บุงโกะ ห้องสมุดบ้าน รากฐานห้องสมุดเด็กโตเกียว

16 views
June 14, 2021

‘บุงโกะ’ หมายถึงห้องสมุดเอกชนที่เน้นให้บริการแก่เด็ก ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีบุงโกะนับพันแห่ง ห้องสมุดสำหรับเด็กที่เกิดขึ้นและดำเนินไปเองอย่างไม่เป็นทางการนี้สืบย้อนไปได้ว่ามีมานานไม่น้อยกว่าร้อยปี และเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฟื้นฟูสังคมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ห้องสมุดบุงโกะตั้งอยู่ทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ศูนย์ประชาคมในชุมชน วัด โบสถ์ ซูเปอร์มาร์เก็ต บางแห่งอาจมีหนังสือมากกว่า 10,000 เล่ม กิจกรรมต่างๆ ที่จัดในบุงโกะก็มีความคล้ายคลึงกับห้องสมุดสำหรับเด็กในห้องสมุดประชาชนทั่วไป เช่น การให้ยืมหนังสือ กิจกรรมเล่านิทาน การพูดคุยเรื่องหนังสือ การแสดงหุ่นกระบอก และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก ดำเนินการโดยอาสาสมัครซึ่งร้อยละ 90 เป็นผู้หญิง

ในต้นทศวรรษที่ 1980 ห้องสมุดบุงโกะมีจำนวนมากกว่าห้องสมุดประชาชนเกือบสองเท่า สำหรับเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมาก บุงโกะเป็นแหล่งเดียวที่พวกเขาจะได้พบงานเขียนดีๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก เนื่องจากในขณะนั้นห้องสมุดประชาชนและห้องสมุดโรงเรียนยังมีจำนวนไม่เพียงพอและคุณภาพไม่เหมาะกับเด็กเท่าที่ควร ในชุมชนขนาดใหญ่อาจมีเด็กๆ มาใช้บริการบุงโกะมากเกินกว่าที่ห้องสมุดเล็กๆ ในชุมชนจะรองรับไหว จึงเกิดการรวมกลุ่มเรียกร้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดตั้งห้องสมุดประชาชนหรือปรับปรุงบริการห้องสมุดชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งมีทั้งกรณีที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

ห้องสมุดเด็กโตเกียว (Tokyo Children’s Library) เป็นหนึ่งในกรณีที่ประสบความสำเร็จ เกิดขึ้นมาจากบุงโกะ 4 แห่งผลักดันให้มีศูนย์การศึกษาห้องสมุดในบ้านขึ้นในปี 1957 และได้พัฒนากลายเป็นห้องสมุดเด็กโตเกียวในปี 1974 มีกิจกรรมและการบรรยายหลากหลาย เช่น หลักสูตรการเล่านิทาน และการบรรยายพิเศษโดยนักเขียนสำหรับเด็ก และบุคลากรอื่นๆ ที่ทำงานในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด วรรณกรรมสำหรับเด็ก การศึกษา ฯลฯ

ภายในห้องสมุดมีห้องสำหรับเด็ก ห้องเล่านิทาน และห้องสำหรับการศึกษาวิจัย ห้องสมุดแห่งนี้จัดพิมพ์เผยแพร่วารสาร และหนังสือชุดที่มีชื่อเสียงที่เรียกว่า โอฮานาชิ โนะ โรโซกุ (Ohanashi No Rousoku ) ซึ่งเป็นหนังสือรวมนิทานที่เหมาะสำหรับการอ่านหรือเล่าให้เด็กฟัง

ปัจจุบันแม้ว่าห้องสมุดประชาชนของญี่ปุ่นจะมีคุณภาพและปริมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การเข้าถึงความรู้และหนังสือเป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วถึง แต่จำนวนห้องสมุดบุงโกะก็ลดลงเพียงเล็กน้อย และยังคงมีจำนวนมากกว่าห้องสมุดประชาชนอยู่ดี

คุณค่าของห้องสมุดบุงโกะที่มิอาจมีสิ่งใดมาทดแทนก็คือ บรรยากาศซึ่งเสมือนประหนึ่งบ้าน และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างแม่บ้านและเด็กๆ ที่เข้ามาใช้บริการ อาสาสมัครหญิงของบุงโกะก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่บรรณารักษ์ แต่ยังเป็นบุคคลพิเศษที่เด็กๆ ได้พบและพูดคุยด้วยอย่างสม่ำเสมอ นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์กับพ่อแม่และครูของพวกเขา

บุงโกะ ห้องสมุดบ้าน รากฐานห้องสมุดเด็กโตเกียว
Photo: KAIDO books & coffee

ความเป็นมาของห้องสมุดเด็กโตเกียว และพาชมคอลเลกชัน พื้นที่ และกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด

ที่มา

บุงโกะ ห้องสมุดเอกชนสำหรับเด็กในประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเบื้องต้นโดย คิชิโร ทากาฮาชิ

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก