101 บทเรียนสำหรับนวัตกร
ตอนที่ 18 นวัตกรรมจะสำเร็จหรือไม่ วัดกันที่ความตั้งใจ
นวัตกร ต้องมีใจที่เปิดกว้าง กล้าจินตนาการถึงสิ่งที่คนอื่นๆ ทำไม่ได้ และกล้าที่จะทำในสิ่งที่คนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย แม้ว่ามันจะมีความเสี่ยงสูงมากก็ตาม
เมื่อคุณเสนอไอเดียนวัตกรรมให้กับคนอื่นๆ คุณอาจจะได้ปฏิกิริยาเชิงลบกลับมา
ไม่…เราทำแบบนี้มาตลอด
ไม่…ลูกค้าของเราไม่ชอบหรอก
ไม่…เราไม่มีเวลาสำหรับทำเรื่องแบบนี้
ไม่…มันเป็นไปไม่ได้
ไม่…มันแพงเกินไป
ไม่…คิดถึงความเป็นจริงหน่อย
ไม่…มันไม่สมเหตุสมผล
ไม่…เราต้องเก็บข้อมูลให้มากกว่านี้ก่อน
ไม่…เราไม่มีงบประมาณ
ไม่…ฝ่ายการเงินต้องไม่เห็นด้วยแน่ๆ
ไม่…ตลาดยังไม่พร้อมสำหรับสิ่งนี้
ไม่…มันอาจจะเวิร์กสำหรับที่อื่น แต่ไม่ใช่ที่นี่
ไม่…มันเสี่ยงเกินไป
ไม่…มันไม่เหมาะกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของเรา
ไม่…มันอาจจะเหมาะที่จะใช้ในอนาคต แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้
อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของนวัตกรรมคือคำสั้นๆ คำนี้ ‘ไม่’
ในปี 1928 นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) เขียนไว้ว่า “นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้เกิดจากสติปัญญาที่หลักแหลมแต่มาจากใจที่มุ่งมั่น” นวัตกรเปลี่ยนคำว่า ‘ไม่’ ให้เป็นคำว่า ‘ใช่’ เพราะนวัตกรรมไม่ได้หยุดนิ่งตั้งแต่เจอคำว่า ‘ไม่’ ครั้งแรก นั่นคือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมต่างหาก
ที่มา: หนังสือ Inspiration for Innovation: 101 Lessons for Innovators เขียนโดย Gijs van Wulfen
แปล: ศรันภัทร โชติมนกุล (โดยได้รับการอนุญาตจากผู้เขียน)
ที่มา
หนังสือ Inspiration for Innovation: 101 Lessons for Innovators เขียนโดย Gijs van Wulfen