101 บทเรียนสำหรับนวัตกร
ตอนที่ 40 หกข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับนวัตกรมือใหม่
ผมขออนุญาตเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นกับนวัตกรมือใหม่ในองค์กรของผม
ข้อผิดพลาดที่ 1: มอบหมายหน้าที่สร้างนวัตกรรมให้กับทีมใดทีมหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนั้น พนักงานที่เหลือในบริษัทจะไม่ทำอะไรเลย นอกจากรอดูว่าทีมนวัตกรรมจะสร้างสรรค์ผลงานอะไรออกมา
ข้อผิดพลาดที่ 2: เริ่มต้นด้วยความคลุมเครือ เมื่อรองประธานกรรมการเชิญให้คุณมารับมอบหมายงานด้านนวัตกรรม คุณอาจจะพอมองเห็นทิศทางการทำงานแบบคร่าวๆ ทันทีที่คุณรับปากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม คุณจะพบกับความท้าทายหลายประการ อย่าลืมซักถามจนหมดข้อสงสัยเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงานให้มากที่สุด
ข้อผิดพลาดที่ 3: เลือกพัฒนาเพียงไอเดียเดียวเท่านั้น การศึกษาด้านนวัตกรรมโดยโรเบิร์ต จี. คูเปอร์ ในปี 2011 แสดงให้เห็นว่า จากไอเดียเริ่มต้น 7 ไอเดีย มีเพียง 4 ไอเดียเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนาต่อ มีเพียง 1.5 ไอเดียที่เปิดตัวสู่ตลาด และมีเพียงไอเดียเดียวเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น อย่าไว้ใจว่าเลือกพัฒนาไอเดียเพียงหนึ่งเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ
ข้อผิดพลาดที่ 4: ปล่อยให้ดอกไม้นับพันดอกเบ่งบาน เพื่อรอดูว่าดอกไหนจะสวยงามที่สุด การไม่ยอมตัดสินใจว่าโครงการไหนควรทำ โครงการไหนควรล้มเลิก แปลว่าแต่ละโครงการจะมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำกัด ซึ่งจะทำให้โครงการทั้งหมดดำเนินการได้ช้าลง ดังนั้น จงอย่าลืมยุบโครงการที่ไม่เวิร์กในเวลาที่เหมาะสม
ข้อผิดพลาดที่ 5: วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง วิธีเดียวที่จะทำให้รู้ว่าลูกค้าชอบแนวคิดของคุณ และมันมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ คือการทดลองลงมือทำ ทดสอบ ทดสอบ ทดสอบ
ข้อผิดพลาดที่ 6: นำเสนอไอเดียให้กับผู้บริหารแบบตรงไปตรงมา เมื่อคุณต้องพรีเซนต์ไอเดีย จำไว้ว่าคนอื่นๆ ในองค์กรก็ยังมีความอนุรักษนิยมตามแบบที่เคยเป็นมา อย่าเล่าแค่แนวคิด แต่จงนำเสนอศักยภาพในการเติบโตและการสร้างกำไรในรูปแบบของ business case จะดีกว่า

ที่มา
หนังสือ Inspiration for Innovation: 101 Lessons for Innovators เขียนโดย Gijs van Wulfen
Cover Photo: Marko Kelecevic on Unsplash