ 1,500 รูปก่อนลูกจะอายุครบ 5 เสียอีก มีศัพท์เฉพาะไว้เรียกพ่อแม่กลุ่มนี้ว่า Sharenting หรือพ่อแม่นักแชร์ ที่รวมศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันคือ Share กับ Parent

          หลายคนโต้เถียงว่ามันเรื่องของเขา ลูกของเขา แต่ Tanya Goodin แสดงให้เห็นว่าสิทธิเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่าเด็ก 5 ขวบไม่มีทางยินยอมหรือไม่ยินยอม พ่อแม่ต่างทำไปเพราะความรัก ความเอ็นดู ความภูมิใจในพัฒนาการของลูก โดยลืมไปว่าเมื่อลูกเติบโตขึ้นทีละน้อย รูปที่เราคิดว่าน่ารักสดใสอาจไม่ใช่สิ่งที่เด็กคิด ความอันตรายและระมัดระวังได้ยากคือเมื่อคุณปล่อยข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับลูกคุณขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตแล้ว มันจะคงอยู่แบบนั้น ไม่มีทางรู้ว่าจะมีมิจฉาชีพหรือพวกใคร่เด็ก (Pedophilia) นำข้อมูลและรูปเด็กๆ ไปใช้ทำอะไรบ้าง

          Tanya Goodin มีคำแนะนำง่ายๆ ว่า จงขอความยินยอมจากลูกทุกครั้ง ถ้าคำตอบคือไม่ ก็อย่าทำ อย่าหลงเชื่อโฆษณาโซเชียลมีเดียว่านี่เป็นพื้นที่เก็บอัลบั้มครอบครัวเด็ดขาด

          อีกตัวอย่าง Tanya Goodin อ้างอิงคำพูดของศาสตราจารย์เดวิด วีล จิตแพทย์ด้านการปรึกษาและศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (Body Dysmorphic Disorder: BDD) (มีโรคแบบนี้ด้วยเหรอ?) เขากล่าวว่า

           “การเปรียบเทียบคือรูปแบบหนึ่งของการจัดอันดับตัวเองเทียบกับคนอื่น จัดอันดับความน่าดึงดูดของคุณลักษณะที่บ่งบอกความเป็น ‘ตัวตน’ ของเราให้อยู่ต่ำกว่าบุคคลอื่น และเราก็จะกลายเป็นคนที่วิจารณ์ตนเองในทางลบมากขึ้น การวิเคราะห์ หมกมุ่น เปรียบเทียบ และจัดอันดับคุณลักษณะตนเองนั้นเป็นพิษร้ายอย่างมากสำหรับสุขภาพจิตของเรา”

          ไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตา สถานะ ไลฟ์สไตล์ อาหาร ฯลฯ แทบทุกอย่างแล้วกระมังที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวเรา ทุกอย่างก้าวในชีวิตกลายเป็นคอนเทนต์ คือการบอกอัตลักษณ์ ทุกครั้งที่เราเห็นภาพชีวิตดีๆ ของคนอื่น มันยากเหลือเกินที่จะไม่เปรียบเทียบกับชีวิตตนเอง ทั้งที่ภาพบนโซเชียลมีเดียเป็นแค่ฉากหน้าที่ได้รับการประดับตกแต่งให้ดูหรูเลิศกว่าความเป็นจริง แต่ภูมิคุ้มกันของเราไม่มากพอ

          หรือ Clicktivism ที่หมายถึงการแสดงออกว่าสนับสนุนประเด็นทางการเมืองหรือสังคมบนอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่มักถูกมองว่าใช้ความพยายามหรือมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยน้อยมาก อธิบายให้ง่ายก็พวกการติดแฮชแท็ก เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ กดแชร์ กดถูกใจ ในประเด็นการเมือง-สังคม-วัฒนธรรม-เศรษฐกิจ เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุน แล้วหยุด ไม่มีการกระทำใดๆ มากกว่านั้น Tanya Goodin เหน็บแนมว่า

           “การแสดงออกว่าสนับสนุนการเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญทางออนไลน์สื่อให้คนอื่นได้เห็นถึงความมีศีลธรรมและความไม่เห็นแก่ตัวของเรา การส่งสัญญาณถึงคุณธรรมทางดิจิทัลก็เหมือนเราได้โบกธงเล็กๆ ทางออนไลน์ที่บอกว่า “ดูฉันสิ ทางนี้ ดูสิ! ดูสิว่าฉันเป็นคนดีขนาดไหน”

          ออกจะแรงไปหน่อย แต่ก็มีประเด็น

          การกดคลิกสร้างความรู้สึกว่าเพียงพอแล้ว แต่มันไม่พอ มีแค่ 1-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ลงมือปฏิบัติตามประเด็นเคลื่อนไหวที่ตนเข้าร่วม และยิ่งมีคนเข้าร่วมมากๆ ก็จะทำให้เกิด ‘การออมแรงทางสังคม’ (Social Loafing) กล่าวคือเราจะคิดหรือรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพราะคนอื่นกำลังทำอยู่ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่ากับฉันสนับสนุนแล้ว

          ความน่าสนใจอีกประการของหนังสือเล่มนี้ก็คือในตอนท้ายของแต่ละบทมันได้ให้นิยามของคำแต่ละคำ ระบุสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณเริ่มมีอาการแล้วหรือไม่ รวมถึงวิธีแก้ไข ใช่ครับ มันฟังดูฮาวทูไปหน่อย ถึงกระนั้นก็เป็นรูปธรรมจับต้องได้กว่าคำแนะนำเชิงจิตวิญญาณหรือการบริหารจิตใจด้วยศาสนา

          Tanya Goodin ยังมีคำแนะนำวิธีการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีว่า

          1. HUMANITY (ความเป็นมนุษย์) ‘เราทุกคนล้วนเชื่อมโยงกัน’

          2. AUTHENTICITY (ตัวตนจริงแท้) ‘ฉันเป็นตัวของตัวเองอยู่เสมอ’

          3. COLLABORATION (ร่วมมือกัน) ‘ร่วมมือกันย่อมทำได้มากกว่าทำคนเดียว’

          4. CRITICAL THINKING (คิดเชิงวิพากษ์) ‘ฉันตั้งคำถามกับทุกอย่าง’

          5. KINDNESS (ความใจดี) ‘ฉันปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเห็นอกเห็นใจ’

          คุณคงกำลังคิดว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิตและเทคโนโลยีก็เพียงแค่ต้องรู้จักจัดความสมดุลเท่านั้น ไม่มีอะไรยาก ก็ใช่ แต่นั่นยังไม่พอ ประการแรก ความแม่นยำในการประเมินความสมดุลของเราต่ำมาก ประการต่อมา มันต้องอาศัยสิ่งอื่นมากกว่านั้น

          เรารับมือกับ Fake News ความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต การกลั่นแกล้งออนไลน์ การหลอกลวง หรือการปลอมตัวตนด้วยความสมดุลเท่านั้นไม่ได้ Tanya Goodin บอกว่าเรายังต้องมีความรู้ ความเข้าใจ การเท่าทันเทคโนโลยี กฎหมาย และวิธีการปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้อยู่กับเทคโนโลยีอย่างผาสุก ความสมดุลเป็นแค่จุดเริ่มต้น

          วันนี้วิศวกรของกูเกิ้ลเปิดเผยว่า AI เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด

          วันหน้าเชื่อได้เลยว่ามนุษย์จะเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีมากกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่า

Share on facebook
Share on twitter

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เรื่อง

เริ่มต้นอ่านหนังสือเพราะความอิจฉาในวัยรุ่นและเริ่มต้นทำเพจ WanderingBook เพราะความป่วยไข้ในวัยผู้ใหญ่ อันที่จริงการรีวิวหนังสือเป็นแค่ครึ่งหนึ่ง ครึ่งที่เหลือคือการบอกเล่าความคิดต่อผู้คน สังคม การเมือง และอื่นๆ ประดามีผ่านหนังสือ ใช้ชีวิตในห้องเล็กๆ กับหนังสือกองใหญ่…และแมวอีก 1 ตัวชื่อ ‘เพลโต’

Related Posts

คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หนังสือที่ชวนออกแบบสภาพแวดล้อมที่สำคัญกับนวัตกร
Book of Commons

‘คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก’ หนังสือที่ชวนออกแบบสภาพแวดล้อมที่สำคัญกับนวัตกร

July 25, 2022
336
‘ทำไมเราไม่ฟังกัน’ เมื่อเราแค่ได้ยินเสียง แต่ไม่ได้ฟังเรื่องราว
Book of Commons

‘ทำไมเราไม่ฟังกัน’ เมื่อเราแค่ได้ยินเสียง แต่ไม่ได้ฟังเรื่องราว

July 19, 2022
506
ในหนังมีศิลปะ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์
Book of Commons

‘ในหนังมีศิลปะ’ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์

June 27, 2022
498

Related Posts

คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หนังสือที่ชวนออกแบบสภาพแวดล้อมที่สำคัญกับนวัตกร
Book of Commons

‘คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก’ หนังสือที่ชวนออกแบบสภาพแวดล้อมที่สำคัญกับนวัตกร

July 25, 2022
336
‘ทำไมเราไม่ฟังกัน’ เมื่อเราแค่ได้ยินเสียง แต่ไม่ได้ฟังเรื่องราว
Book of Commons

‘ทำไมเราไม่ฟังกัน’ เมื่อเราแค่ได้ยินเสียง แต่ไม่ได้ฟังเรื่องราว

July 19, 2022
506
ในหนังมีศิลปะ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์
Book of Commons

‘ในหนังมีศิลปะ’ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์

June 27, 2022
498
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_bcd8db37635e03689921bdf7d44de905.js