ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ฝากความคิดเห็นที่น่าสนใจในฐานะบรรณาธิการสื่อออนไลน์ว่า มนุษย์มีความเป็นนักสืบเสาะโดยธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียกตัวเองว่านักสืบ เมื่อพบเรื่องราวน่าสนใจและอยากรู้ ก็พร้อมที่จะขุดค้นข้อมูล ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในสังคมแม้ไม่มีกระบวนการรองรับอย่างเป็นทางการ
แต่สังคมทุกวันนี้กลับไม่เอื้อต่อการสืบเสาะ ไม่ว่าจะในโลกของสื่อ หรือโลกของการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ มักถูกตัดตอน ถูกขวางทาง ทำให้ไปไม่ถึงปลายทางที่หวังไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ในสภาวะสังคมที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การสืบเสาะข้อมูลเชิงลึกคือสิ่งที่ต้องใช้เวลา ทุน และทรัพยากรมากกว่าปกติ เรามีเวลาสำหรับการสืบเสาะจริงหรือ? เราเหนื่อยล้าเกินกว่าจะเรียนรู้เป็นเวลานานๆ หรือไม่?
ทิพย์พิมล เชื่อว่าคนเราจะเริ่มสนใจและสืบเสาะ เมื่อรู้สึกถึง ‘connection’ และมี ‘empathy’ กับเรื่องราวเหล่านั้น ทำอย่างไรการเรียนรู้แบบสืบเสาะถึงจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม? หากต้องการให้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเกิดขึ้นในห้องเรียน หรือในครอบครัว จะต้องทำอย่างไร?
ชมการเปิดประเด็น ร่วมวิเคราะห์ และถกทิศทางการเรียนรู้แบบสืบเสาะ โดย ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ บรรณาธิการบริหาร Mutual ในงานสัมมนาสาธารณะ ‘Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัย จุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต’