20 ปีประเทศไทยกับการพัฒนาคุณภาพคน

896 views
3 mins
July 15, 2021

          ในงานประชุมวิชาการ TK Forum 2021 เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 มีการนำเสนอข้อมูลสถิติและการสำรวจจากแหล่งข้อมูลระดับโลกที่น่าเชื่อถือ เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) ธนาคารโลก (World Bank หรือ International Bank for Reconstruction and Development) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-​operation and Development – OECD) สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum – WEF) และ สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการจัดการ (International Institute for Management and Development – IMD) โดยนำข้อมูลช่วงยาวนับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คือระหว่างปี พ.ศ. 2544-2563 มาใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

          ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งในด้านอายุขัยเฉลี่ยของประชากร จำนวนปีที่คาดว่าเด็กจะได้รับการศึกษา และรายได้ประชากร แต่ความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ค่อนข้างสูง เป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนาคุณภาพคนอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยเท่ากับ 16.9%) เป็นผลให้ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ลดลงจนเกือบจะหลุดมาอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาระดับปานกลาง

          เด็กไทยใช้เวลาเรียน 12.7 ปี แต่มีคุณภาพเทียบเท่า 8.7 ปี เด็กที่เกิดในวันนี้เมื่อพวกเขามีอายุ 18 ปี จะมีผลิตภาพสูงสุดเพียง 61% ของศักยภาพจริงที่เขาสามารถเป็นได้ สะท้อนถึงคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ แม้กระทั่งเวียดนาม

          ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไม่มากนัก ผลการสำรวจล่าสุดมีคะแนนเพิ่มขึ้นแต่อันดับกลับลดลง ปัจจัยโครงสร้างด้านสาธารณสุขมีคะแนนดีขึ้น แต่ประเด็นคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาทักษะประชากรมีคะแนนลดลง ที่น่าเป็นห่วงเช่น การสอนให้คิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต (future workforce) ไทยมีคะแนนเกือบรั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียน

          ส่วนทักษะดิจิทัลของประชากรวัยทำงาน ก็มีอันดับต่ำกว่าเพื่อนบ้านหลายประเทศ ความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่ระดับกลางๆ เป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย เช่นเดียวกับค่าดัชนีนวัตกรรมโลก แต่มีข้อควรกังวลในด้านผลผลิตจากการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี การพัฒนาทุนมนุษย์และการวิจัย ที่มีคะแนนและอันดับลดลงมาก สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้เราจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครื่องมือดิจิทัลสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากเท่าไรนัก

          เด็กไทยส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะเวลาที่ได้รับการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 8 ปี (ต่ำกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี) อย่างไรก็ตาม จำนวนปีของการได้รับการศึกษาไม่ได้บ่งชี้ถึงคุณภาพหรือทักษะของผู้เรียน จึงควรนำผลการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) มาพิจารณาประกอบ

          นับตั้งแต่เริ่มการทดสอบ PISA ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2561 คะแนนสอบ PISA ของไทยค่อนข้างต่ำ และต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยมาโดยตลอด (ใช้กลุ่มประเทศ OECD เป็นเกณฑ์) ชี้ให้เห็นว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ การใช้ตรรกะ และการใช้เหตุผลของเด็กไทยเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มแย่ลง

          ผลคะแนน PISA ที่อยู่ในระดับต่ำยังสัมพันธ์กับทัศนคติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยดูจากค่าคะแนน Growth Mindset ของนักเรียนไทยอยู่ที่ 43% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 63% และสมรรถนะการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก นักเรียนไทยได้เพียง 423 คะแนน ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ 474 คะแนน

          ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาถึง 6.2% ของ GDP สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม OECD คือ 5.0% แต่กลับประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาและทักษะของผู้เรียน ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก รายงานของ UNDP ปี 2562 ระบุว่าค่าความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของไทยสูงถึง 18.3% จึงอาจสรุปได้ว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

          กล่าวโดยสรุป ผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพคนของประเทศไทยในรอบ 20 ปี ในภาพรวมการพัฒนาที่มีแนวโน้มดีขึ้น เช่น อายุขัย รายได้ การได้รับการศึกษาเฉลี่ย โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึง แต่ประเด็นที่ควรเร่งหาหนทางแก้ไขปรับปรุง ได้แก่ คุณภาพการศึกษา การพัฒนาทักษะประชากร ทัศนคติต่อการเรียนรู้ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม งานศึกษาวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าสาเหตุที่ประเทศไทยไม่สามารถเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันแทบไม่ขยับมานับสิบปี ก็เนื่องมาจากประเด็นอันเป็นจุดอ่อนเหล่านี้

หมายเหตุ: ผู้สนใจอ่านเนื้อหาข้อมูลอื่นๆ ได้จากหนังสือ Lifelong Learning Focus 01 (2564)

Info-001
info-02
info-03
info-04
info-05
info-06
info-07
info-08
info-09
info-10
info-11

RELATED POST

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก