101 บทเรียนสำหรับนวัตกร
ตอนที่ 07 สิบบทเรียนนวัตกรรมจากนักเดินทางที่มีชื่อเสียง
“รับสมัครผู้ร่วมเดินทาง เส้นทางวิบาก ค่าจ้างน้อยนิด อากาศหนาวเย็น ใช้เวลาหลายเดือนในความมืดมิด เผชิญภัยอันตรายบ่อยครั้ง ยังไม่รู้ว่าจะมีโอกาสกลับมาอย่างปลอดภัยหรือไม่ ถ้าทำสำเร็จก็อาจได้ชื่อเสียงและการยอมรับ”
ข้อความโฆษณานี้ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ในกรุงลอนดอน ปี 1913 ถ้าเห็นประกาศในลักษณะนี้ คุณจะทำอย่างไร รีบสมัครทันทีเลยไหม?
ถ้าคำตอบคือ ‘ใช่’ คุณคือนวัตกรตัวจริง
ไม่ว่าคุณจะตอบอย่างไร ในตอนนั้นมีคนติดต่อไปถึงพันกว่าคน ด้วยความหวังว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นส่วนหนึ่งของคณะสำรวจที่นำทีมโดย เซอร์ เออร์เนส แช็คเคอร์ตัน ผู้โด่งดังจากการเดินทางสู่ขั้วโลกใต้ในปี 1909
เมื่อผมอ่านเจอประกาศฉบับนี้ในหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการเดินทาง ผมก็รู้สึกว่าข้อความแบบนี้ช่างเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นประกาศเปิดรับโครงการนวัตกรรมเสียจริงๆ
นวัตกรรมในยุคใหม่ มีความคล้ายคลึงกับการเดินทางสำรวจในประวัติศาสตร์หลายด้าน เราสามารถถอดบทเรียนอะไรได้บ้าง จากนักสำรวจที่ประสบความสำเร็จอย่าง โคลัมบัส, มาเจลลัน, อมุนด์เซน, ฮิลลารี และ อาร์มสตรอง
- จงเดินตามความฝัน
- ความจำเป็นคือแรงผลักดันให้ออกเดินทาง
- ความต้องการที่จะเป็น ‘คนแรก’ ที่ทำสำเร็จ จะทำให้คุณหัดคิดนอกกรอบ
- การทำงานเป็นทีมสำคัญมาก
- จงกล้าที่จะละสายตาออกจากฝั่ง (เลือกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย)
- จงเตรียมการให้ดี ความสำเร็จจะเป็นของผู้ที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความสม่ำเสมอ
- การยืนหยัดในสิ่งที่เชื่อ (แบบมาเจลลัน) คือคุณสมบัติของนวัตกรตัวจริง
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
- หมั่นทดลอง และ ทดสอบ
ที่มา
หนังสือ Inspiration for Innovation: 101 Lessons for Innovators เขียนโดย Gijs van Wulfen