The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Common WORLD
เรียน (รู้) แบบอัจฉริยะ คิดข้ามศาสตร์อย่างเลโอนาร์โด ดา วินชี
Common WORLD
  • Common WORLD

เรียน (รู้) แบบอัจฉริยะ คิดข้ามศาสตร์อย่างเลโอนาร์โด ดา วินชี

18,353 views

 7 mins

3 MINS

June 8, 2021

Last updated - September 22, 2021

          เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo Da Vinci) เจ้าของผลงานชิ้นเอกระดับโลกอย่างภาพวาด Mona Lisa และ The Last Supper ไม่ได้เป็นเพียงศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งนักประดิษฐ์ นักออกแบบ นักดนตรี นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ จนได้ชื่อว่าเป็น ‘พหูสูต’ แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

          สมุดบันทึกหลายพันหน้าของเขา คือหลักฐานยืนยันถึงความคิดต่างๆ ที่เป็นรากฐานของการศึกษายุคปัจจุบัน เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามศาสตร์หรือ ‘สหวิทยาการ’ และสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาแบบ ‘STEAM’  ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

          เส้นทางสู่การเป็นอัจฉริยะของ เลโอนาร์โด ดา วินชี มีที่มาที่ไปอย่างไร องค์ความรู้ต่างๆ ที่เขาค้นพบตั้งต้นจากวิธีการเรียนรู้แบบไหน บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ

เริ่มต้นด้วย ‘ความสงสัยใคร่รู้’ ที่ไม่รู้จบ

          ความอยากรู้อยากเห็นที่ไร้ขีดจำกัด คือกุญแจสำคัญที่นักคิดในประวัติศาสตร์มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นอริสโตเติล, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, มารี กูว์รี, นิโคลา เทสลา และคนอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน บุคคลเหล่านี้มักมีความกระหายในความรู้ และมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะค้นหาคำตอบของสรรพสิ่งรอบตัว

          เช่นเดียวกับ ดา วินชี ผู้มีความหลงใหลในธรรมชาติมาตั้งแต่วัยเด็ก เขามักสงสัยและตั้งคำถามว่านก ปลา และสัตว์อื่นๆ นั้นสามารถบิน ว่ายน้ำ และเคลื่อนไหวได้อย่างไร ความสงสัยที่ว่านี้จุดประกายให้เขาสนใจกลไกการทำงานของทุกสิ่งรอบตัว นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์และงานศิลปะในเวลาต่อมา

          เมื่อมีความสงสัยในประเด็นใดก็ตาม เขาจะหมกมุ่นอยู่กับมัน พยายามแสวงหาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยมีความอยากรู้อยากเห็นส่วนตัวเป็นแรงผลักดัน จากนั้นก็ทำการทดลองอย่างต่อเนื่องจนนำมาสู่การค้นพบคำตอบใหม่ๆ

          ตอนอายุ 20 ปี ดา วินชี ได้เข้าร่วมสมาคมศิลปินในเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในฐานะจิตรกรฝึกหัด ได้มีโอกาสฝึกฝนการวาดภาพวัตถุสิ่งของในธรรมชาติ เรียนรู้เรื่องแสงเงาจนชำนาญ และก้าวข้ามจากจิตรกรฝึกหัด ไปสู่ศิลปินผู้มากความสามารถได้ในวัยยี่สิบกลางๆ เท่านั้น

          หลายปีต่อมา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ คือสาขาที่เขาสนใจ สิ่งที่เขาทำคือการผ่าซากศพ เพื่อค้นหาว่ากลไกในร่างกายทำงานประสานกันอย่างไร จดบันทึกไว้อย่างละเอียดโดยเก็บวิธีการทดลองนี้ไว้เป็นความลับ หารู้ไม่ว่าในเวลาต่อมา หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว สิ่งที่เขาบันทึกไว้จะกลายมาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และการแพทย์สมัยใหม่

  • ภาพวาดการศึกษาทารกในครรภ์ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มา: commons.wikimedia.org
    ภาพวาดการศึกษาทารกในครรภ์ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มา: commons.wikimedia.org
  • ภาพวาดการศึกษากลไก ข้อต่อ และการทำงานของแขนมนุษย์ ที่มา: wikipedia
    ภาพวาดการศึกษากลไก ข้อต่อ และการทำงานของแขนมนุษย์ ที่มา: wikipedia

เรียนรู้หลากสาขา เชื่อมโยงสรรพวิชา

          ความสนใจของ ดา วินชี ไม่จำกัดอยู่เพียงสาขาใดสาขาหนึ่ง เขาเรียนรู้ทุกศาสตร์อย่างไม่มีขอบเขต ตั้งแต่ศิลปะ ปรัชญา ไปจนถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ทักษะที่ได้รับจากสาขาวิชาหนึ่งมักจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่คาดคิด นำไปสู่อีกทักษะหนึ่งซึ่งยังไม่ถูกค้นพบ

          ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่เลื่องลือ คือการนำความรู้เรื่องเรขาคณิตไปปรับใช้กับกายวิภาคศาสตร์ โดยสามารถพิสูจน์ทฤษฎีของ มาร์กุส วิทรูวิอุส ป็อลลิโอ (Marcus Vitruvius Pollio) สถาปนิกและวิศวกรยุคโรมัน ที่อธิบายสัดส่วนโครงสร้างมนุษย์ไว้ว่า เมื่อคนยืนกางแขนกางขา จะสามารถวางทาบลงในกรอบรูปวงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้พอดี โดยมีสะดือเป็นจุดศูนย์กลาง ภาพรวมของร่างกายมนุษย์จึงถือเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์

          จากการศึกษาสัดส่วนโครงสร้างมนุษย์และระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ อย่างเป็นระบบ เลโอนาร์โดใช้ข้อมูลเหล่านั้นเปรียบเทียบกับคำอธิบายของวิทรูวิอุส แสดงให้เห็นเป็นภาพ ‘Vitruvian Man’ ในช่วงปี 1490 และเขียนข้อความประกอบไว้ว่า “ภาพนี้วาดขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาสรีระของร่างกายมนุษย์เพศชาย ตามที่ถูกบันทึกไว้โดยวิทรูวิอุส” ภาพดังกล่าวได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพแสดงสัดส่วนของมนุษย์ที่มีความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์มากที่สุด เป็นตัวอย่างของการผสมผสานระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์ และเป็นความพยายามที่จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

          จะเห็นว่าการค้นพบของ ดา วินชี เกิดจากการนำองค์ความรู้หลากหลายศาสตร์มาเชื่อมโยงกัน เริ่มจากการเชื่อมโยงเรขาคณิตกับกายวิภาคศาสตร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับธรรมชาติ จากนั้นก็สังเคราะห์ออกมาโดยใช้ทักษะด้านศิลปะ นอกจากตัวอย่างที่ว่ามา เขายังสามารถประยุกต์ความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ได้อีกหลายรูปแบบ

          ในแง่หนึ่ง เขาแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีขอบเขต แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เราตระหนักว่า แท้จริงแล้วศาสตร์ต่างๆ ทั้งล้วนเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การแบ่งแยกสาขาวิชาในระบบการศึกษาปัจจุบัน ก็เพียงเพื่อนิยามความหมายให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ มิใช่เพื่อแยกองค์ความรู้ออกจากกัน

ภาพ ‘Vitruvian Man’ หนึ่งในผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ ที่มา: wikipedia
ภาพ ‘Vitruvian Man’ หนึ่งในผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ ที่มา: wikipedia

แรงบันดาลใจสู่แนวทางการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน

          วิธีคิดของ ดา วินชี ถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน นักวิชาการด้านการศึกษาเสนอว่าศิลปะและวิทยาศาสตร์ควร ‘สอนร่วมกัน’ ดังที่แพม เบอร์นาร์ด (Pam Burnard) ศาสตราจารย์ด้านศิลปะจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราดูการออกแบบอันน่าทึ่งของเลโอนาร์โด ดา วินชี เห็นได้ชัดว่าเขารวมศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาความรู้และแก้ปัญหา เราจำเป็นต้องกระตุ้นให้เด็กๆ คิดในทางเดียวกันนี้ เพราะผู้ใหญ่ในวันพรุ่งนี้จะต้องแก้ไขปัญหาที่แตกต่างออกไปจากวิกฤตการณ์ที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และความไม่แน่นอนของสิ่งมีชีวิตบนโลก”

          เช่นเดียวกับความเห็นของ ลอรา โคลุชชี่-เกรย์ (Laura Colucci-Grey) จาก School of Education and Sport แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ที่บอกว่า “ธรรมชาติของปัญหาเหล่านี้ เรียกร้องให้มีแนวทางการเรียนรู้ที่แตกต่าง เรากำลังเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องหลักสูตร จากสิ่งที่เด็กๆ มักได้รับเพียงแค่ ‘การให้ความรู้’ มาเป็นหลักสูตร ‘การสร้างความรู้’ เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะกำหนดชีวิตของพวกเขา”

          จากข้อเสนอดังกล่าว นำมาสู่การพัฒนารูปแบบศึกษาแนวใหม่ที่เรียกว่า ‘STEAM’ ซึ่งต่อยอดมาจากการศึกษาแบบ ‘STEM’ ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแนวทางการศึกษาเพื่อสร้างทักษะสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21

          นักการศึกษาบางคนให้เหตุผลว่า การให้ความสำคัญกับ STEM อาจเป็นการลดคุณค่าวิชาอื่นๆ ลงไป ขณะเดียวกันสาขาวิชาศิลปะยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งมอบทักษะการแก้ปัญหาที่สังคมต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการผนวกศิลปะ (Art) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ด้วย เพื่อส่งเสริมให้ เกิดกระบวนการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และนั่นอาจนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ ของโลกใบนี้ ดังที่ เลโอนาร์โด ดา วินชี และนักปราชญ์อีกหลายคนได้วางรากฐานไว้


ที่มา

Mission. Learn Like Leonardo da Vinci. [Online]

Rajeet Singh. How to Learn like a Genius: The Da Vinci Method. [Online]

Robin Payes. What Leonardo da Vinci Can Tell Us About STEM vs STEAM. [Online]

ScienceDaily. Teaching pupils to ‘think like Da Vinci’ will help them to take on climate change. [Online]

Stefani A. Allegretti. STEAM Everything Connects to Everything Else. [Online]

wikiHow. How to Think Like Leonardo Da Vinci. [Online]

Cover Photo by Eric TERRADE on Unsplash

Tags: Leonardo Da Vinciการเรียนรู้ข้ามศาตร์

เรื่องโดย

18.4k
VIEWS
ปัทมา เจริญกรกิจ เรื่อง

นักหัดเขียนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรม ชอบเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเชื่อในการเรียนรู้จากประสบการณ์

          เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo Da Vinci) เจ้าของผลงานชิ้นเอกระดับโลกอย่างภาพวาด Mona Lisa และ The Last Supper ไม่ได้เป็นเพียงศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งนักประดิษฐ์ นักออกแบบ นักดนตรี นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ จนได้ชื่อว่าเป็น ‘พหูสูต’ แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

          สมุดบันทึกหลายพันหน้าของเขา คือหลักฐานยืนยันถึงความคิดต่างๆ ที่เป็นรากฐานของการศึกษายุคปัจจุบัน เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามศาสตร์หรือ ‘สหวิทยาการ’ และสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาแบบ ‘STEAM’  ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

          เส้นทางสู่การเป็นอัจฉริยะของ เลโอนาร์โด ดา วินชี มีที่มาที่ไปอย่างไร องค์ความรู้ต่างๆ ที่เขาค้นพบตั้งต้นจากวิธีการเรียนรู้แบบไหน บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ

เริ่มต้นด้วย ‘ความสงสัยใคร่รู้’ ที่ไม่รู้จบ

          ความอยากรู้อยากเห็นที่ไร้ขีดจำกัด คือกุญแจสำคัญที่นักคิดในประวัติศาสตร์มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นอริสโตเติล, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, มารี กูว์รี, นิโคลา เทสลา และคนอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน บุคคลเหล่านี้มักมีความกระหายในความรู้ และมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะค้นหาคำตอบของสรรพสิ่งรอบตัว

          เช่นเดียวกับ ดา วินชี ผู้มีความหลงใหลในธรรมชาติมาตั้งแต่วัยเด็ก เขามักสงสัยและตั้งคำถามว่านก ปลา และสัตว์อื่นๆ นั้นสามารถบิน ว่ายน้ำ และเคลื่อนไหวได้อย่างไร ความสงสัยที่ว่านี้จุดประกายให้เขาสนใจกลไกการทำงานของทุกสิ่งรอบตัว นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์และงานศิลปะในเวลาต่อมา

          เมื่อมีความสงสัยในประเด็นใดก็ตาม เขาจะหมกมุ่นอยู่กับมัน พยายามแสวงหาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยมีความอยากรู้อยากเห็นส่วนตัวเป็นแรงผลักดัน จากนั้นก็ทำการทดลองอย่างต่อเนื่องจนนำมาสู่การค้นพบคำตอบใหม่ๆ

          ตอนอายุ 20 ปี ดา วินชี ได้เข้าร่วมสมาคมศิลปินในเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในฐานะจิตรกรฝึกหัด ได้มีโอกาสฝึกฝนการวาดภาพวัตถุสิ่งของในธรรมชาติ เรียนรู้เรื่องแสงเงาจนชำนาญ และก้าวข้ามจากจิตรกรฝึกหัด ไปสู่ศิลปินผู้มากความสามารถได้ในวัยยี่สิบกลางๆ เท่านั้น

          หลายปีต่อมา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ คือสาขาที่เขาสนใจ สิ่งที่เขาทำคือการผ่าซากศพ เพื่อค้นหาว่ากลไกในร่างกายทำงานประสานกันอย่างไร จดบันทึกไว้อย่างละเอียดโดยเก็บวิธีการทดลองนี้ไว้เป็นความลับ หารู้ไม่ว่าในเวลาต่อมา หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว สิ่งที่เขาบันทึกไว้จะกลายมาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และการแพทย์สมัยใหม่

  • ภาพวาดการศึกษาทารกในครรภ์ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มา: commons.wikimedia.org
    ภาพวาดการศึกษาทารกในครรภ์ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มา: commons.wikimedia.org
  • ภาพวาดการศึกษากลไก ข้อต่อ และการทำงานของแขนมนุษย์ ที่มา: wikipedia
    ภาพวาดการศึกษากลไก ข้อต่อ และการทำงานของแขนมนุษย์ ที่มา: wikipedia

เรียนรู้หลากสาขา เชื่อมโยงสรรพวิชา

          ความสนใจของ ดา วินชี ไม่จำกัดอยู่เพียงสาขาใดสาขาหนึ่ง เขาเรียนรู้ทุกศาสตร์อย่างไม่มีขอบเขต ตั้งแต่ศิลปะ ปรัชญา ไปจนถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ทักษะที่ได้รับจากสาขาวิชาหนึ่งมักจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่คาดคิด นำไปสู่อีกทักษะหนึ่งซึ่งยังไม่ถูกค้นพบ

          ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่เลื่องลือ คือการนำความรู้เรื่องเรขาคณิตไปปรับใช้กับกายวิภาคศาสตร์ โดยสามารถพิสูจน์ทฤษฎีของ มาร์กุส วิทรูวิอุส ป็อลลิโอ (Marcus Vitruvius Pollio) สถาปนิกและวิศวกรยุคโรมัน ที่อธิบายสัดส่วนโครงสร้างมนุษย์ไว้ว่า เมื่อคนยืนกางแขนกางขา จะสามารถวางทาบลงในกรอบรูปวงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้พอดี โดยมีสะดือเป็นจุดศูนย์กลาง ภาพรวมของร่างกายมนุษย์จึงถือเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์

          จากการศึกษาสัดส่วนโครงสร้างมนุษย์และระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ อย่างเป็นระบบ เลโอนาร์โดใช้ข้อมูลเหล่านั้นเปรียบเทียบกับคำอธิบายของวิทรูวิอุส แสดงให้เห็นเป็นภาพ ‘Vitruvian Man’ ในช่วงปี 1490 และเขียนข้อความประกอบไว้ว่า “ภาพนี้วาดขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาสรีระของร่างกายมนุษย์เพศชาย ตามที่ถูกบันทึกไว้โดยวิทรูวิอุส” ภาพดังกล่าวได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพแสดงสัดส่วนของมนุษย์ที่มีความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์มากที่สุด เป็นตัวอย่างของการผสมผสานระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์ และเป็นความพยายามที่จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

          จะเห็นว่าการค้นพบของ ดา วินชี เกิดจากการนำองค์ความรู้หลากหลายศาสตร์มาเชื่อมโยงกัน เริ่มจากการเชื่อมโยงเรขาคณิตกับกายวิภาคศาสตร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับธรรมชาติ จากนั้นก็สังเคราะห์ออกมาโดยใช้ทักษะด้านศิลปะ นอกจากตัวอย่างที่ว่ามา เขายังสามารถประยุกต์ความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ได้อีกหลายรูปแบบ

          ในแง่หนึ่ง เขาแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีขอบเขต แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เราตระหนักว่า แท้จริงแล้วศาสตร์ต่างๆ ทั้งล้วนเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การแบ่งแยกสาขาวิชาในระบบการศึกษาปัจจุบัน ก็เพียงเพื่อนิยามความหมายให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ มิใช่เพื่อแยกองค์ความรู้ออกจากกัน

ภาพ ‘Vitruvian Man’ หนึ่งในผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ ที่มา: wikipedia
ภาพ ‘Vitruvian Man’ หนึ่งในผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ ที่มา: wikipedia

แรงบันดาลใจสู่แนวทางการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน

          วิธีคิดของ ดา วินชี ถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน นักวิชาการด้านการศึกษาเสนอว่าศิลปะและวิทยาศาสตร์ควร ‘สอนร่วมกัน’ ดังที่แพม เบอร์นาร์ด (Pam Burnard) ศาสตราจารย์ด้านศิลปะจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราดูการออกแบบอันน่าทึ่งของเลโอนาร์โด ดา วินชี เห็นได้ชัดว่าเขารวมศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาความรู้และแก้ปัญหา เราจำเป็นต้องกระตุ้นให้เด็กๆ คิดในทางเดียวกันนี้ เพราะผู้ใหญ่ในวันพรุ่งนี้จะต้องแก้ไขปัญหาที่แตกต่างออกไปจากวิกฤตการณ์ที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และความไม่แน่นอนของสิ่งมีชีวิตบนโลก”

          เช่นเดียวกับความเห็นของ ลอรา โคลุชชี่-เกรย์ (Laura Colucci-Grey) จาก School of Education and Sport แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ที่บอกว่า “ธรรมชาติของปัญหาเหล่านี้ เรียกร้องให้มีแนวทางการเรียนรู้ที่แตกต่าง เรากำลังเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องหลักสูตร จากสิ่งที่เด็กๆ มักได้รับเพียงแค่ ‘การให้ความรู้’ มาเป็นหลักสูตร ‘การสร้างความรู้’ เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะกำหนดชีวิตของพวกเขา”

          จากข้อเสนอดังกล่าว นำมาสู่การพัฒนารูปแบบศึกษาแนวใหม่ที่เรียกว่า ‘STEAM’ ซึ่งต่อยอดมาจากการศึกษาแบบ ‘STEM’ ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแนวทางการศึกษาเพื่อสร้างทักษะสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21

          นักการศึกษาบางคนให้เหตุผลว่า การให้ความสำคัญกับ STEM อาจเป็นการลดคุณค่าวิชาอื่นๆ ลงไป ขณะเดียวกันสาขาวิชาศิลปะยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งมอบทักษะการแก้ปัญหาที่สังคมต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการผนวกศิลปะ (Art) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ด้วย เพื่อส่งเสริมให้ เกิดกระบวนการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และนั่นอาจนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ ของโลกใบนี้ ดังที่ เลโอนาร์โด ดา วินชี และนักปราชญ์อีกหลายคนได้วางรากฐานไว้


ที่มา

Mission. Learn Like Leonardo da Vinci. [Online]

Rajeet Singh. How to Learn like a Genius: The Da Vinci Method. [Online]

Robin Payes. What Leonardo da Vinci Can Tell Us About STEM vs STEAM. [Online]

ScienceDaily. Teaching pupils to ‘think like Da Vinci’ will help them to take on climate change. [Online]

Stefani A. Allegretti. STEAM Everything Connects to Everything Else. [Online]

wikiHow. How to Think Like Leonardo Da Vinci. [Online]

Cover Photo by Eric TERRADE on Unsplash

Tags: Leonardo Da Vinciการเรียนรู้ข้ามศาตร์

ปัทมา เจริญกรกิจ เรื่อง

นักหัดเขียนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรม ชอบเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเชื่อในการเรียนรู้จากประสบการณ์

Related Posts

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรมอีสปอร์ต
Common WORLD

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรม E-Sport

March 13, 2023
397
‘Bibliotourism’ ดึงห้องสมุดเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจีน
Common WORLD

‘Bibliotourism’ เชื่อมโยงห้องสมุดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

March 9, 2023
1.5k
จับจ้องมองสิทธิสตรีอิหร่าน ผ่านศิลปะบาทวิถีในพื้นที่สาธารณะ
Common WORLD

จับจ้องมองสิทธิสตรีอิหร่าน ผ่านศิลปะบาทวิถีบนพื้นที่สาธารณะ

March 2, 2023
566

Related Posts

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรมอีสปอร์ต
Common WORLD

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรม E-Sport

March 13, 2023
397
‘Bibliotourism’ ดึงห้องสมุดเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจีน
Common WORLD

‘Bibliotourism’ เชื่อมโยงห้องสมุดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

March 9, 2023
1.5k
จับจ้องมองสิทธิสตรีอิหร่าน ผ่านศิลปะบาทวิถีในพื้นที่สาธารณะ
Common WORLD

จับจ้องมองสิทธิสตรีอิหร่าน ผ่านศิลปะบาทวิถีบนพื้นที่สาธารณะ

March 2, 2023
566
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_1f1303f48f4578cd46ca768b9172d3c2.js