The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Common INFO
รื้อสร้างทักษะใหม่ในโลกยุคพลิกผัน
Common INFO
  • Common INFO, Common INFO

รื้อสร้างทักษะใหม่ในโลกยุคพลิกผัน

1,463 views

 10 mins

3 MINS

February 2, 2022

Last updated - February 21, 2022

          สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำรายงาน Future of Jobs Report 2020 ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2568) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยมี 10 ตำแหน่งงานที่จะหายไป ซึ่งส่งผลกระทบกับประชากรราว 85 ล้านคนทั่วโลก แต่ก็มี 10 ตำแหน่งงานใหม่กำลังเป็นที่ต้องการ (เป็นแรงงานที่มีทักษะใหม่) อีกกว่า 97 ล้านคน ซึ่งแปลว่าภาคธุรกิจยังต้องการคนทำงานมากขึ้น แต่เป็นตำแหน่งงานใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี​เพิ่มขึ้น

10 อาชีพที่รุ่งเรืองและร่วงโรย ในปี 2025 (พ.ศ.2568)

          WEF ยังคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า สัดส่วนของระบบกลไกอัตโนมัติ (Automation) ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีอยู่ราว 33% ของงาน กลายเป็น 47% ของงาน หมายความว่างานเดิมที่เคยใช้คนทำจะหายไป และทดแทนด้วย Automation ซึ่งไม่ใช่หมายถึงการทดแทนแรงงานคนด้วยหุ่นยนต์ (robot) ในการผลิตเท่านั้น แต่จะรวมถึงเทคโนโลยี​ที่เข้ามาทำงานแทนคนเพื่อลดขั้นตอน ลดเวลา ลดการตรวจสอบ ในการทำงานด้วย

สัดส่วนการใช้แรงงานมนุษย์กับเครื่องจักร

          ด้านสถาบันแมคคินซีย์โกลบอล (McKinsey Global Institute) สำรวจพบว่า 60% ของอาชีพในปัจจุบันมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานเชิงเทคนิคแล้วมากกว่าหนึ่งในสาม ในอนาคตจะมีคนจำนวนมากที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติต่างๆ แรงงานที่มีทักษะเทคโนโลยีสูงจะได้เปรียบในการทำงาน ในขณะที่แรงงานที่มีทักษะเทคโนโลยีต่ำจะเผชิญแรงกดดันในการจ้างงานมากกว่า

          อย่างไรก็ดี เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติมีส่วนกระตุ้นให้มนุษย์ออกจากระบบงานแบบดั้งเดิมหรือรูปแบบงานที่ซ้ำซากจำเจ และกระทบต่อคนทำงานที่มีลักษณะเป็นกิจวัตร (routine) แต่ยังมีการใช้ทักษะที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลหรือปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความสามารถในการตัดสินใจที่ซับซ้อน ความฉลาดทางสังคมในการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง ความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เครื่องจักรทดแทนไม่ได้

          ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ทักษะที่เรียกว่า Hard Skill หรือที่เป็นความรู้ (Knowledge) ซึ่งมาจากการศึกษาเล่าเรียนฝึกอบรมแบบเดิมนั้นจะมีความสำคัญลดลง ยกเว้นเนื้อหาสาระวิชาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ขณะที่ทักษะแบบ Soft Skill และ Meta Skill ซึ่งเกิดจากการสั่งสมบ่มเพาะประสบการณ์ในการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติจนกลายเป็นพฤติกรรม กลับเป็นทักษะการทำงานซึ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น[1] ส่วนทักษะความรู้ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและทักษะการจัดการเชิงลึก รายงานการสำรวจกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจทั่วโลกเกี่ยวกับความต้องการแรงงานที่มีคุณลักษณะหรือทักษะแบบใดในอนาคตของ WEF พบแนวโน้มเช่นนี้อย่างชัดเจน

ทักษะจำเป็น 10 อันดับแรกซึ่งตลาดแรงงานมีความต้องการ

          WEF ประเมินว่า คนทำงานทั่วโลกประมาณครึ่งหนึ่งจะต้องสร้างทักษะใหม่ (reskill) เนื่องจากทักษะเดิมที่ต้องใช้ในการทำงานเปลี่ยนไปมากกว่า 40% คนทำงานทุกคนจำเป็นต้องแสวงหาความรู้และฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

          ประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับ reskill และ upskill2 ได้สร้างกลไกหรือมาตรการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยริเริ่มโครงการ SkillsFuture Singapore (SSG) ภายใต้การกำกับดูแลของสภาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต (The Future Economy Council : FEC) มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ (Smart Citizens) ส่งเสริมพัฒนาให้ประชาชนเกิดทักษะใหม่ที่จำเป็นสำหรับอนาคตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการใช้ Skill Future Credit เป็นเครื่องมืออุดช่องว่างทักษะอาชีพ (Skill Gap) เสมือนเงินให้เปล่าเพื่อให้ประชาชนเข้าคอร์สฝึกอบรมทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและทิศทางการพัฒนาหลักของประเทศ

          วิธีการคือ ชาวสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเครดิต 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี (ประมาณ 12,500 บาท) ซึ่งสะสมได้ 5 ปี เพื่อนำไปใช้เรียนในหลักสูตรที่รัฐสนับสนุนกว่า 26,000 หลักสูตร ทั้งจากมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน หลักสูตรที่โดดเด่นคือหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ หรือ Skill Future Series เน้น 8 หมวดหมู่ทักษะแห่งอนาคต คือ การวิเคราะห์ข้อมูล เทคโนโลยีการเงิน บริการด้านเทคโนโลยี สื่อดิจิทัล ความปลอดภัยทางทางไซเบอร์ การเป็นผู้ประกอบการ การผลิตขั้นสูง และการแก้ปัญหาเมืองใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลระหว่างปี 2016-2019 มีผู้ใช้เครดิตไปแล้ว 533,000 คน

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของไทย ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่มีชื่อคล้ายคลึงกับสิงคโปร์คือ Future Skill มีแนวคิดและรายละเอียดในการจูงใจพัฒนาทักษะคนด้วยเครื่องมือและกิจกรรมที่แทบจะเหมือนกับสิงคโปร์ จึงเชื่อได้ว่าทิศทางการส่งเสริมทักษะใหม่ของภาครัฐคงเลือกแนวทางในลักษณะของการสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนทักษะ แต่สิ่งที่ยังมองเห็นไม่ชัดเท่าไรนักคือการบูรณาการยุทธศาสตร์และการทำงานร่วมกับกระทรวงหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ

          นอกจากการขยับตัวของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ แล้ว ปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองคือบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตและป้อนแรงงานทักษะเข้าสู่ระบบ เมื่อครั้งเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยไทยตอบรับต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ได้อย่างรวดเร็ว เปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำมาปรับใช้ในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัย แต่แล้วในช่วงท้ายของทศวรรษที่สอง ราวกับไม่ทันตั้งตัว มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ จำนวนผู้ที่เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุหลักมาจากจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงมาโดยตลอดเฉลี่ยประมาณหนึ่งแสนคนทุก 1-2 ปี ขณะที่ผู้คนอายุยืนยาวขึ้น สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สังคมไทยขยับเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างชัดเจน และประมาณการว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564

          สิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่ดีอีกเช่นกันในกรณีนี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียและติดอันดับต้นๆ ของโลกได้ปรับบทบาทตัวเองให้เป็น ‘มหาวิทยาลัยสำหรับทุกช่วงวัยของชีวิต’ โดยศิษย์เก่าสามารถกลับมาเรียนฟรีเพื่อเพิ่มทักษะให้กับตัวเองได้ เป็นการอัปเกรดทักษะและความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา เช่น ภายใน 3 ปีสามารถกลับเข้าไปเรียนเพิ่มทักษะได้ฟรี 2 โมดูล และหากสะสมคอร์สได้ตามที่กำหนดจนครบตามมาตรฐาน สามารถเปลี่ยนเป็นใบปริญญาเพิ่มได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังออกแบบหลักสูตรการปรับทักษะความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป จึงทำให้ลูกค้าของมหาวิทยาลัยเพิ่มจำนวนขึ้น เพราะมีทั้งลูกค้าเก่า (ศิษย์เก่า) และลูกค้าใหม่ (ประชาชน) หมุนเวียนเข้ามาใช้บริการตลอดเวลา

          ในการบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งติดตามและให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาการศึกษาของไทย ได้กล่าวชี้นำกลายๆ ถึงบทบาทที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัยในการตอบสนองต่อแรงกดดันจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานว่า “มองไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการทำงานและทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน ทำให้การฝึกฝนและพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ หรือ reskilling จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในอนาคต เรื่องนี้เป็นอีกมิติสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในวงการศึกษาหรือในภาคธุรกิจต้องช่วยกัน เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญเกินกว่าจะเป็นภาระขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง”

          อาจกล่าวได้ว่าในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยไทยกำลังปรับบทบาทตัวเองจากเดิม แม้จะดูเชื่องช้าแต่ก็มองเห็นความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ reskill และ upskill แรงงานในระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปแล้ว 5-10 ปี ที่จำเป็นต้องเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ ไปจนถึงผู้สูงวัยที่ยังสามารถทำงานได้

          ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นและการงานอาชีพในอนาคตสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับเทคโนโลยีดิจิทัล สถาบันแมคคินซีย์โกลบอลระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสืบค้นที่ช่วยคัดสรรคน (หรือทักษะ) ให้ตรงกับงาน ผ่านอัลกอริทึมคัดกรองซึ่งทำให้กระบวนการจ้างงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีผลต่อการลดอัตราการว่างงาน ในอีกด้านหนึ่ง แพลตฟอร์มดิจิทัลยังเอื้อให้เกิดผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 15% คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณภายในเวลาไม่กี่ปี

          ในขณะที่ทั่วโลกต่างก็ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงของทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และความสามารถในการปรับตัวไปสู่แรงงานทักษะใหม่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเยาวชนไทยซึ่งจะกลายเป็นพลังผลักดันการพัฒนาสังคมในอนาคตกลับมี Growth Mindset3 ต่อเรื่องของความรู้และทักษะค่อนข้างต่ำอย่างน่าตกใจ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นและฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยให้ต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น

ทัศนคติที่มีต่อการใช้ความรู้และทักษะการเรียนรู้ของเยาวชนไทยเปรียบเทียบกับอาเซียน

เชิงอรรถ

[1] ทักษะอนาคต 3 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 Hard Skill เช่น Product Management, Big Data Analysis, Lean Management กลุ่มที่ 2 Soft Skill เช่น Creativity, Critical Thinking and Problem Solving, Social Intelligence และกลุ่มที่ 3 Meta Skill เช่น Growth Mindset, Lifelong Learning Aspiration, Self-direction, Comfort with Change

[2] reskill หมายถึงการสร้างทักษะใหม่ที่ยังไม่เคยมี upskill หมายถึงการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้ก้าวหน้ากว่าเดิม

[3] Growth Mindset คือ ความคิดหรือทัศนคติที่เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นได้ผ่านการฝึกฝน เรียนรู้ ทำงานหนัก ทุ่มเทและมุ่งมั่นพยายามทำสิ่งใดก็ตามให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และชอบสร้างโอกาส เป็นคนรักในการเรียนรู้ ไม่เชื่อว่าความรู้ที่มีอยู่เพียงพอหรือสามารถนำไปใช้ได้ตลอด สนใจและเปิดรับความรู้ใหม่ พร้อมปรับตัวหรือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ


ที่มา

World Economic Forum. Future of Jobs Report 2018 เว็บไซต์ https://www.weforum.org

World Economic Forum. Future of Jobs Report 2020 เว็บไซต์https://www.weforum.org

McKinsey Global Institute. Technology, jobs, and the future of work.เว็บไซต์ https://www.mckinsey.com/

Skills Future Singapore เว็บไซต์ https://www.skillsfuture.sg

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิวัติธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา Business Transformation through Flagship Education” จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 5 เมษายน 2561 เว็บไซต์ https://thaipublica.org

อว.เปิดตัว ‘Future Skill x New Career Thailand’ รับมือโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน เว็บไซต์ https://www.matichon.co.th

Cover Photo : ThisisEngineering RAEng on Unsplash


พิมพ์รวมเล่มในหนังสือ TK Lifelong Learning Focus 01 (2564)
Tags: อาชีพอนาคต

เรื่องโดย

1.5k
VIEWS
วัฒนชัย วินิจจะกูล เรื่อง

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม เรื่อง

คุณแม่ลูกอ่อน ผู้สนใจประเด็นด้านการศึกษา พร้อมแหวกว่ายในทะเลข้อมูลในทุกๆ เรื่องที่อยากรู้ ชอบเลนส์โบราณและการถ่ายภาพ

  • 'Big Lunch' ยิ่งกิน ยิ่งใกล้ สานสายใยชุมชนด้วยอาหารมื้อพิเศษ
  • ‘กาโนเป’ ห้องสมุดสีเขียว เสริมจุดแข็งเมืองท่องเที่ยว ‘ปารีส’ ให้เป็น Green City
  • ‘สตาร์ทอัป’ วาระแห่งชาติอินเดีย ปลูกฝังทักษะผู้ประกอบการได้ตั้งแต่วัยเยาว์

          สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำรายงาน Future of Jobs Report 2020 ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2568) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยมี 10 ตำแหน่งงานที่จะหายไป ซึ่งส่งผลกระทบกับประชากรราว 85 ล้านคนทั่วโลก แต่ก็มี 10 ตำแหน่งงานใหม่กำลังเป็นที่ต้องการ (เป็นแรงงานที่มีทักษะใหม่) อีกกว่า 97 ล้านคน ซึ่งแปลว่าภาคธุรกิจยังต้องการคนทำงานมากขึ้น แต่เป็นตำแหน่งงานใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี​เพิ่มขึ้น

10 อาชีพที่รุ่งเรืองและร่วงโรย ในปี 2025 (พ.ศ.2568)

          WEF ยังคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า สัดส่วนของระบบกลไกอัตโนมัติ (Automation) ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีอยู่ราว 33% ของงาน กลายเป็น 47% ของงาน หมายความว่างานเดิมที่เคยใช้คนทำจะหายไป และทดแทนด้วย Automation ซึ่งไม่ใช่หมายถึงการทดแทนแรงงานคนด้วยหุ่นยนต์ (robot) ในการผลิตเท่านั้น แต่จะรวมถึงเทคโนโลยี​ที่เข้ามาทำงานแทนคนเพื่อลดขั้นตอน ลดเวลา ลดการตรวจสอบ ในการทำงานด้วย

สัดส่วนการใช้แรงงานมนุษย์กับเครื่องจักร

          ด้านสถาบันแมคคินซีย์โกลบอล (McKinsey Global Institute) สำรวจพบว่า 60% ของอาชีพในปัจจุบันมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานเชิงเทคนิคแล้วมากกว่าหนึ่งในสาม ในอนาคตจะมีคนจำนวนมากที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติต่างๆ แรงงานที่มีทักษะเทคโนโลยีสูงจะได้เปรียบในการทำงาน ในขณะที่แรงงานที่มีทักษะเทคโนโลยีต่ำจะเผชิญแรงกดดันในการจ้างงานมากกว่า

          อย่างไรก็ดี เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติมีส่วนกระตุ้นให้มนุษย์ออกจากระบบงานแบบดั้งเดิมหรือรูปแบบงานที่ซ้ำซากจำเจ และกระทบต่อคนทำงานที่มีลักษณะเป็นกิจวัตร (routine) แต่ยังมีการใช้ทักษะที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลหรือปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความสามารถในการตัดสินใจที่ซับซ้อน ความฉลาดทางสังคมในการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง ความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เครื่องจักรทดแทนไม่ได้

          ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ทักษะที่เรียกว่า Hard Skill หรือที่เป็นความรู้ (Knowledge) ซึ่งมาจากการศึกษาเล่าเรียนฝึกอบรมแบบเดิมนั้นจะมีความสำคัญลดลง ยกเว้นเนื้อหาสาระวิชาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ขณะที่ทักษะแบบ Soft Skill และ Meta Skill ซึ่งเกิดจากการสั่งสมบ่มเพาะประสบการณ์ในการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติจนกลายเป็นพฤติกรรม กลับเป็นทักษะการทำงานซึ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น[1] ส่วนทักษะความรู้ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและทักษะการจัดการเชิงลึก รายงานการสำรวจกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจทั่วโลกเกี่ยวกับความต้องการแรงงานที่มีคุณลักษณะหรือทักษะแบบใดในอนาคตของ WEF พบแนวโน้มเช่นนี้อย่างชัดเจน

ทักษะจำเป็น 10 อันดับแรกซึ่งตลาดแรงงานมีความต้องการ

          WEF ประเมินว่า คนทำงานทั่วโลกประมาณครึ่งหนึ่งจะต้องสร้างทักษะใหม่ (reskill) เนื่องจากทักษะเดิมที่ต้องใช้ในการทำงานเปลี่ยนไปมากกว่า 40% คนทำงานทุกคนจำเป็นต้องแสวงหาความรู้และฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

          ประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับ reskill และ upskill2 ได้สร้างกลไกหรือมาตรการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยริเริ่มโครงการ SkillsFuture Singapore (SSG) ภายใต้การกำกับดูแลของสภาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต (The Future Economy Council : FEC) มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ (Smart Citizens) ส่งเสริมพัฒนาให้ประชาชนเกิดทักษะใหม่ที่จำเป็นสำหรับอนาคตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการใช้ Skill Future Credit เป็นเครื่องมืออุดช่องว่างทักษะอาชีพ (Skill Gap) เสมือนเงินให้เปล่าเพื่อให้ประชาชนเข้าคอร์สฝึกอบรมทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและทิศทางการพัฒนาหลักของประเทศ

          วิธีการคือ ชาวสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเครดิต 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี (ประมาณ 12,500 บาท) ซึ่งสะสมได้ 5 ปี เพื่อนำไปใช้เรียนในหลักสูตรที่รัฐสนับสนุนกว่า 26,000 หลักสูตร ทั้งจากมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน หลักสูตรที่โดดเด่นคือหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ หรือ Skill Future Series เน้น 8 หมวดหมู่ทักษะแห่งอนาคต คือ การวิเคราะห์ข้อมูล เทคโนโลยีการเงิน บริการด้านเทคโนโลยี สื่อดิจิทัล ความปลอดภัยทางทางไซเบอร์ การเป็นผู้ประกอบการ การผลิตขั้นสูง และการแก้ปัญหาเมืองใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลระหว่างปี 2016-2019 มีผู้ใช้เครดิตไปแล้ว 533,000 คน

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของไทย ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่มีชื่อคล้ายคลึงกับสิงคโปร์คือ Future Skill มีแนวคิดและรายละเอียดในการจูงใจพัฒนาทักษะคนด้วยเครื่องมือและกิจกรรมที่แทบจะเหมือนกับสิงคโปร์ จึงเชื่อได้ว่าทิศทางการส่งเสริมทักษะใหม่ของภาครัฐคงเลือกแนวทางในลักษณะของการสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนทักษะ แต่สิ่งที่ยังมองเห็นไม่ชัดเท่าไรนักคือการบูรณาการยุทธศาสตร์และการทำงานร่วมกับกระทรวงหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ

          นอกจากการขยับตัวของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ แล้ว ปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองคือบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตและป้อนแรงงานทักษะเข้าสู่ระบบ เมื่อครั้งเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยไทยตอบรับต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ได้อย่างรวดเร็ว เปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำมาปรับใช้ในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัย แต่แล้วในช่วงท้ายของทศวรรษที่สอง ราวกับไม่ทันตั้งตัว มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ จำนวนผู้ที่เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุหลักมาจากจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงมาโดยตลอดเฉลี่ยประมาณหนึ่งแสนคนทุก 1-2 ปี ขณะที่ผู้คนอายุยืนยาวขึ้น สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สังคมไทยขยับเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างชัดเจน และประมาณการว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564

          สิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่ดีอีกเช่นกันในกรณีนี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียและติดอันดับต้นๆ ของโลกได้ปรับบทบาทตัวเองให้เป็น ‘มหาวิทยาลัยสำหรับทุกช่วงวัยของชีวิต’ โดยศิษย์เก่าสามารถกลับมาเรียนฟรีเพื่อเพิ่มทักษะให้กับตัวเองได้ เป็นการอัปเกรดทักษะและความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา เช่น ภายใน 3 ปีสามารถกลับเข้าไปเรียนเพิ่มทักษะได้ฟรี 2 โมดูล และหากสะสมคอร์สได้ตามที่กำหนดจนครบตามมาตรฐาน สามารถเปลี่ยนเป็นใบปริญญาเพิ่มได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังออกแบบหลักสูตรการปรับทักษะความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป จึงทำให้ลูกค้าของมหาวิทยาลัยเพิ่มจำนวนขึ้น เพราะมีทั้งลูกค้าเก่า (ศิษย์เก่า) และลูกค้าใหม่ (ประชาชน) หมุนเวียนเข้ามาใช้บริการตลอดเวลา

          ในการบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งติดตามและให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาการศึกษาของไทย ได้กล่าวชี้นำกลายๆ ถึงบทบาทที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัยในการตอบสนองต่อแรงกดดันจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานว่า “มองไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการทำงานและทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน ทำให้การฝึกฝนและพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ หรือ reskilling จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในอนาคต เรื่องนี้เป็นอีกมิติสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในวงการศึกษาหรือในภาคธุรกิจต้องช่วยกัน เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญเกินกว่าจะเป็นภาระขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง”

          อาจกล่าวได้ว่าในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยไทยกำลังปรับบทบาทตัวเองจากเดิม แม้จะดูเชื่องช้าแต่ก็มองเห็นความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ reskill และ upskill แรงงานในระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปแล้ว 5-10 ปี ที่จำเป็นต้องเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ ไปจนถึงผู้สูงวัยที่ยังสามารถทำงานได้

          ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นและการงานอาชีพในอนาคตสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับเทคโนโลยีดิจิทัล สถาบันแมคคินซีย์โกลบอลระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสืบค้นที่ช่วยคัดสรรคน (หรือทักษะ) ให้ตรงกับงาน ผ่านอัลกอริทึมคัดกรองซึ่งทำให้กระบวนการจ้างงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีผลต่อการลดอัตราการว่างงาน ในอีกด้านหนึ่ง แพลตฟอร์มดิจิทัลยังเอื้อให้เกิดผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 15% คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณภายในเวลาไม่กี่ปี

          ในขณะที่ทั่วโลกต่างก็ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงของทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และความสามารถในการปรับตัวไปสู่แรงงานทักษะใหม่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเยาวชนไทยซึ่งจะกลายเป็นพลังผลักดันการพัฒนาสังคมในอนาคตกลับมี Growth Mindset3 ต่อเรื่องของความรู้และทักษะค่อนข้างต่ำอย่างน่าตกใจ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นและฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยให้ต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น

ทัศนคติที่มีต่อการใช้ความรู้และทักษะการเรียนรู้ของเยาวชนไทยเปรียบเทียบกับอาเซียน

เชิงอรรถ

[1] ทักษะอนาคต 3 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 Hard Skill เช่น Product Management, Big Data Analysis, Lean Management กลุ่มที่ 2 Soft Skill เช่น Creativity, Critical Thinking and Problem Solving, Social Intelligence และกลุ่มที่ 3 Meta Skill เช่น Growth Mindset, Lifelong Learning Aspiration, Self-direction, Comfort with Change

[2] reskill หมายถึงการสร้างทักษะใหม่ที่ยังไม่เคยมี upskill หมายถึงการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้ก้าวหน้ากว่าเดิม

[3] Growth Mindset คือ ความคิดหรือทัศนคติที่เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นได้ผ่านการฝึกฝน เรียนรู้ ทำงานหนัก ทุ่มเทและมุ่งมั่นพยายามทำสิ่งใดก็ตามให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และชอบสร้างโอกาส เป็นคนรักในการเรียนรู้ ไม่เชื่อว่าความรู้ที่มีอยู่เพียงพอหรือสามารถนำไปใช้ได้ตลอด สนใจและเปิดรับความรู้ใหม่ พร้อมปรับตัวหรือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ


ที่มา

World Economic Forum. Future of Jobs Report 2018 เว็บไซต์ https://www.weforum.org

World Economic Forum. Future of Jobs Report 2020 เว็บไซต์https://www.weforum.org

McKinsey Global Institute. Technology, jobs, and the future of work.เว็บไซต์ https://www.mckinsey.com/

Skills Future Singapore เว็บไซต์ https://www.skillsfuture.sg

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิวัติธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา Business Transformation through Flagship Education” จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 5 เมษายน 2561 เว็บไซต์ https://thaipublica.org

อว.เปิดตัว ‘Future Skill x New Career Thailand’ รับมือโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน เว็บไซต์ https://www.matichon.co.th

Cover Photo : ThisisEngineering RAEng on Unsplash


พิมพ์รวมเล่มในหนังสือ TK Lifelong Learning Focus 01 (2564)
Tags: อาชีพอนาคต

วัฒนชัย วินิจจะกูล เรื่อง

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม เรื่อง

คุณแม่ลูกอ่อน ผู้สนใจประเด็นด้านการศึกษา พร้อมแหวกว่ายในทะเลข้อมูลในทุกๆ เรื่องที่อยากรู้ ชอบเลนส์โบราณและการถ่ายภาพ

  • 'Big Lunch' ยิ่งกิน ยิ่งใกล้ สานสายใยชุมชนด้วยอาหารมื้อพิเศษ
  • ‘กาโนเป’ ห้องสมุดสีเขียว เสริมจุดแข็งเมืองท่องเที่ยว ‘ปารีส’ ให้เป็น Green City
  • ‘สตาร์ทอัป’ วาระแห่งชาติอินเดีย ปลูกฝังทักษะผู้ประกอบการได้ตั้งแต่วัยเยาว์

Related Posts

Ideal Organization...ถอดลักษณะ ‘องค์กรในอุดมคติ’
Common INFO

Ideal Organization…ถอดลักษณะ ‘องค์กรในอุดมคติ’

September 1, 2022
602
Growth Mindset ทักษะองค์กรเพื่อสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Common INFO

Growth Mindset ทักษะองค์กรเพื่อสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

August 29, 2022
674
เปลี่ยนโลกการเรียนรู้ของไทยให้ทันโลก
Common INFO

เปลี่ยนโลกการเรียนรู้ของไทยให้ทันโลก

December 24, 2021
4.8k

Related Posts

Ideal Organization...ถอดลักษณะ ‘องค์กรในอุดมคติ’
Common INFO

Ideal Organization…ถอดลักษณะ ‘องค์กรในอุดมคติ’

September 1, 2022
602
Growth Mindset ทักษะองค์กรเพื่อสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Common INFO

Growth Mindset ทักษะองค์กรเพื่อสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

August 29, 2022
674
เปลี่ยนโลกการเรียนรู้ของไทยให้ทันโลก
Common INFO

เปลี่ยนโลกการเรียนรู้ของไทยให้ทันโลก

December 24, 2021
4.8k
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common ROOM
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences
https://www.thekommon.co/network/cache/breeze-minification/js/breeze_2a69488e89814750d4e1061ed801f95e.js