The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
TK Park website
No Result
View All Result
The KOMMON
No Result
View All Result
 
Read
Common WORLD
Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Common WORLD
  • Common WORLD

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์

133 views

 7 mins

4 MINS

May 22, 2023

          อย่างพื้นฐานที่สุด ‘การออกแบบ’ (Design) นั้นหมายถึง ‘การสร้างสรรค์’ แต่หากเราลองถอยออกมามองภาพที่กว้างกว่านั้น การสร้างสรรค์ที่ว่านี้อาจหมายความได้ทั้ง ‘การวางแผน’ ‘การต่อยอด’ ‘การพัฒนา’ ไปจนถึงอะไรอีกมากมาย ว่ากันตรงๆ การออกแบบเป็นคำที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งการจะนิยามคำนี้ให้อยู่ภายใต้คำจัดความที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย อาจไม่ใช่อะไรที่ง่ายอย่างที่มันควรจะเป็น

          นั่นเพราะในแง่หนึ่ง การออกแบบเป็นคำที่ ‘ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง’ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ การวางแผน การต่อยอด และการพัฒนา ล้วนสะท้อนให้เห็นสิ่งสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็น หัวใจ นั่นคือ ‘กระบวนการ’ (Process) ไม่ว่าคุณจะดีไซน์อะไร การออกแบบจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการ คือ การนิ่งคิด จินตนาการ และต่อจุดไปเรื่อยๆ จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมายปลายทาง โดยที่ขั้นตอนแต่ละอย่างในกระบวนการออกแบบก็มักจะหลากหลายและแตกต่าง ไม่ตายตัวเสมอไป

          ท่ามกลางกระบวนการออกแบบมากมาย ‘Collaborative Design’ หรือ ‘การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม’ ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการออกแบบที่เรามักจะได้ยินอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะปัจจุบันที่แนวทางการออกแบบในหลายๆ วงการต่างไม่ได้แยกขาดจากกันอย่างเช่นเหมือนก่อน แต่เลือกที่จะเปิดกว้างเพื่อเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมศาสตร์ ไปจนถึงประวัติศาสตร์ ปรัชญา และมานุษยวิทยา

          แน่นอนว่า การเปิดพื้นที่ให้ศาสตร์ต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนั้นย่อมเป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางกลุ่มก็เริ่มตั้งคำถามต่อนิยามของการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมนี้ว่า ถึงที่สุดแล้ว กระบวนการออกแบบนี้กลับให้ความสำคัญแค่ ‘มนุษย์’ เพียงอย่างเดียวหรือเปล่า พูดให้ชัดขึ้นคือ ภายใต้ศาสตร์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันภายใต้นามของการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม เหล่านี้ล้วนหมกมุ่นเฉพาะกับ ‘ผลประโยชน์’ ของมนุษย์ในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ทว่ากับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแมลง ชีวิตเหล่านี้ไม่ควรจะถูกนับว่าเป็น ‘ตัวแสดง’ (Actor) ในกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมด้วยหรือ

          บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับข้อถกเถียง แนวคิดและข้อเสนอใหม่ๆ ต่อกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมที่ไม่ได้โฟกัสมนุษย์ในฐานะตัวแสดงเดียวอีกต่อไป ทว่าเลือกจะเปิดพื้นที่ให้กับสิ่งมีชีวิตอีกมากมายบนโลกใบนี้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะตัวแสดงสำคัญ

1.

          ในงานวิจัยเรื่อง ‘การออกแบบส่วนร่วมของสายพันธุ์ที่หลากหลาย’ (Designing for Multispecies Commons) ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นกระแสของการวิพากษ์กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมซึ่งมักจะให้ความสำคัญแค่กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ชาวยุโรป ผู้ชายผิวขาว และกลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง ซึ่งส่งผลให้คนอีกหลายกลุ่มมักจะถูกมองข้ามไป เช่น ผู้หญิง และชนกลุ่มน้อย ในแง่นี้ สถานะของกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในช่วงเวลาหนึ่งจึงกลายเป็นพื้นที่ของการวิจารณ์จากทฤษฎีสำนักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟมินิสต์ การศึกษาผู้ไร้เสียง (Subaltern studies) ไปจนถึง ‘นิเวศวิทยา’ (Ecology)

          ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ในขณะที่ทฤษฎีอื่นๆ มุ่งเป้าไปที่มนุษย์กลุ่มที่โดนมองข้าม นิเวศวิทยากลับชี้เป้าไปยัง ‘สิ่งมีชีวิตอื่น’ ในธรรมชาติ ในท่อนหนึ่งของงานวิจัยนี้ ผู้เขียนกล่าวว่า

           “ข้อเสนอของเราคือการใช้วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่โลกและระบบนิเวศกำลังเผชิญหน้า เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่เราจะสร้างจินตนาการและเรื่องเล่าใหม่ๆ การมีส่วนร่วมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความสนใจไปสู่โจทย์ที่ว่า เราจะทำให้โลกใบนี้กลายเป็นพื้นที่อันเป็นมิตรสำหรับสรรพชีวิตที่หลากหลายได้อย่างไร”

          พูดอีกอย่างคือ งานวิจัยชิ้นนี้พยายามเสนอว่า ภายใต้วิกฤตการณ์ของโลกในปัจจุบัน การจะหมกมุ่นอยู่กับการออกแบบเพื่อสังคมมนุษย์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เราจำเป็นต้อง ‘ขยาย’ นิยามของการออกแบบให้ครอบคลุมตัวแสดงที่มากขึ้น และให้ความสำคัญกับชีวิตอื่นๆ ที่ ‘ไม่เคยถูกนับรวม’ อยู่ในการดีไซน์ เพียงแต่การที่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ย่อมไม่ใช่การตั้งโจทย์ง่ายๆ ว่า ฉันจะออกแบบสิ่งนี้เพื่อพืช หรือฉันจะออกแบบสิ่งนั้นเพื่อสัตว์ แต่เราจำเป็นที่จะต้อง ‘ปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่’ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดอยู่สูงกว่า/ต่ำกว่าสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สุนัข หรือต้นไม้ โจทย์ที่จำเป็นต้องตอบให้ได้คือ จะทำอย่างไรให้สถานะของชีวิตต่างๆ เหล่านี้ถูกรับรู้ว่าเป็นตัวแสดงสำคัญในกระบวนการดีไซน์อย่างเท่าเทียมกัน

          ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า แล้วคำถามเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ระหว่างสรรพสิ่งต่างๆ สำคัญกับการดีไซน์อย่างไร ผู้เขียนขอยกทฤษฎีหนึ่ง ที่อาจชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ โดยทฤษฎีที่ว่าคือ ‘ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ’ (Actor-network Theory)

2. 

          Bruno Latour คือชื่อของนักปรัชญาและนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการผลักดันทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ อธิบายอย่างคร่าวๆ ทฤษฎีนี้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นภายใต้มุมมองที่ว่า สิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลกต่าง ‘เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกัน’ ภายใต้ ‘เครือข่ายความสัมพันธ์’ (Web of Relations) โดยที่สิ่งต่างๆ ที่ว่าก็ล้วนมีสถานะเป็น ‘ผู้กระทำการ’ (Actor) ที่สามารถสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ที่เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกันในเครือข่ายความสัมพันธ์นี้

          ทั้งนี้ ผู้กระทำการที่ Latour หมายถึง ก็ไม่ได้มีแค่มนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังนับรวมสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ ไปจนถึงเครื่องจักร ที่เรียกรวมๆ กันว่า ‘อมนุษย์’ (Non-human) โดยที่ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่ผู้กระทำการเหล่านี้สามารถ ‘กระทำ’ ก็อาจเป็นความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับรูปธรรมที่จับต้องได้ ไปจนถึงระดับนามธรรมในแง่ของความหมายหรือสัญลักษณ์

          พูดอีกอย่างคือ ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้ขยายขอบเขตของผู้กระทำการไปยังสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่พิจารณาไปยังอมนุษย์ซึ่งต่างก็มีอำนาจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน

Bruno Latour
Bruno Latour

          แม้ว่าทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำจะฟังดูซับซ้อนอยู่บ้าง หากทฤษฎีนี้ก็ส่งอิทธิพลในหลายๆ วงการ รวมไปถึงวงการออกแบบ หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ‘Non-human Centered Design’ แนวคิดการออกแบบซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Kelvin Godee และ Simon Wijrdeman สองนักออกแบบที่พยายามจะ ‘เปลี่ยนมุมมอง’ ในการออกแบบให้หันมาพิจารณาสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากมนุษย์

          ในบทสัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Next Nature – Godee และ Wijrdeman อธิบายถึง Non-human Centered Design ว่า “ก่อนหน้านี้ มนุษย์เคยเป็นสายพันธุ์ที่ครอบครองโลก เราสร้างรั้วขึ้นมาเพื่อกั้นผืนป่าให้ห่างออกไป มนุษย์กลายเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อโลกที่เราอยู่อาศัย หากยังรวมถึง ‘โลกของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ’ ด้วย คำถามคือ ถ้าการ ‘ออกแบบ’ ของมนุษย์ส่งผลกระทบชีวิตอื่นๆ อยู่แล้ว ทำไมเราถึงไม่ลองปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบของเราให้ตรงตามความต้องการของชีวิตอื่นๆ ดูบ้างล่ะ”

          กล่าวคือ Godee และ Wijrdeman พยายามที่จะให้เกิดการตั้งคำถามที่มากไปกว่าการออกแบบทั่วไป โดยการหันไปมองอมนุษย์อื่นๆ รอบตัว ลองให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอย่างจริงจัง แล้วพยายามตั้งคำถามภายใต้มุมมองที่แตกต่างออกไป

          “มนุษย์จำเป็นที่จะต้องหยุดคิดว่า เราอยู่เหนือธรรมชาติและสิ่งอื่นๆ เพราะเราคือส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่แสนยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ วาฬหรือดอกไม้ก็ล้วนอยู่ในระดับที่เท่าเทียมกัน” Godee และ Wijrdeman กล่าว

3.

          ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเคสแรก มาจาก Matilde Boelhouwer ดีไซเนอร์ชาวดัตช์ที่ตั้งคำถามว่า เธอจะสามารถออกแบบอะไรที่จะให้ความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ เป็นลำดับแรก แต่ก็ยังพอจะส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับมนุษย์ได้บ้าง 

          คำถามนี้ได้พา Boelhouwer ไปสู่การเพ่งสายตาไปยัง ‘พื้นที่เมือง’ ซึ่งดีไซเนอร์สาวมองว่า จำเป็นที่จะต้องได้รับการ ‘ฟื้นคืนสู่ธรรมชาติ’ (Rewilding) อีกครั้ง นั่นเพราะการฟื้นธรรมชาติในเมืองไม่เพียงจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองเท่านั้น หากมนุษย์เองก็ยังพลอยได้รับประโยชน์ด้วย

          ด้วยเหตุนี้ Boelhouwer จึงได้พัฒนาโปรเจกต์ชื่อ ‘Insectology’ ขึ้นมา โดยเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่จะเปลี่ยนฝนให้กลายเป็นน้ำหวาน เพื่อที่ว่าน้ำหวานเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งอาหารให้กับแมลงบางประเภทในเมือง ซึ่ง Boelhouwer มองว่า การเพิ่มขึ้นของแมลงเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นธรรมชาติในเมืองให้ฟื้นคืนกลับมาได้นั่นเอง โปรเจกต์ของ Boelhouwer สะท้อนให้เห็นจินตนาการในการออกแบบที่ไปไกลกว่าการออกแบบเพื่อมนุษย์ แต่พิจารณาไปยังสิ่งอมนุษย์อื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือแมลงนั่นเอง โดยที่ Boelhouwer ก็เลือกที่จะใช้ ‘การตกของฝน’ ในฐานะผู้กระทำการหนึ่งที่จะคอยกำหนดการทำงานของ Insectology นั่นเอง

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Matilde Boelhouwe
Insectology โปรเจกต์ที่ประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อเปลี่ยนฝนเป็นน้ำหวานให้แก่เหล่าแมลง

          ตัวอย่างต่อมาเป็นโปรเจกต์ของ Merle Bergers ดีไซเนอร์ชาวดัตช์อีกคนหนึ่ง ซึ่งอยากจะสร้างการตระหนักรู้ว่าอมนุษย์ก็สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ งานของ Bergers นั้นได้พยายามแสดงให้เห็นการสื่อสารระหว่างพืชพันธุ์ด้วยกัน โดยการผลิตสารเคมีที่สามารถส่งสัญญาณได้ Bergers ปล่อยสารเคมีที่ว่านี้ให้ไปจับกับต้นไม้ใบหญ้า ซึ่งพอพืชพันธุ์แสดงปฏิกิริยาบางอย่างออกมา เช่น การเรียกหา/ขับไล่แมลง สารเคมีเหล่านี้ก็จะส่งสัญญาณกลับมาและแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ใบหญ้ากำลังสื่อสารอยู่นั่นเอง

          แม้ว่าโปรเจกต์ของ Bergers จะไม่ใช่การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาอย่างของ Boelhouwer หากมันก็สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะสร้างการตระหนักรู้ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ สิ่งมีชีวิตที่แม้ว่าจะไม่เคลื่อนไหวหรือส่งเสียง หากพวกเขาก็พยายามดำรงชีวิตของตัวเองไม่ต่างอะไรจากมนุษย์เรา

          อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีในปี 2012 เรื่อง Leviathan ที่มาพร้อมกับไอเดียเพี้ยนๆ ในการพาคนดูไปสำรวจเรือประมง โดยทีมงานของสารคดีเรื่องนี้ได้ใช้กล้อง GoPro ถ่ายแทนสายตาของสิ่งต่างๆ ที่ปฏิสัมพันธ์อยู่กับเรือประมงลำนี้ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของนกนางแอ่นที่บินอยู่เหนือเรือประมง มุมมองของอวนลากปลา มุมมองของฝูงปลาที่ถูกเรือประมงจับได้ มุมมองของชาวประมง ไปจนถึงมุมมองของเครื่องยนต์

          ผ่านการฉายให้เห็นภาพหลายๆ สิ่งที่ปฏิสัมพันธ์อยู่กับเรือประมงลำนี้  Leviathan ได้ทำหน้าที่เปิดสายตาใหม่ๆ ที่เพ่งพิจารณาไปยังเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างผู้กระทำการที่เป็นอมนุษย์ต่างๆ ซึ่งก็สร้างผลกระทบถึงกันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณูปการสำคัญของสารคดีเรื่องนี้คือการเปิดให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการสร้างความรับรู้ต่อประสบการณ์ภาพยนตร์ที่แตกต่างออกไป รวมถึงการท้าทายต่อการออกแบบเรื่องราวของภาพยนตร์ที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดผ่านการรับรู้หรือประสบการณ์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่าง ภาพยนตร์ Leviathan

4.

          ในปี 2019 มีนักวิจัยสองคนจากมหาวิทยาลัย Aalto ได้จัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการออกแบบขึ้นมา โดยคำถามหนึ่งที่พวกเขาตั้งขึ้นอย่างชวนขบคิดคือ ถ้าเกิดว่าสุนัขสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมาล่ะ หน้าตาอินเทอร์เน็ตของสุนัขควรจะเป็นอย่างไร โดยที่ภายในเวิร์กชอปนี้ นักวิจัยทั้งสองก็พยายามพาผู้เข้าร่วมจินตนาการถึงความเป็นไปได้ที่อินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขต่างๆ รอบโลก

          แน่นอนว่า คำถามที่นักวิจัยทั้งสองตั้งขึ้นนี้ไม่ได้นำมาซึ่งการคิดค้นอินเทอร์เน็ตสำหรับสุนัขแต่อย่างใด ซึ่งในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ไม่ได้คาดหวังหรอกว่า หากเกิดขึ้นจริงได้ มันจะเกิดขึ้นในเวิร์กชอปครั้งนี้ ประเด็นของนักวิจัยทั้งสองคือการพยายามชักชวนให้ผู้เข้าร่วมได้ลองคิดในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคิด ฝันในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยฝัน ควบคู่ไปกับการได้พยายามถกเถียงและออกแบบอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า อินเทอร์เน็ตที่พร้อมจะเอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นั้นควรจะมีหน้าตา และลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร

          หากเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของบทความนี้อีกครั้ง จากที่ว่า การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมคือการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนประเด็นนั้น กลับผลักพานิยามการออกแบบให้ยิ่งกว้างไกล จากการออกแบบเพื่อมนุษย์ ไปสู่การออกแบบเพื่อสิ่งอื่นๆ ที่มีแต่จะนำมาซึ่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการออกแบบ

          แต่หากเราลองลดระดับนามธรรมลงมา จะพบว่า ภายใต้ทฤษฎีและตัวอย่างงานออกแบบต่างๆ การเกิดขึ้นของไอเดียเหล่านั้นล้วนมาจากความพยายามที่จะเรียนรู้และเข้าใจถึงความซับซ้อนของสิ่งอื่นๆ ที่พ้นไปจากมนุษย์ด้วยกัน

          เรามักจะได้ยินว่า มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุด และเพราะความคิดทำนองนั้นก็ได้นำมาซึ่งความอวดโอ่และทึกทักว่าตัวเองสำคัญ จนนำมาซึ่งความพังพินาศย่อยยับมากมายทั้งในระดับสังคมมนุษย์และธรรมชาติ กี่ครั้งกันแล้วที่ความหมุกมุ่นแค่กับพัฒนาการของมนุษย์เผ่าพันธุ์เดียวเท่านั้นได้นำมาซึ่งความเสียหายอย่างไม่อาจประมาณการ แต่หากเราลองถอนสายตาออกจากมนุษย์ดูสักหน่อย หันมาพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนบ้าง เราอาจพบว่าจริงๆ แล้วบนโลกใบนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่สำคัญไม่ต่างอะไรกับมนุษย์อยู่อีกมาก และซึ่งการมองเห็นชีวิตเหล่านี้ และตระหนักถึงคุณค่าของพวกเขาต่างหาก ที่อาจเป็นคำตอบในการออกแบบโลกใบนี้กลายเป็นพื้นที่ที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Dr. Ilyena Hirskyj-Douglas and Professor Andrés Lucero
Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Dr. Ilyena Hirskyj-Douglas and Professor Andrés Lucero

ที่มา

บทความ “ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ (Actor-Network Theory)” จาก sac.or.th (Online)

บทความ “Discussing Non-human Centered Design with Kelvin Godee and Simon Wijrdeman” จาก nextnature.net (Online)

บทความ “From human-centred to Interspecies Design” จาก unbore.org (Online)

Bruno Latour. We Have Never Been Modern. (Massachusetts : Harvard University Press, 1993) 

Cover Photo : Matilde Boelhouwer

Tags: Collaborative Designhighlight

เรื่องโดย

0
VIEWS
คาลิล พิศสุวรรณ เรื่อง

นักศึกษาปริญญาโทสาขาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ใช้ชีวิตอยู่เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช พร้อมกับเป็นนักเขียนที่สนใจชีวิตแบบยั่งยืนกับไอแอลไอยู

          อย่างพื้นฐานที่สุด ‘การออกแบบ’ (Design) นั้นหมายถึง ‘การสร้างสรรค์’ แต่หากเราลองถอยออกมามองภาพที่กว้างกว่านั้น การสร้างสรรค์ที่ว่านี้อาจหมายความได้ทั้ง ‘การวางแผน’ ‘การต่อยอด’ ‘การพัฒนา’ ไปจนถึงอะไรอีกมากมาย ว่ากันตรงๆ การออกแบบเป็นคำที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งการจะนิยามคำนี้ให้อยู่ภายใต้คำจัดความที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย อาจไม่ใช่อะไรที่ง่ายอย่างที่มันควรจะเป็น

          นั่นเพราะในแง่หนึ่ง การออกแบบเป็นคำที่ ‘ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง’ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ การวางแผน การต่อยอด และการพัฒนา ล้วนสะท้อนให้เห็นสิ่งสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็น หัวใจ นั่นคือ ‘กระบวนการ’ (Process) ไม่ว่าคุณจะดีไซน์อะไร การออกแบบจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการ คือ การนิ่งคิด จินตนาการ และต่อจุดไปเรื่อยๆ จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมายปลายทาง โดยที่ขั้นตอนแต่ละอย่างในกระบวนการออกแบบก็มักจะหลากหลายและแตกต่าง ไม่ตายตัวเสมอไป

          ท่ามกลางกระบวนการออกแบบมากมาย ‘Collaborative Design’ หรือ ‘การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม’ ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการออกแบบที่เรามักจะได้ยินอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะปัจจุบันที่แนวทางการออกแบบในหลายๆ วงการต่างไม่ได้แยกขาดจากกันอย่างเช่นเหมือนก่อน แต่เลือกที่จะเปิดกว้างเพื่อเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมศาสตร์ ไปจนถึงประวัติศาสตร์ ปรัชญา และมานุษยวิทยา

          แน่นอนว่า การเปิดพื้นที่ให้ศาสตร์ต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนั้นย่อมเป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางกลุ่มก็เริ่มตั้งคำถามต่อนิยามของการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมนี้ว่า ถึงที่สุดแล้ว กระบวนการออกแบบนี้กลับให้ความสำคัญแค่ ‘มนุษย์’ เพียงอย่างเดียวหรือเปล่า พูดให้ชัดขึ้นคือ ภายใต้ศาสตร์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันภายใต้นามของการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม เหล่านี้ล้วนหมกมุ่นเฉพาะกับ ‘ผลประโยชน์’ ของมนุษย์ในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ทว่ากับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแมลง ชีวิตเหล่านี้ไม่ควรจะถูกนับว่าเป็น ‘ตัวแสดง’ (Actor) ในกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมด้วยหรือ

          บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับข้อถกเถียง แนวคิดและข้อเสนอใหม่ๆ ต่อกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมที่ไม่ได้โฟกัสมนุษย์ในฐานะตัวแสดงเดียวอีกต่อไป ทว่าเลือกจะเปิดพื้นที่ให้กับสิ่งมีชีวิตอีกมากมายบนโลกใบนี้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะตัวแสดงสำคัญ

1.

          ในงานวิจัยเรื่อง ‘การออกแบบส่วนร่วมของสายพันธุ์ที่หลากหลาย’ (Designing for Multispecies Commons) ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นกระแสของการวิพากษ์กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมซึ่งมักจะให้ความสำคัญแค่กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ชาวยุโรป ผู้ชายผิวขาว และกลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง ซึ่งส่งผลให้คนอีกหลายกลุ่มมักจะถูกมองข้ามไป เช่น ผู้หญิง และชนกลุ่มน้อย ในแง่นี้ สถานะของกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในช่วงเวลาหนึ่งจึงกลายเป็นพื้นที่ของการวิจารณ์จากทฤษฎีสำนักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟมินิสต์ การศึกษาผู้ไร้เสียง (Subaltern studies) ไปจนถึง ‘นิเวศวิทยา’ (Ecology)

          ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ในขณะที่ทฤษฎีอื่นๆ มุ่งเป้าไปที่มนุษย์กลุ่มที่โดนมองข้าม นิเวศวิทยากลับชี้เป้าไปยัง ‘สิ่งมีชีวิตอื่น’ ในธรรมชาติ ในท่อนหนึ่งของงานวิจัยนี้ ผู้เขียนกล่าวว่า

           “ข้อเสนอของเราคือการใช้วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่โลกและระบบนิเวศกำลังเผชิญหน้า เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่เราจะสร้างจินตนาการและเรื่องเล่าใหม่ๆ การมีส่วนร่วมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความสนใจไปสู่โจทย์ที่ว่า เราจะทำให้โลกใบนี้กลายเป็นพื้นที่อันเป็นมิตรสำหรับสรรพชีวิตที่หลากหลายได้อย่างไร”

          พูดอีกอย่างคือ งานวิจัยชิ้นนี้พยายามเสนอว่า ภายใต้วิกฤตการณ์ของโลกในปัจจุบัน การจะหมกมุ่นอยู่กับการออกแบบเพื่อสังคมมนุษย์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เราจำเป็นต้อง ‘ขยาย’ นิยามของการออกแบบให้ครอบคลุมตัวแสดงที่มากขึ้น และให้ความสำคัญกับชีวิตอื่นๆ ที่ ‘ไม่เคยถูกนับรวม’ อยู่ในการดีไซน์ เพียงแต่การที่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ย่อมไม่ใช่การตั้งโจทย์ง่ายๆ ว่า ฉันจะออกแบบสิ่งนี้เพื่อพืช หรือฉันจะออกแบบสิ่งนั้นเพื่อสัตว์ แต่เราจำเป็นที่จะต้อง ‘ปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่’ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดอยู่สูงกว่า/ต่ำกว่าสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สุนัข หรือต้นไม้ โจทย์ที่จำเป็นต้องตอบให้ได้คือ จะทำอย่างไรให้สถานะของชีวิตต่างๆ เหล่านี้ถูกรับรู้ว่าเป็นตัวแสดงสำคัญในกระบวนการดีไซน์อย่างเท่าเทียมกัน

          ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า แล้วคำถามเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ระหว่างสรรพสิ่งต่างๆ สำคัญกับการดีไซน์อย่างไร ผู้เขียนขอยกทฤษฎีหนึ่ง ที่อาจชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ โดยทฤษฎีที่ว่าคือ ‘ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ’ (Actor-network Theory)

2. 

          Bruno Latour คือชื่อของนักปรัชญาและนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการผลักดันทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ อธิบายอย่างคร่าวๆ ทฤษฎีนี้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นภายใต้มุมมองที่ว่า สิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลกต่าง ‘เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกัน’ ภายใต้ ‘เครือข่ายความสัมพันธ์’ (Web of Relations) โดยที่สิ่งต่างๆ ที่ว่าก็ล้วนมีสถานะเป็น ‘ผู้กระทำการ’ (Actor) ที่สามารถสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ที่เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกันในเครือข่ายความสัมพันธ์นี้

          ทั้งนี้ ผู้กระทำการที่ Latour หมายถึง ก็ไม่ได้มีแค่มนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังนับรวมสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ ไปจนถึงเครื่องจักร ที่เรียกรวมๆ กันว่า ‘อมนุษย์’ (Non-human) โดยที่ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่ผู้กระทำการเหล่านี้สามารถ ‘กระทำ’ ก็อาจเป็นความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับรูปธรรมที่จับต้องได้ ไปจนถึงระดับนามธรรมในแง่ของความหมายหรือสัญลักษณ์

          พูดอีกอย่างคือ ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้ขยายขอบเขตของผู้กระทำการไปยังสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่พิจารณาไปยังอมนุษย์ซึ่งต่างก็มีอำนาจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน

Bruno Latour
Bruno Latour

          แม้ว่าทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำจะฟังดูซับซ้อนอยู่บ้าง หากทฤษฎีนี้ก็ส่งอิทธิพลในหลายๆ วงการ รวมไปถึงวงการออกแบบ หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ‘Non-human Centered Design’ แนวคิดการออกแบบซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Kelvin Godee และ Simon Wijrdeman สองนักออกแบบที่พยายามจะ ‘เปลี่ยนมุมมอง’ ในการออกแบบให้หันมาพิจารณาสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากมนุษย์

          ในบทสัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Next Nature – Godee และ Wijrdeman อธิบายถึง Non-human Centered Design ว่า “ก่อนหน้านี้ มนุษย์เคยเป็นสายพันธุ์ที่ครอบครองโลก เราสร้างรั้วขึ้นมาเพื่อกั้นผืนป่าให้ห่างออกไป มนุษย์กลายเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อโลกที่เราอยู่อาศัย หากยังรวมถึง ‘โลกของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ’ ด้วย คำถามคือ ถ้าการ ‘ออกแบบ’ ของมนุษย์ส่งผลกระทบชีวิตอื่นๆ อยู่แล้ว ทำไมเราถึงไม่ลองปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบของเราให้ตรงตามความต้องการของชีวิตอื่นๆ ดูบ้างล่ะ”

          กล่าวคือ Godee และ Wijrdeman พยายามที่จะให้เกิดการตั้งคำถามที่มากไปกว่าการออกแบบทั่วไป โดยการหันไปมองอมนุษย์อื่นๆ รอบตัว ลองให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอย่างจริงจัง แล้วพยายามตั้งคำถามภายใต้มุมมองที่แตกต่างออกไป

          “มนุษย์จำเป็นที่จะต้องหยุดคิดว่า เราอยู่เหนือธรรมชาติและสิ่งอื่นๆ เพราะเราคือส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่แสนยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ วาฬหรือดอกไม้ก็ล้วนอยู่ในระดับที่เท่าเทียมกัน” Godee และ Wijrdeman กล่าว

3.

          ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเคสแรก มาจาก Matilde Boelhouwer ดีไซเนอร์ชาวดัตช์ที่ตั้งคำถามว่า เธอจะสามารถออกแบบอะไรที่จะให้ความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ เป็นลำดับแรก แต่ก็ยังพอจะส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับมนุษย์ได้บ้าง 

          คำถามนี้ได้พา Boelhouwer ไปสู่การเพ่งสายตาไปยัง ‘พื้นที่เมือง’ ซึ่งดีไซเนอร์สาวมองว่า จำเป็นที่จะต้องได้รับการ ‘ฟื้นคืนสู่ธรรมชาติ’ (Rewilding) อีกครั้ง นั่นเพราะการฟื้นธรรมชาติในเมืองไม่เพียงจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองเท่านั้น หากมนุษย์เองก็ยังพลอยได้รับประโยชน์ด้วย

          ด้วยเหตุนี้ Boelhouwer จึงได้พัฒนาโปรเจกต์ชื่อ ‘Insectology’ ขึ้นมา โดยเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่จะเปลี่ยนฝนให้กลายเป็นน้ำหวาน เพื่อที่ว่าน้ำหวานเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งอาหารให้กับแมลงบางประเภทในเมือง ซึ่ง Boelhouwer มองว่า การเพิ่มขึ้นของแมลงเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นธรรมชาติในเมืองให้ฟื้นคืนกลับมาได้นั่นเอง โปรเจกต์ของ Boelhouwer สะท้อนให้เห็นจินตนาการในการออกแบบที่ไปไกลกว่าการออกแบบเพื่อมนุษย์ แต่พิจารณาไปยังสิ่งอมนุษย์อื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือแมลงนั่นเอง โดยที่ Boelhouwer ก็เลือกที่จะใช้ ‘การตกของฝน’ ในฐานะผู้กระทำการหนึ่งที่จะคอยกำหนดการทำงานของ Insectology นั่นเอง

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Matilde Boelhouwe
Insectology โปรเจกต์ที่ประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อเปลี่ยนฝนเป็นน้ำหวานให้แก่เหล่าแมลง

          ตัวอย่างต่อมาเป็นโปรเจกต์ของ Merle Bergers ดีไซเนอร์ชาวดัตช์อีกคนหนึ่ง ซึ่งอยากจะสร้างการตระหนักรู้ว่าอมนุษย์ก็สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ งานของ Bergers นั้นได้พยายามแสดงให้เห็นการสื่อสารระหว่างพืชพันธุ์ด้วยกัน โดยการผลิตสารเคมีที่สามารถส่งสัญญาณได้ Bergers ปล่อยสารเคมีที่ว่านี้ให้ไปจับกับต้นไม้ใบหญ้า ซึ่งพอพืชพันธุ์แสดงปฏิกิริยาบางอย่างออกมา เช่น การเรียกหา/ขับไล่แมลง สารเคมีเหล่านี้ก็จะส่งสัญญาณกลับมาและแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ใบหญ้ากำลังสื่อสารอยู่นั่นเอง

          แม้ว่าโปรเจกต์ของ Bergers จะไม่ใช่การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาอย่างของ Boelhouwer หากมันก็สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะสร้างการตระหนักรู้ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ สิ่งมีชีวิตที่แม้ว่าจะไม่เคลื่อนไหวหรือส่งเสียง หากพวกเขาก็พยายามดำรงชีวิตของตัวเองไม่ต่างอะไรจากมนุษย์เรา

          อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีในปี 2012 เรื่อง Leviathan ที่มาพร้อมกับไอเดียเพี้ยนๆ ในการพาคนดูไปสำรวจเรือประมง โดยทีมงานของสารคดีเรื่องนี้ได้ใช้กล้อง GoPro ถ่ายแทนสายตาของสิ่งต่างๆ ที่ปฏิสัมพันธ์อยู่กับเรือประมงลำนี้ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของนกนางแอ่นที่บินอยู่เหนือเรือประมง มุมมองของอวนลากปลา มุมมองของฝูงปลาที่ถูกเรือประมงจับได้ มุมมองของชาวประมง ไปจนถึงมุมมองของเครื่องยนต์

          ผ่านการฉายให้เห็นภาพหลายๆ สิ่งที่ปฏิสัมพันธ์อยู่กับเรือประมงลำนี้  Leviathan ได้ทำหน้าที่เปิดสายตาใหม่ๆ ที่เพ่งพิจารณาไปยังเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างผู้กระทำการที่เป็นอมนุษย์ต่างๆ ซึ่งก็สร้างผลกระทบถึงกันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณูปการสำคัญของสารคดีเรื่องนี้คือการเปิดให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการสร้างความรับรู้ต่อประสบการณ์ภาพยนตร์ที่แตกต่างออกไป รวมถึงการท้าทายต่อการออกแบบเรื่องราวของภาพยนตร์ที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดผ่านการรับรู้หรือประสบการณ์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่าง ภาพยนตร์ Leviathan

4.

          ในปี 2019 มีนักวิจัยสองคนจากมหาวิทยาลัย Aalto ได้จัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการออกแบบขึ้นมา โดยคำถามหนึ่งที่พวกเขาตั้งขึ้นอย่างชวนขบคิดคือ ถ้าเกิดว่าสุนัขสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมาล่ะ หน้าตาอินเทอร์เน็ตของสุนัขควรจะเป็นอย่างไร โดยที่ภายในเวิร์กชอปนี้ นักวิจัยทั้งสองก็พยายามพาผู้เข้าร่วมจินตนาการถึงความเป็นไปได้ที่อินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขต่างๆ รอบโลก

          แน่นอนว่า คำถามที่นักวิจัยทั้งสองตั้งขึ้นนี้ไม่ได้นำมาซึ่งการคิดค้นอินเทอร์เน็ตสำหรับสุนัขแต่อย่างใด ซึ่งในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ไม่ได้คาดหวังหรอกว่า หากเกิดขึ้นจริงได้ มันจะเกิดขึ้นในเวิร์กชอปครั้งนี้ ประเด็นของนักวิจัยทั้งสองคือการพยายามชักชวนให้ผู้เข้าร่วมได้ลองคิดในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคิด ฝันในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยฝัน ควบคู่ไปกับการได้พยายามถกเถียงและออกแบบอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า อินเทอร์เน็ตที่พร้อมจะเอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นั้นควรจะมีหน้าตา และลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร

          หากเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของบทความนี้อีกครั้ง จากที่ว่า การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมคือการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนประเด็นนั้น กลับผลักพานิยามการออกแบบให้ยิ่งกว้างไกล จากการออกแบบเพื่อมนุษย์ ไปสู่การออกแบบเพื่อสิ่งอื่นๆ ที่มีแต่จะนำมาซึ่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการออกแบบ

          แต่หากเราลองลดระดับนามธรรมลงมา จะพบว่า ภายใต้ทฤษฎีและตัวอย่างงานออกแบบต่างๆ การเกิดขึ้นของไอเดียเหล่านั้นล้วนมาจากความพยายามที่จะเรียนรู้และเข้าใจถึงความซับซ้อนของสิ่งอื่นๆ ที่พ้นไปจากมนุษย์ด้วยกัน

          เรามักจะได้ยินว่า มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุด และเพราะความคิดทำนองนั้นก็ได้นำมาซึ่งความอวดโอ่และทึกทักว่าตัวเองสำคัญ จนนำมาซึ่งความพังพินาศย่อยยับมากมายทั้งในระดับสังคมมนุษย์และธรรมชาติ กี่ครั้งกันแล้วที่ความหมุกมุ่นแค่กับพัฒนาการของมนุษย์เผ่าพันธุ์เดียวเท่านั้นได้นำมาซึ่งความเสียหายอย่างไม่อาจประมาณการ แต่หากเราลองถอนสายตาออกจากมนุษย์ดูสักหน่อย หันมาพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนบ้าง เราอาจพบว่าจริงๆ แล้วบนโลกใบนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่สำคัญไม่ต่างอะไรกับมนุษย์อยู่อีกมาก และซึ่งการมองเห็นชีวิตเหล่านี้ และตระหนักถึงคุณค่าของพวกเขาต่างหาก ที่อาจเป็นคำตอบในการออกแบบโลกใบนี้กลายเป็นพื้นที่ที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Dr. Ilyena Hirskyj-Douglas and Professor Andrés Lucero
Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์
Photo : Dr. Ilyena Hirskyj-Douglas and Professor Andrés Lucero

ที่มา

บทความ “ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ (Actor-Network Theory)” จาก sac.or.th (Online)

บทความ “Discussing Non-human Centered Design with Kelvin Godee and Simon Wijrdeman” จาก nextnature.net (Online)

บทความ “From human-centred to Interspecies Design” จาก unbore.org (Online)

Bruno Latour. We Have Never Been Modern. (Massachusetts : Harvard University Press, 1993) 

Cover Photo : Matilde Boelhouwer

Tags: Collaborative Designhighlight

คาลิล พิศสุวรรณ เรื่อง

นักศึกษาปริญญาโทสาขาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ใช้ชีวิตอยู่เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช พร้อมกับเป็นนักเขียนที่สนใจชีวิตแบบยั่งยืนกับไอแอลไอยู

Related Posts

‘แค่มานั่งหายใจเงียบๆ ก็ได้’ หลุมหลบภัยและที่พักใจของชาว LGBTQ+ ในลอนดอน
Common WORLD

‘แค่มานั่งหายใจเงียบๆ ก็ได้’ หลุมหลบภัยและที่พักใจของชาว LGBTQ+ ในลอนดอน

June 8, 2023
0
Gothenburg Film Festival
Common WORLD

Gothenburg Film Festival เทศกาลที่ไม่ได้มีดีแค่การฉายหนัง แต่เต็มไปด้วยการทดลองสร้างสรรค์สุดพิลึก

June 1, 2023
0
Smart Urban Farming เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างพื้นที่ปลูกผักปลูกใจให้คนฮ่องกง
Common WORLD

Smart Urban Farming เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างพื้นที่ปลูกผักปลูกใจให้คนฮ่องกง

May 29, 2023
0

Related Posts

‘แค่มานั่งหายใจเงียบๆ ก็ได้’ หลุมหลบภัยและที่พักใจของชาว LGBTQ+ ในลอนดอน
Common WORLD

‘แค่มานั่งหายใจเงียบๆ ก็ได้’ หลุมหลบภัยและที่พักใจของชาว LGBTQ+ ในลอนดอน

June 8, 2023
0
Gothenburg Film Festival
Common WORLD

Gothenburg Film Festival เทศกาลที่ไม่ได้มีดีแค่การฉายหนัง แต่เต็มไปด้วยการทดลองสร้างสรรค์สุดพิลึก

June 1, 2023
0
Smart Urban Farming เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างพื้นที่ปลูกผักปลูกใจให้คนฮ่องกง
Common WORLD

Smart Urban Farming เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างพื้นที่ปลูกผักปลูกใจให้คนฮ่องกง

May 29, 2023
0
ABOUT
SITE MAP
PRIVACY POLICY
CONTACT
Facebook-f
Youtube
Soundcloud
icon-tkpark

Copyright 2021 © All rights Reserved. by TK Park

  • READ
    • ALL
    • Common WORLD
    • Common VIEW
    • Common ROOM
    • Book of Commons
    • Common INFO
  • PODCAST
    • ALL
    • readWORLD
    • Coming to Talk
    • Read Around
    • WanderingBook
    • Knowledge Exchange
  • VIDEO
    • ALL
    • TK Forum
    • TK Common
    • TK Spark
  • UNCOMMON
    • ALL
    • Common INFO
    • Common EXPERIENCE
    • Common SENSE

© 2021 The KOMMON by TK Park.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่า อนุญาต
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
Privacy Preferences