เมลเบิร์น : อนุรักษ์อาคารเก่า ดัดแปลงเป็นพื้นที่สาธารณะกระชากไอเดียสร้างสรรค์

          เมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการสร้างสมดุลในระบบนิเวศของเมือง ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ส่งเสริมการมีสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคม สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี           ทั้งหมดนี้จะเกิดได้จากการบริหารต้นทุนทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสังคมกันอย่างสมดุล การรักษาสภาพแวดล้อมและการใช้ซ้ำ คือประเด็นที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญในกระแสทิศทางของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงเฉพาะการสร้างพื้นที่สีเขียว หรือการลดปริมาณขยะเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นจากอดีต ซึ่งควรได้รับการพิจารณาและให้ความสำคัญเทียบเท่ากับแนวคิดการสร้างพื้นที่สีเขียวของเมืองด้วยเช่นกัน           งานสถาปัตยกรรมและอาคารเก่าจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง มีเรื่องราวความเป็นมาสะท้อนถึงชีวิตของผู้คนในอดีต เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์หรือตัวตนของเมืองได้โดยผ่านงานสถาปัตยกรรม ดังนั้นการนำอาคารเก่ามาปรับปรุงและใช้ซ้ำ แทนการทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการรื้อถอนและใช้ทรัพยากรเพื่อการก่อสร้างจำนวนมาก จึงเหมือนกับการช่วยสนับสนุนการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนได้ในอีกทางหนึ่ง มรดกทางวัฒนธรรม           ภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดขึ้น รวมไปถึงแนวคิดในการอนุรักษ์มรดกของโลก “World Heritage” มีการประชุมระดับนานาชาติ เพื่อระบุกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่อง บทสรุปแรกสุด คือ กฎบัตรเวนิส (Venice Charter, 1964) ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์ และบูรณะโบราณสถาน รวมไปถึงกฎระเบียบอื่นๆ ที่พัฒนาต่อมาเพื่อความเข้าใจร่วมกัน จนมาสู่ กฎบัตรบูรา (Burra Charter, 1999) ที่ให้รายละเอียดเรื่องการอนุรักษ์ … Continue reading เมลเบิร์น : อนุรักษ์อาคารเก่า ดัดแปลงเป็นพื้นที่สาธารณะกระชากไอเดียสร้างสรรค์