The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
UNCOMMON
Common SENSE
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ สังเคราะห์แนวคิดจากบริบทไทย
Common SENSE
  • Common SENSE

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ สังเคราะห์แนวคิดจากบริบทไทย

2,424 views

 5 mins

< 1 MIN

July 22, 2021

Last updated - September 23, 2021

          โดยทั่วไป แนวคิดเกี่ยวกับ ‘สภาพแวดล้อมการเรียนรู้’ (Learning Environment) มักเกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศในชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน อีกคำหนึ่งที่เห็นใช้กันมากคือ ‘ระบบนิเวศการเรียนรู้’ (Learning Ecosystem) มีความหมายที่ขยายขอบเขตมากกว่าพื้นที่โรงเรียน แต่ครอบคลุมไปถึงสถานที่ทำงาน ชุมชน ซึ่งแวดล้อมด้วยทรัพยากร ผู้คน และเทคโนโลยี ซึ่งล้วนมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ

          อย่างไรก็ดี มโนทัศน์ของคำว่า “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้” มักถูกโน้มนำให้นึกถึงเพียงแค่การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพดังเช่นอาคารสถานที่หรือสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการขยับมุมมองไปยังมิติเชิงวัฒนธรรมรวมถึงระบบโครงสร้างการศึกษา แล้วนำมาทดลองสังเคราะห์ จึงพอจะสรุปแนวคิดเบื้องต้นว่าด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ได้ ดังแผนภาพ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ สังเคราะห์แนวคิดจากบริบทไทย

          จากรูป สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ ควรมีองค์ประกอบที่จำเป็น 6 ประการได้แก่

          1. แหล่งเรียนรู้หรือพื้นที่การเรียนรู้ ที่มีทรัพยากรหลากหลายและเพียงพอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ นี่คือมุมมองในเรื่องพื้นที่กายภาพซึ่งคุ้นเคยกันดี

          2. เนื้อหาสาระ หรือ Content แบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือองค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และส่วนที่สองคือสื่อการเรียนรู้ เป็นตัวกลางที่นำองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือผู้ใช้

          3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในลักษณะที่เป็นทั้งโครงการ อีเว้นท์ และการรณรงค์ ซึ่งควรเน้นการสร้างประสบการณ์แก่ผู้ใช้ในลักษณะของการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้หรือบทเรียนจากการลงมือทำไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว

          4. ความหลากหลาย หมายถึงการยอมรับในความแตกต่างทั้งความคิดและวิถีชีวิต เคารพในอัตลักษณ์ย่อยไม่ให้ถูกกลืนหาย โดยไม่จำเป็นต้องแสวงหาความเป็นหนึ่งเดียวเสมอไป

          5. ความคิดสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงตรรกะ คิดเป็นระบบ และความมีเหตุผล ตลอดไปจนถึงการคิดนอกกกรอบ การคิดแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดจนเกิดเป็นนวัตกรรม

          6. เสรีภาพในการแสดงออกทั้งการคิดการเขียนและการพูด โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบในการใช้เสรีภาพที่จะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือคนส่วนใหญ่

          อุปสรรคของการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ในสังคมไทยนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบสามประการแรก (แน่นอนว่ามิใช่หมายความว่าองค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีปัญหาในเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในการจัดการความรู้เพื่อสร้างต้นแบบหรือแนวปฏิบัติที่ดี การเข้าถึง และผลกระทบทางสังคม) แต่อยู่ที่องค์ประกอบสามประการหลังซึ่งอาจเรียกรวมกันไปว่า ‘บริบทที่ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์’

          กล่าวสำหรับการเรียนรู้ ปัญหาระดับรากฐานที่สุดคือสังคมไทยขาดการส่งเสริมให้คนรู้จักคิดวิเคราะห์คิดเป็นระบบและคิดอย่างมีเหตุผล หรือที่พูดกันจนแทบจะเป็นที่ยอมรับกันไปแล้วว่าเด็ก (นักเรียน) ไทยคิดไม่เป็น ซึ่งทักษะการคิดดังกล่าวจะฝึกฝนเรียนรู้กันได้ก็ต่อเมื่อระบบการศึกษามีบรรยากาศเปิดกว้าง ใช้อำนาจน้อย ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิคและการท่องจำ ให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ ย้ายความรู้ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ด้วยความเชื่อว่านักเรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กระตุ้นและคอยให้คำแนะนำ

          ในขณะเดียวกัน ระบบอุปถัมภ์และลักษณะอำนาจนิยมในสังคมไทยยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บั่นทอนการคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์อย่างร้ายแรง ทำให้พื้นฐานการวิจารณ์อ่อนแอ ขาดนิสัยการใช้เหตุผล หลักการไม่หนักแน่น คนไม่เห็นความจำเป็นของความรู้และความสามารถในการคิดเป็น ยอมรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การใช้เส้นสายและพวกพ้อง เน้นอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจเหนือกว่า ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและลงมือทำ เพราะกลัวถูกตำหนิหรือกลัวล้มเหลว

          ตราบใดที่ปัญหาเรื้องรังเหล่านี้ยังคงอยู่ มันก็จะยังคงกัดกินสังคมไทยจนไม่อาจสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผู้เสนอทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาแต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีข้อเสนอใดที่แตะลงไปถึงรากเหง้า นั่นคือ ‘ระบบอุปถัมภ์และลักษณะอำนาจนิยม’ ที่ฝังรากจนอาจเรียกได้ว่ากลายเป็นวัฒนธรรมเร้นลึก (Deep Culture) ที่ฝังอยู่ในยีนทางวัฒนธรรมของคนไทย

          บทสังเคราะห์นี้อาจเป็นข้อสรุปที่ออกจะรวบรัดและมองโลกในแง่ร้าย และเป็นไปได้ว่าอาจยังไม่ครอบคลุมรอบด้าน หรือแม้กระทั่งอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้

          แต่ใช่หรือไม่ว่าทั้งๆ ที่รู้ เราต่างก็ปล่อยปละละเลยปัญหาเหล่านี้ให้สั่งสมมานานจนเกินไปแล้ว


ที่มา

Cover Photo by Taylor Wilcox on Unsplash


เผยแพร่ครั้งแรก  ธันวาคม 2560
พิมพ์รวมเล่มในหนังสือ โหล (2560)

เรื่องโดย

2.4k
VIEWS
วัฒนชัย วินิจจะกูล เรื่อง

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

          โดยทั่วไป แนวคิดเกี่ยวกับ ‘สภาพแวดล้อมการเรียนรู้’ (Learning Environment) มักเกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศในชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน อีกคำหนึ่งที่เห็นใช้กันมากคือ ‘ระบบนิเวศการเรียนรู้’ (Learning Ecosystem) มีความหมายที่ขยายขอบเขตมากกว่าพื้นที่โรงเรียน แต่ครอบคลุมไปถึงสถานที่ทำงาน ชุมชน ซึ่งแวดล้อมด้วยทรัพยากร ผู้คน และเทคโนโลยี ซึ่งล้วนมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ

          อย่างไรก็ดี มโนทัศน์ของคำว่า “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้” มักถูกโน้มนำให้นึกถึงเพียงแค่การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพดังเช่นอาคารสถานที่หรือสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการขยับมุมมองไปยังมิติเชิงวัฒนธรรมรวมถึงระบบโครงสร้างการศึกษา แล้วนำมาทดลองสังเคราะห์ จึงพอจะสรุปแนวคิดเบื้องต้นว่าด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ได้ ดังแผนภาพ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ สังเคราะห์แนวคิดจากบริบทไทย

          จากรูป สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ ควรมีองค์ประกอบที่จำเป็น 6 ประการได้แก่

          1. แหล่งเรียนรู้หรือพื้นที่การเรียนรู้ ที่มีทรัพยากรหลากหลายและเพียงพอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ นี่คือมุมมองในเรื่องพื้นที่กายภาพซึ่งคุ้นเคยกันดี

          2. เนื้อหาสาระ หรือ Content แบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือองค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และส่วนที่สองคือสื่อการเรียนรู้ เป็นตัวกลางที่นำองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือผู้ใช้

          3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในลักษณะที่เป็นทั้งโครงการ อีเว้นท์ และการรณรงค์ ซึ่งควรเน้นการสร้างประสบการณ์แก่ผู้ใช้ในลักษณะของการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้หรือบทเรียนจากการลงมือทำไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว

          4. ความหลากหลาย หมายถึงการยอมรับในความแตกต่างทั้งความคิดและวิถีชีวิต เคารพในอัตลักษณ์ย่อยไม่ให้ถูกกลืนหาย โดยไม่จำเป็นต้องแสวงหาความเป็นหนึ่งเดียวเสมอไป

          5. ความคิดสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงตรรกะ คิดเป็นระบบ และความมีเหตุผล ตลอดไปจนถึงการคิดนอกกกรอบ การคิดแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดจนเกิดเป็นนวัตกรรม

          6. เสรีภาพในการแสดงออกทั้งการคิดการเขียนและการพูด โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบในการใช้เสรีภาพที่จะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือคนส่วนใหญ่

          อุปสรรคของการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ในสังคมไทยนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบสามประการแรก (แน่นอนว่ามิใช่หมายความว่าองค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีปัญหาในเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในการจัดการความรู้เพื่อสร้างต้นแบบหรือแนวปฏิบัติที่ดี การเข้าถึง และผลกระทบทางสังคม) แต่อยู่ที่องค์ประกอบสามประการหลังซึ่งอาจเรียกรวมกันไปว่า ‘บริบทที่ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์’

          กล่าวสำหรับการเรียนรู้ ปัญหาระดับรากฐานที่สุดคือสังคมไทยขาดการส่งเสริมให้คนรู้จักคิดวิเคราะห์คิดเป็นระบบและคิดอย่างมีเหตุผล หรือที่พูดกันจนแทบจะเป็นที่ยอมรับกันไปแล้วว่าเด็ก (นักเรียน) ไทยคิดไม่เป็น ซึ่งทักษะการคิดดังกล่าวจะฝึกฝนเรียนรู้กันได้ก็ต่อเมื่อระบบการศึกษามีบรรยากาศเปิดกว้าง ใช้อำนาจน้อย ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิคและการท่องจำ ให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ ย้ายความรู้ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ด้วยความเชื่อว่านักเรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กระตุ้นและคอยให้คำแนะนำ

          ในขณะเดียวกัน ระบบอุปถัมภ์และลักษณะอำนาจนิยมในสังคมไทยยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บั่นทอนการคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์อย่างร้ายแรง ทำให้พื้นฐานการวิจารณ์อ่อนแอ ขาดนิสัยการใช้เหตุผล หลักการไม่หนักแน่น คนไม่เห็นความจำเป็นของความรู้และความสามารถในการคิดเป็น ยอมรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การใช้เส้นสายและพวกพ้อง เน้นอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจเหนือกว่า ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและลงมือทำ เพราะกลัวถูกตำหนิหรือกลัวล้มเหลว

          ตราบใดที่ปัญหาเรื้องรังเหล่านี้ยังคงอยู่ มันก็จะยังคงกัดกินสังคมไทยจนไม่อาจสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผู้เสนอทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาแต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีข้อเสนอใดที่แตะลงไปถึงรากเหง้า นั่นคือ ‘ระบบอุปถัมภ์และลักษณะอำนาจนิยม’ ที่ฝังรากจนอาจเรียกได้ว่ากลายเป็นวัฒนธรรมเร้นลึก (Deep Culture) ที่ฝังอยู่ในยีนทางวัฒนธรรมของคนไทย

          บทสังเคราะห์นี้อาจเป็นข้อสรุปที่ออกจะรวบรัดและมองโลกในแง่ร้าย และเป็นไปได้ว่าอาจยังไม่ครอบคลุมรอบด้าน หรือแม้กระทั่งอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้

          แต่ใช่หรือไม่ว่าทั้งๆ ที่รู้ เราต่างก็ปล่อยปละละเลยปัญหาเหล่านี้ให้สั่งสมมานานจนเกินไปแล้ว


ที่มา

Cover Photo by Taylor Wilcox on Unsplash


เผยแพร่ครั้งแรก  ธันวาคม 2560
พิมพ์รวมเล่มในหนังสือ โหล (2560)

วัฒนชัย วินิจจะกูล เรื่อง

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

Related Posts

7 เคล็ดลับปรับตัวให้เป็น Lifelong Learner
Common SENSE

7 เคล็ดลับปรับตัวให้เป็น Lifelong Learner

April 7, 2022
666
คิดนอกกรอบ
Common SENSE

คิดนอกกรอบ

August 24, 2021
5.7k
ห้องสมุด การอ่าน การเรียนรู้ หนึ่งทศวรรษที่ฝนทั่งยังไม่เป็นเข็ม
Common SENSE

ห้องสมุด การอ่าน การเรียนรู้ หนึ่งทศวรรษที่ฝนทั่งยังไม่เป็นเข็ม

January 4, 2021
335

Related Posts

7 เคล็ดลับปรับตัวให้เป็น Lifelong Learner
Common SENSE

7 เคล็ดลับปรับตัวให้เป็น Lifelong Learner

April 7, 2022
666
คิดนอกกรอบ
Common SENSE

คิดนอกกรอบ

August 24, 2021
5.7k
ห้องสมุด การอ่าน การเรียนรู้ หนึ่งทศวรรษที่ฝนทั่งยังไม่เป็นเข็ม
Common SENSE

ห้องสมุด การอ่าน การเรียนรู้ หนึ่งทศวรรษที่ฝนทั่งยังไม่เป็นเข็ม

January 4, 2021
335
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_02d6798ad2e348ab33bb1586ec0983fc.js