The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Book of Commons
Happy City นี่แหละเมืองที่จะมอบชีวิตดีๆ ที่ลงตัว
Book of Commons
  • Book of Commons

Happy City นี่แหละเมืองที่จะมอบชีวิตดีๆ ที่ลงตัว

452 views

 7 mins

2 MINS

September 26, 2022

Last updated - October 23, 2022

          มนุษย์พยายามที่จะมีความสุขมาตั้งแต่ยุคกรีกโรมัน เห็นได้จากการตีความการเข้าถึงความสุขในยุคยูไดโมเนียของกรีกโบราณ หรือนักวิชาการยุคเรืองปัญญาที่คิดเรื่องแคลลูลัสความสุขขึ้นมาเพื่อวัดค่าความสุข ความทุกข์ เชื่อมโยงกับการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อพลเมือง

          สิ่งปลูกสร้างสะท้อนความสัมพันธ์และแนวคิดของผู้สร้าง รวมถึงจักรวาลการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยในแต่ละทศวรรษเสมอ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ในยุคกลาง สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเมือง หรือสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงอำนาจของโจเซฟ สตาลิน ไปจนถึงนักปฏิรูปสมัยใหม่ที่มีไอเดียบรรเจิดว่า การหลีกหนีออกจากเมืองคือหนทางสู่ความสุข 

          ดิสนีย์แลนด์ ยูโทเปียแห่งความสุข เห็นจะเป็นภาพยนตร์บนโลกความเป็นจริงในยุคนี้ เพราะมันซ่อนความทรหดของชีวิตจริงเอาไว้ ปรุงทุกอย่างให้มีสีสัน โลกสวยงาม จงลืมทุกอย่างแล้วสนุกไปกับพี่มิกกี้ ดิสนีย์แลนด์ประสบความสำเร็จมากเสียจนสถาปนิกและนักผังเมืองเรียนรู้ และนำแนวคิดไปใช้ต่อกับการออกแบบศูนย์การค้าต่างๆ

          หนังสือ Happy City เปลี่ยนโฉมชีวิตด้วยการออกแบบเมือง โดย ชาร์ลส์ มอนต์โกเมอรี ชาวแวนคูเวอร์เล่าตั้งแต่ประวัติศาสตร์การประกอบสร้างความสุขให้กับเมือง เพลโต โสเครตีส อริสโตเติล ถกเถียงและเชื่อต่างกันอย่างไร ไปจนถึงวิเคราะห์ความแปลกแยกที่เราพบเจอ เมืองที่เห็นและเป็นอยู่ทั่วโลก ไปจนถึงเมืองต่างๆ ที่พยายามสร้างความสุขผ่านนโยบาย กฎหมาย และดีไซน์เพื่อชีวิตของพลเมืองจริงๆ

กางอดีตที่ผ่านมา ดูว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับชีวิต

          Happy city เป็นหนังสือที่เอาเรื่องของเมืองไว้ทีหลัง แต่ทั้งหมดทั้งมวลของเล่มนี้เต็มไปด้วยกรณีศึกษา การวิเคราะห์ที่มาของเมืองมีสุข และงานวิจัยต่างๆ ของนักเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยา นักปรัชญา และนักอื่นๆ อีกสารพัด ที่ดึงเอาปัจจัยที่ทำให้เมืองอยู่แล้วมีความสุขได้ออกมา

          ในยุคการซื้อความสุขที่วัดโดยเงินและการตัดสินใจใช้เงิน เราอาจจะย้อนดูหลักฐานความสุขของคนเมืองได้โดยสังเกตจากการใช้จ่าย หรือนำเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาปรับใช้ว่าทฤษฎีที่เคยใช้มันควรจะทิ้งแล้วหรือไม่

          อย่างการซื้อความสุขที่วัดโดยเงินและการตัดสินใจใช้เงิน การซื้อบ้านชานเมืองเป็นคำตอบใหญ่คำตอบหนึ่งที่อเมริกามอบให้พลเมือง มันอาจจะมอบอิสระ มอบความเป็นส่วนตัว และให้โอกาสหลีกหนีสภาพแวดล้อมแออัดจากใจกลางเมืองได้ ชาร์ลส์จึงพยายามยกกรณีศึกษานี้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในแกนของเล่ม

          วิธีการจัดระบบขยายดินแดนไปสู่ชานเมืองนั้นมีช่องโหว่ ลักษณะโครงสร้างของเมืองกระจายตัวที่ต้องอาศัยระบบไฟฟ้า สาธารณูปโภค การออกแบบภูมิทัศน์ ทรัพยากรที่ใช้ต้นทุนสูงในการดูแลรักษา ใช้ที่ดินมากโข และส่งออกมลพิษมากมาย 

          แค่คิดง่ายๆ ว่าค่าเดินทางเข้าไปซื้อของอุปโภคบริโภค หรือค่าเชื้อเพลิงในการเดินทางต้องสมเหตุสมผลกัน การต้องขับรถไกลๆ กลับบ้านชานเมือง ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก และเมืองสมัยใหม่เองก็มีปัญหาเมื่อต้องจ่ายภาษีการกินอยู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่างท่อ ถนนหนทาง หรือการจัดการขยะ

          ชาร์ลส์เล่าว่าการลงทุนกับบ้านจัดสรรที่ขอบเมืองก็เหมือนการวางเดิมพันกับอนาคตของน้ำมันและภูมิศาสตร์การเมืองโลก และมันส่งผลกระทบหนักต่อไปที่ปัญหาสังคม เพราะเมื่อคนเสียบ้าน ความสัมพันธ์ในชุมชนก็ร้าวฉานตามกันไป

          ทีมนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลีวิเคราะห์ว่าปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลมากพอที่จะตรึงค่าความสุขที่คนประเมินตนเองได้ก็คือทุนทางสังคมที่ลดต่ำลง และทุนนั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจากความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่จะเชื่อมเรากับผู้อื่นไว้ เมื่อทุนทางสังคมนี้ต่ำ ความสุขก็ต่ำลง ความรวยความจนอาจจะไม่มีผลมากเท่า

          “เมืองไม่ใช่แค่สถานที่บรรจุความรื่นรมย์เท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีต่อสู้และฉากละครชีวิต เมืองช่วยเพิ่มหรือทำลายความสามารถในการรับมือกับอุปสรรคแต่ละวันของเรา เมืองขโมยอิสรภาพไปจากเราหรือมอบอิสระให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ เมืองมอบสภาพแวดล้อมที่ง่ายต่อการเคลื่อนที่ให้เราได้ หรืออาจสร้างอุปสรรคหนักหน่วงคราแล้วคราเล่าที่ทำให้เราเหนื่อยล้าทุกวัน สารในสถาปัตยกรรมและระบบต่างๆ กระตุ้นให้เราเกิดจิตสำนึกถึงอำนาจหรือความรู้สึกหมดสิ้นหนทางได้เช่นกัน เราจึงไม่ควรวัดเมืองที่ดีจากสิ่งหย่อนใจและความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ควรคิดคำนึงถึงผลกระทบต่อเรื่องราวในชีวิตประจำวัน อย่างการดิ้นรนต่อสู้ การทำงาน และความหมายของชีวิตด้วย” จากบท‘เมืองเป็นโครงสร้างความสุขตลอดมา’

          ความสัมพันธ์ที่เรามีกับป้าข้างบ้าน น้าซอยถัดไป ครูที่โรงเรียน หรือแม้แต่คนแปลกหน้ามีความสำคัญ ผลสำรวจงานหลายชิ้นที่แคนาดาพบว่าเมืองที่คนตอบว่าเมื่อกระเป๋าสตางค์หาย แล้วคิดว่าจะได้คืน คือเมืองที่ประชาชนมักจะมีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสำคัญอยู่เสมอ ดังนั้นเมืองจึงถอดรหัสความสัมพันธ์ที่พลเมืองมีต่อกัน และที่สำคัญที่สุดคือ เมืองที่คนสบายใจที่จะไว้ใจกัน มีแนวโน้มที่จะมีความสุขที่สุด และมันสำคัญกว่ารายได้ด้วยซ้ำ

          แต่ความไว้วางใจเหล่านั้นมันเกิดมาจากคุณธรรมเดี่ยวๆ ไม่ได้ เราจะคาดหวังให้คนในสังคมเป็น ‘คนดี’ มีศีลธรรม มีน้ำใจแบบยิ่งให้ยิ่งได้ โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับพวกเขาไม่ได้ เพราะความไว้ใจกันมันคือผลลัพธ์และการลงแรงศึกษาอีกฝ่ายด้วย

Happy City เปลี่ยนโฉมชีวิตด้วยการออกแบบเมือง

เมืองที่ยอมรับและเชิดชูชะตาร่วมของเรา

          เมืองที่มีคนเหงาทุกแห่งหนเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง การอยู่คนเดียวในเมืองเกิดจากการออกแบบโครงสร้างสังคมที่ทำให้คนแยกออกจากกัน 

          ระยะทางในการไปหาเพื่อนสักคนในเมืองใหญ่เป็นปัจจัยของระยะห่างในความสัมพันธ์ เวลาว่างที่น้อยลงเพราะต้องทำงานตลอดเวลา หลังจากทำงานต้องเดินทางไปหาใครสักคนด้วยตัวคนเดียว ฝ่ารถติดและฝ่าความเหนื่อยล้าที่สะสมมาตลอดทั้งวัน ดังนั้นการเลือกเป็นคนเหงาที่ไม่ได้เจอใครอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

          ในสมมติฐานแบบ ‘สัตว์เศรษฐกิจ’ ของเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิกในช่วงหลังศตวรรษที่ 20 คนมักจะคิดว่าเรายอมเดินทางไกลได้ถ้ามีผลประโยชน์หอมหวาน อย่างบ้านใหญ่โตราคาถูก แต่หนังสือเล่มนี้ก็บอกว่า จริงๆ แล้วคนที่เดินทางไปกลับในหนึ่งชั่วโมง จะคำนวณในหัวหนักมาก ว่าตัวเองต้องมีรายได้เพิ่มมากเท่าไหร่ถึงจะคุ้มค่า หรือคนโสดที่ได้เดินทางระยะสั้นๆ ไปทำงาน อาจจะมีความสุขเหมือนได้รักครั้งใหม่เลยทีเดียว

          หนังสือ Happy City ชี้ให้เห็นปัจจัยมากมายที่แยกคนออกจากกันผ่านโครงการกระจายบ้านชานเมือง หรือหลักคิดของยุคสมัยที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ทำให้แนวคิดในการอยู่อาศัยของประชากรจำต้องบิดเปลี่ยนไปตามนั้นอย่างเสียไม่ได้ การขยับเข้ามาใกล้ขึ้น ค่อยๆ ชักใยความเป็นมิตรเข้ามาโดยใช้ภูมิทัศน์ของเมืองหรือพื้นที่สีเขียว ก็เป็นหนึ่งในทางแก้ที่หลายเมืองทั่วโลกทำได้ดี

          ตัวอย่างเช่น เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาที่เกิดจากการที่พลเมืองไม่ยอมให้มีเส้นถนนทางหลวงตัดผ่านใจกลางเมือง อีกความหมายหนึ่งคือการบอกว่าคนเมืองนี้ไม่เอารถยนต์เป็นหลัก บวกกับการมีภูเขา มหาสมุทร และที่ดินเพาะปลูกก็กระตุ้นให้คนอยากเข้ามาอยู่ที่เมืองนี้มากขึ้นหลังจากทศวรรษ 1970 

          แวนคูเวอร์ยังมีโครงการทดลองที่น่าสนใจในการดึงผู้คนที่หลากหลายทางสถานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ อายุ ให้เข้ามาอยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน ซึ่งดูเป็นทฤษฎีที่หักล้างแนวคิดของยุคใหม่ในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการหวงแหนพื้นที่เป็นอย่างมาก 

          แล้วจุดลงตัวของความเป็นส่วนตัวและการอยู่ร่วมกันอยู่ตรงไหนกันแน่

          แวนคูเวอร์ทดลองให้ประชากรสร้างบ้านในตรอกได้ นั่นหมายความว่าคนสามารถสร้างบ้านเล็กๆ แทนที่จอดรถของตัวเองแล้วปล่อยให้ญาติเช่าได้ อีกทั้งการปรับปรุงทัศนะใหม่ของการอยู่ร่วมกันนี้ ยังสร้างชุมชนเล็กๆ ที่กระจายอยู่ตามเมือง โดยให้พวกเขาจัดสรรหน้าที่กันเอง เช่น การจับจ่ายในร้านอาหารท้องถิ่น สระว่ายน้ำชุมชน หรือแม้กระทั่งดึงดูดรถประจำทางให้ขับผ่านได้บ่อยๆ เพราะท้องที่นั้นมีผู้คนใหม่ๆ ไหลเวียนมาเสมอ

          อีกหนึ่งเมืองที่แน่นอนว่าจะหลุดโผเมืองแห่งความสุขไปไม่ได้คือโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมืองอันน่ารื่นรมย์ น่าอยู่ สูดกลิ่นอิสรภาพได้เต็มปอด และเต็มไปด้วยไรเดอร์

          ไรเดอร์ที่ปั่นจักรยานเต็มเมืองไปหมดคงเป็นภาพที่จินตนาการได้ยากมากในไทยและหลายประเทศ แต่โคเปนเฮเกนเป็นเมืองแห่งการลองผิดลองถูกที่สามารถออกแบบทัศนคติ ‘การขับขี่จักรยานอย่างปลอดภัย’ จนคนเลือกใช้มัน พลเมืองนี้อาจจะไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่าการขี่จักรยานจะช่วยลดโลกร้อน แต่พวกเขาแค่เป็นไรเดอร์นักเดินทางที่คิดว่าจักรยานเป็นตัวเลือกที่เร็วและสะดวกที่สุดเท่านั้นเอง

ความเป็นเมืองเป็นเรื่องของเรา

          ย้อนไปถึงที่มาของชานเมืองแบบกระจายตัวที่เห็นในอเมริกา เราจะเห็นว่าการวางระบบผังเมืองแต่ละครั้ง มักจะตั้งอยู่บนเครือข่ายของอำนาจ เพราะมันถูกรบกวนด้วยแนวคิดการสร้างเมืองตามอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แนวคิดปฏิวัตินิยม การเหยียดเชื้อชาติ 

          และที่สำคัญที่สุดคือความกลัว

          การแบ่งโซนที่อยู่อาศัยตามกฎหมายที่ได้เห็นชัดว่านี่คือการเหยียดเชื้อชาติ เห็นได้ชัดเจนที่แอฟริกาใต้ก่อนที่การแบ่งแยกสีผิว (apartheid) จะสิ้นสุดลง คนผิวดำไม่มีสิทธิแต่งงานกับคนผิวขาว และพวกเขาต้องอยู่แยกกันคนละโซน เหมือนรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาในยุค 1880 ที่มีกฎหมายกีดกันร้านซักรีดที่อาจจะมีชาวจีนเป็นเจ้าของออกจากใจกลางเมือง หรือโครงการบ้านชานเมืองใหม่ๆ ในอเมริกาที่การกีดกันคนผิวดำจากการประกันสินเชื่อสะท้อนผ่านนโยบายของรัฐบาลกลาง

          “น่าเสียดายที่เมื่อเราต้องเลือกว่าจะอยู่หรือย้ายไปที่ไหน คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีอิสระอย่างที่คิด ทางเลือกของเรามีจำกัดมาก และยังถูกกำหนดโดยนักผังเมือง วิศวกร นักการเมือง สถาปนิก นักการตลาด และนักเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งประทับคุณค่าของตนลงบนภูมิทัศน์เมือง เมืองเป็นผลงานของความตลบตะแลงทางจิตวิทยา แรงขับดันจากสถานะ และความผิดพลาดตามระบบของการตัดสินใจโดยคนแปลกหน้าผู้มีอำนาจเหล่านี้”

          ทางเลือกของเรามีจำกัดมากก็จริง แม้กระทั่งการตื่นรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพทั่วโลกก็ไม่อาจเป่าลมให้ตัวเรารู้สึกใหญ่ขึ้นได้ เพราะอำนาจของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายที่จำแนกให้คนไม่เท่ากันคอยชี้นิ้วบอกว่าเธอควรอยู่โซนนั้น ไม่ควรอยู่โซนนี้ หรือรัฐบาลขี้โกงที่ไม่มีวันกระจายอำนาจสู่ส่วนกลาง 

          นั่นเป็นความจริง แต่ก็เป็นความลวงเช่นเดียวกัน

          เครือข่ายอำนาจล้นพ้นเหล่านี้ลวงให้เราไม่มีจินตนาการที่จะพัฒนาเมืองที่อยากอยู่เพราะเชื่อมั่นว่าเราต้องมอบหมายให้รัฐเป็นคนทำ แต่สิทธิในการใช้ชีวิตและออกแบบเมืองเป็นสิทธิทางธรรมชาติของเราเองตามที่อองรี เลอแฟบวร์ (Henri Lefebvre) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้

          และท้ายที่สุดแล้วการสร้างเมืองที่ดีเริ่มมาจากฐานรากที่เรียบง่าย นั่นคือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สายสัมพันธ์ที่ปลดความกลัวออกจากขั้วหัวใจของเพื่อนร่วมสังคม และจินตนาการที่เห็นตัวเองอยู่ในบ้านที่มีความสุข 

          เมืองเป็นเมืองได้เพราะมีผู้คนอาศัยอยู่ในนั้น

Tags: การออกแบบเมือง

เรื่องโดย

451
VIEWS
ณัฐชานันท์ กล้าหาญ เรื่อง

ชอบทำอะไรหลายอย่าง ทั้งเขียน แปล ถ่ายรูป ลงพื้นที่ทำสารคดี  ปัจจุบันเป็นผู้ประสานโครงการการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และเขียนงานที่สนใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับ ไอแอลไอยู

          มนุษย์พยายามที่จะมีความสุขมาตั้งแต่ยุคกรีกโรมัน เห็นได้จากการตีความการเข้าถึงความสุขในยุคยูไดโมเนียของกรีกโบราณ หรือนักวิชาการยุคเรืองปัญญาที่คิดเรื่องแคลลูลัสความสุขขึ้นมาเพื่อวัดค่าความสุข ความทุกข์ เชื่อมโยงกับการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อพลเมือง

          สิ่งปลูกสร้างสะท้อนความสัมพันธ์และแนวคิดของผู้สร้าง รวมถึงจักรวาลการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยในแต่ละทศวรรษเสมอ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ในยุคกลาง สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเมือง หรือสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงอำนาจของโจเซฟ สตาลิน ไปจนถึงนักปฏิรูปสมัยใหม่ที่มีไอเดียบรรเจิดว่า การหลีกหนีออกจากเมืองคือหนทางสู่ความสุข 

          ดิสนีย์แลนด์ ยูโทเปียแห่งความสุข เห็นจะเป็นภาพยนตร์บนโลกความเป็นจริงในยุคนี้ เพราะมันซ่อนความทรหดของชีวิตจริงเอาไว้ ปรุงทุกอย่างให้มีสีสัน โลกสวยงาม จงลืมทุกอย่างแล้วสนุกไปกับพี่มิกกี้ ดิสนีย์แลนด์ประสบความสำเร็จมากเสียจนสถาปนิกและนักผังเมืองเรียนรู้ และนำแนวคิดไปใช้ต่อกับการออกแบบศูนย์การค้าต่างๆ

          หนังสือ Happy City เปลี่ยนโฉมชีวิตด้วยการออกแบบเมือง โดย ชาร์ลส์ มอนต์โกเมอรี ชาวแวนคูเวอร์เล่าตั้งแต่ประวัติศาสตร์การประกอบสร้างความสุขให้กับเมือง เพลโต โสเครตีส อริสโตเติล ถกเถียงและเชื่อต่างกันอย่างไร ไปจนถึงวิเคราะห์ความแปลกแยกที่เราพบเจอ เมืองที่เห็นและเป็นอยู่ทั่วโลก ไปจนถึงเมืองต่างๆ ที่พยายามสร้างความสุขผ่านนโยบาย กฎหมาย และดีไซน์เพื่อชีวิตของพลเมืองจริงๆ

กางอดีตที่ผ่านมา ดูว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับชีวิต

          Happy city เป็นหนังสือที่เอาเรื่องของเมืองไว้ทีหลัง แต่ทั้งหมดทั้งมวลของเล่มนี้เต็มไปด้วยกรณีศึกษา การวิเคราะห์ที่มาของเมืองมีสุข และงานวิจัยต่างๆ ของนักเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยา นักปรัชญา และนักอื่นๆ อีกสารพัด ที่ดึงเอาปัจจัยที่ทำให้เมืองอยู่แล้วมีความสุขได้ออกมา

          ในยุคการซื้อความสุขที่วัดโดยเงินและการตัดสินใจใช้เงิน เราอาจจะย้อนดูหลักฐานความสุขของคนเมืองได้โดยสังเกตจากการใช้จ่าย หรือนำเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาปรับใช้ว่าทฤษฎีที่เคยใช้มันควรจะทิ้งแล้วหรือไม่

          อย่างการซื้อความสุขที่วัดโดยเงินและการตัดสินใจใช้เงิน การซื้อบ้านชานเมืองเป็นคำตอบใหญ่คำตอบหนึ่งที่อเมริกามอบให้พลเมือง มันอาจจะมอบอิสระ มอบความเป็นส่วนตัว และให้โอกาสหลีกหนีสภาพแวดล้อมแออัดจากใจกลางเมืองได้ ชาร์ลส์จึงพยายามยกกรณีศึกษานี้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในแกนของเล่ม

          วิธีการจัดระบบขยายดินแดนไปสู่ชานเมืองนั้นมีช่องโหว่ ลักษณะโครงสร้างของเมืองกระจายตัวที่ต้องอาศัยระบบไฟฟ้า สาธารณูปโภค การออกแบบภูมิทัศน์ ทรัพยากรที่ใช้ต้นทุนสูงในการดูแลรักษา ใช้ที่ดินมากโข และส่งออกมลพิษมากมาย 

          แค่คิดง่ายๆ ว่าค่าเดินทางเข้าไปซื้อของอุปโภคบริโภค หรือค่าเชื้อเพลิงในการเดินทางต้องสมเหตุสมผลกัน การต้องขับรถไกลๆ กลับบ้านชานเมือง ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก และเมืองสมัยใหม่เองก็มีปัญหาเมื่อต้องจ่ายภาษีการกินอยู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่างท่อ ถนนหนทาง หรือการจัดการขยะ

          ชาร์ลส์เล่าว่าการลงทุนกับบ้านจัดสรรที่ขอบเมืองก็เหมือนการวางเดิมพันกับอนาคตของน้ำมันและภูมิศาสตร์การเมืองโลก และมันส่งผลกระทบหนักต่อไปที่ปัญหาสังคม เพราะเมื่อคนเสียบ้าน ความสัมพันธ์ในชุมชนก็ร้าวฉานตามกันไป

          ทีมนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลีวิเคราะห์ว่าปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลมากพอที่จะตรึงค่าความสุขที่คนประเมินตนเองได้ก็คือทุนทางสังคมที่ลดต่ำลง และทุนนั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจากความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่จะเชื่อมเรากับผู้อื่นไว้ เมื่อทุนทางสังคมนี้ต่ำ ความสุขก็ต่ำลง ความรวยความจนอาจจะไม่มีผลมากเท่า

          “เมืองไม่ใช่แค่สถานที่บรรจุความรื่นรมย์เท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีต่อสู้และฉากละครชีวิต เมืองช่วยเพิ่มหรือทำลายความสามารถในการรับมือกับอุปสรรคแต่ละวันของเรา เมืองขโมยอิสรภาพไปจากเราหรือมอบอิสระให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ เมืองมอบสภาพแวดล้อมที่ง่ายต่อการเคลื่อนที่ให้เราได้ หรืออาจสร้างอุปสรรคหนักหน่วงคราแล้วคราเล่าที่ทำให้เราเหนื่อยล้าทุกวัน สารในสถาปัตยกรรมและระบบต่างๆ กระตุ้นให้เราเกิดจิตสำนึกถึงอำนาจหรือความรู้สึกหมดสิ้นหนทางได้เช่นกัน เราจึงไม่ควรวัดเมืองที่ดีจากสิ่งหย่อนใจและความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ควรคิดคำนึงถึงผลกระทบต่อเรื่องราวในชีวิตประจำวัน อย่างการดิ้นรนต่อสู้ การทำงาน และความหมายของชีวิตด้วย” จากบท‘เมืองเป็นโครงสร้างความสุขตลอดมา’

          ความสัมพันธ์ที่เรามีกับป้าข้างบ้าน น้าซอยถัดไป ครูที่โรงเรียน หรือแม้แต่คนแปลกหน้ามีความสำคัญ ผลสำรวจงานหลายชิ้นที่แคนาดาพบว่าเมืองที่คนตอบว่าเมื่อกระเป๋าสตางค์หาย แล้วคิดว่าจะได้คืน คือเมืองที่ประชาชนมักจะมีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสำคัญอยู่เสมอ ดังนั้นเมืองจึงถอดรหัสความสัมพันธ์ที่พลเมืองมีต่อกัน และที่สำคัญที่สุดคือ เมืองที่คนสบายใจที่จะไว้ใจกัน มีแนวโน้มที่จะมีความสุขที่สุด และมันสำคัญกว่ารายได้ด้วยซ้ำ

          แต่ความไว้วางใจเหล่านั้นมันเกิดมาจากคุณธรรมเดี่ยวๆ ไม่ได้ เราจะคาดหวังให้คนในสังคมเป็น ‘คนดี’ มีศีลธรรม มีน้ำใจแบบยิ่งให้ยิ่งได้ โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับพวกเขาไม่ได้ เพราะความไว้ใจกันมันคือผลลัพธ์และการลงแรงศึกษาอีกฝ่ายด้วย

Happy City เปลี่ยนโฉมชีวิตด้วยการออกแบบเมือง

เมืองที่ยอมรับและเชิดชูชะตาร่วมของเรา

          เมืองที่มีคนเหงาทุกแห่งหนเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง การอยู่คนเดียวในเมืองเกิดจากการออกแบบโครงสร้างสังคมที่ทำให้คนแยกออกจากกัน 

          ระยะทางในการไปหาเพื่อนสักคนในเมืองใหญ่เป็นปัจจัยของระยะห่างในความสัมพันธ์ เวลาว่างที่น้อยลงเพราะต้องทำงานตลอดเวลา หลังจากทำงานต้องเดินทางไปหาใครสักคนด้วยตัวคนเดียว ฝ่ารถติดและฝ่าความเหนื่อยล้าที่สะสมมาตลอดทั้งวัน ดังนั้นการเลือกเป็นคนเหงาที่ไม่ได้เจอใครอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

          ในสมมติฐานแบบ ‘สัตว์เศรษฐกิจ’ ของเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิกในช่วงหลังศตวรรษที่ 20 คนมักจะคิดว่าเรายอมเดินทางไกลได้ถ้ามีผลประโยชน์หอมหวาน อย่างบ้านใหญ่โตราคาถูก แต่หนังสือเล่มนี้ก็บอกว่า จริงๆ แล้วคนที่เดินทางไปกลับในหนึ่งชั่วโมง จะคำนวณในหัวหนักมาก ว่าตัวเองต้องมีรายได้เพิ่มมากเท่าไหร่ถึงจะคุ้มค่า หรือคนโสดที่ได้เดินทางระยะสั้นๆ ไปทำงาน อาจจะมีความสุขเหมือนได้รักครั้งใหม่เลยทีเดียว

          หนังสือ Happy City ชี้ให้เห็นปัจจัยมากมายที่แยกคนออกจากกันผ่านโครงการกระจายบ้านชานเมือง หรือหลักคิดของยุคสมัยที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ทำให้แนวคิดในการอยู่อาศัยของประชากรจำต้องบิดเปลี่ยนไปตามนั้นอย่างเสียไม่ได้ การขยับเข้ามาใกล้ขึ้น ค่อยๆ ชักใยความเป็นมิตรเข้ามาโดยใช้ภูมิทัศน์ของเมืองหรือพื้นที่สีเขียว ก็เป็นหนึ่งในทางแก้ที่หลายเมืองทั่วโลกทำได้ดี

          ตัวอย่างเช่น เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาที่เกิดจากการที่พลเมืองไม่ยอมให้มีเส้นถนนทางหลวงตัดผ่านใจกลางเมือง อีกความหมายหนึ่งคือการบอกว่าคนเมืองนี้ไม่เอารถยนต์เป็นหลัก บวกกับการมีภูเขา มหาสมุทร และที่ดินเพาะปลูกก็กระตุ้นให้คนอยากเข้ามาอยู่ที่เมืองนี้มากขึ้นหลังจากทศวรรษ 1970 

          แวนคูเวอร์ยังมีโครงการทดลองที่น่าสนใจในการดึงผู้คนที่หลากหลายทางสถานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ อายุ ให้เข้ามาอยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน ซึ่งดูเป็นทฤษฎีที่หักล้างแนวคิดของยุคใหม่ในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการหวงแหนพื้นที่เป็นอย่างมาก 

          แล้วจุดลงตัวของความเป็นส่วนตัวและการอยู่ร่วมกันอยู่ตรงไหนกันแน่

          แวนคูเวอร์ทดลองให้ประชากรสร้างบ้านในตรอกได้ นั่นหมายความว่าคนสามารถสร้างบ้านเล็กๆ แทนที่จอดรถของตัวเองแล้วปล่อยให้ญาติเช่าได้ อีกทั้งการปรับปรุงทัศนะใหม่ของการอยู่ร่วมกันนี้ ยังสร้างชุมชนเล็กๆ ที่กระจายอยู่ตามเมือง โดยให้พวกเขาจัดสรรหน้าที่กันเอง เช่น การจับจ่ายในร้านอาหารท้องถิ่น สระว่ายน้ำชุมชน หรือแม้กระทั่งดึงดูดรถประจำทางให้ขับผ่านได้บ่อยๆ เพราะท้องที่นั้นมีผู้คนใหม่ๆ ไหลเวียนมาเสมอ

          อีกหนึ่งเมืองที่แน่นอนว่าจะหลุดโผเมืองแห่งความสุขไปไม่ได้คือโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมืองอันน่ารื่นรมย์ น่าอยู่ สูดกลิ่นอิสรภาพได้เต็มปอด และเต็มไปด้วยไรเดอร์

          ไรเดอร์ที่ปั่นจักรยานเต็มเมืองไปหมดคงเป็นภาพที่จินตนาการได้ยากมากในไทยและหลายประเทศ แต่โคเปนเฮเกนเป็นเมืองแห่งการลองผิดลองถูกที่สามารถออกแบบทัศนคติ ‘การขับขี่จักรยานอย่างปลอดภัย’ จนคนเลือกใช้มัน พลเมืองนี้อาจจะไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่าการขี่จักรยานจะช่วยลดโลกร้อน แต่พวกเขาแค่เป็นไรเดอร์นักเดินทางที่คิดว่าจักรยานเป็นตัวเลือกที่เร็วและสะดวกที่สุดเท่านั้นเอง

ความเป็นเมืองเป็นเรื่องของเรา

          ย้อนไปถึงที่มาของชานเมืองแบบกระจายตัวที่เห็นในอเมริกา เราจะเห็นว่าการวางระบบผังเมืองแต่ละครั้ง มักจะตั้งอยู่บนเครือข่ายของอำนาจ เพราะมันถูกรบกวนด้วยแนวคิดการสร้างเมืองตามอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แนวคิดปฏิวัตินิยม การเหยียดเชื้อชาติ 

          และที่สำคัญที่สุดคือความกลัว

          การแบ่งโซนที่อยู่อาศัยตามกฎหมายที่ได้เห็นชัดว่านี่คือการเหยียดเชื้อชาติ เห็นได้ชัดเจนที่แอฟริกาใต้ก่อนที่การแบ่งแยกสีผิว (apartheid) จะสิ้นสุดลง คนผิวดำไม่มีสิทธิแต่งงานกับคนผิวขาว และพวกเขาต้องอยู่แยกกันคนละโซน เหมือนรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาในยุค 1880 ที่มีกฎหมายกีดกันร้านซักรีดที่อาจจะมีชาวจีนเป็นเจ้าของออกจากใจกลางเมือง หรือโครงการบ้านชานเมืองใหม่ๆ ในอเมริกาที่การกีดกันคนผิวดำจากการประกันสินเชื่อสะท้อนผ่านนโยบายของรัฐบาลกลาง

          “น่าเสียดายที่เมื่อเราต้องเลือกว่าจะอยู่หรือย้ายไปที่ไหน คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีอิสระอย่างที่คิด ทางเลือกของเรามีจำกัดมาก และยังถูกกำหนดโดยนักผังเมือง วิศวกร นักการเมือง สถาปนิก นักการตลาด และนักเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งประทับคุณค่าของตนลงบนภูมิทัศน์เมือง เมืองเป็นผลงานของความตลบตะแลงทางจิตวิทยา แรงขับดันจากสถานะ และความผิดพลาดตามระบบของการตัดสินใจโดยคนแปลกหน้าผู้มีอำนาจเหล่านี้”

          ทางเลือกของเรามีจำกัดมากก็จริง แม้กระทั่งการตื่นรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพทั่วโลกก็ไม่อาจเป่าลมให้ตัวเรารู้สึกใหญ่ขึ้นได้ เพราะอำนาจของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายที่จำแนกให้คนไม่เท่ากันคอยชี้นิ้วบอกว่าเธอควรอยู่โซนนั้น ไม่ควรอยู่โซนนี้ หรือรัฐบาลขี้โกงที่ไม่มีวันกระจายอำนาจสู่ส่วนกลาง 

          นั่นเป็นความจริง แต่ก็เป็นความลวงเช่นเดียวกัน

          เครือข่ายอำนาจล้นพ้นเหล่านี้ลวงให้เราไม่มีจินตนาการที่จะพัฒนาเมืองที่อยากอยู่เพราะเชื่อมั่นว่าเราต้องมอบหมายให้รัฐเป็นคนทำ แต่สิทธิในการใช้ชีวิตและออกแบบเมืองเป็นสิทธิทางธรรมชาติของเราเองตามที่อองรี เลอแฟบวร์ (Henri Lefebvre) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้

          และท้ายที่สุดแล้วการสร้างเมืองที่ดีเริ่มมาจากฐานรากที่เรียบง่าย นั่นคือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สายสัมพันธ์ที่ปลดความกลัวออกจากขั้วหัวใจของเพื่อนร่วมสังคม และจินตนาการที่เห็นตัวเองอยู่ในบ้านที่มีความสุข 

          เมืองเป็นเมืองได้เพราะมีผู้คนอาศัยอยู่ในนั้น

Tags: การออกแบบเมือง

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ เรื่อง

ชอบทำอะไรหลายอย่าง ทั้งเขียน แปล ถ่ายรูป ลงพื้นที่ทำสารคดี  ปัจจุบันเป็นผู้ประสานโครงการการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย และเขียนงานที่สนใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับ ไอแอลไอยู

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
185
‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่
Book of Commons

‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่

December 20, 2022
135
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667

Related Posts

STOP READING THE NEWS
Book of Commons

‘STOP READING THE NEWS’ สาระของข่าวไร้สาระ

January 17, 2023
185
‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่
Book of Commons

‘ประวัติศาสตร์ซอมบี้ฯ’ เพราะฉันหิว ฉันจึงมีอยู่

December 20, 2022
135
‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง
Book of Commons

‘เปเรย์รายืนยัน’ ว่าเขาตายและเกิดใหม่อีกครั้ง

November 15, 2022
667
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_7b4fe7ab3b3baf6cbd2a63051ee9d67d.js